แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ตระหนักรู้และใส่ใจ เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่วมโครงการประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 2, 3, 4 หัวหน้าโครงการบริการวิชาการตระหนักรู้และใส่ใจ เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2558 และ ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเวชศาสตร์: โรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
ผู้ร่วมโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
นายปรีดา ปราการกมานันท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์ (biomedical sciences)
ประสบการณ์ : การตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์
ความเชี่ยวชาญ : Biosensor technology Cervical cancer
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.ช่อทิพย์ กัณฑโชติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : คุณวุฒิ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
ประสบการณ์ : กายวิภาคศาสตร์เปรียบเทียบของของพรรณไม้วงศ์ชมพู่ (Myrtaceae) และสกุลลูกใต้ใบ (Phyllanthus) บางชนิดในประเทศไทย และความหลากหลายของพรรณไม้พื้นล่างในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : อนุกรมวิธานและกายวิภาคศาสตร์ของพืชวงศ์เอื้องเพ็ดม้า (Polygonaceae) และพืชสกุลทองพันชั่ง (Rhinacanthus) ในประเทศไทย
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคมะเร็งเป็นปัญหาทางสาธารณสุขของทุกประเทศทั่วโลก เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง ในประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ และคนตายด้วยโรคมะเร็งพบเพิ่มมากขึ้นทุกปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มมากขึ้น โรคมะเร็งเป็นโรคที่ใช้ระยะเวลานานหลายปีในการก่อให้เกิดโรค ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น มีการควบคุมโรคติดต่อดีขึ้น มีการควบคุมให้อัตราตาย ของทารกแรกคลอดและเด็กลดลง ทำให้โครงสร้างของประชากรเปลี่ยนแปลงไป มีสารก่อมะเร็งมากขึ้นในสิ่งแวดล้อม และมีการเปลี่ยนแปลงวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนโดยเฉพาะการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และการรับประทานอาหารที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งมากขึ้น สำหรับในประเทศไทย โรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในเพศชายคือ โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมากสำหรับในเพศหญิง โรคมะเร็งที่พบมากที่สุด คือ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งตับและท่าน้ำดี มะเร็งปอด ตามลำดับ ในแต่ละท้องถิ่นแต่ละภูมิภาคของประเทศมีอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการวางแผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งที่ถูกต้องอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งที่พบบ่อยในแต่ละชนิดควรจะต้องมีแผนดำเนินงานที่ชัดเจน มีความเป็นไปได้ที่นำไปปฏิบัติ และสามารถทำการวัดผลได้ต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมจากการให้บริการนั้น ๆ ด้วย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เนื่องด้วยโรคมะเร็งเป็นปัญหาด้านการแพทย์และสาธารณสุขทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย อุบัติการณ์การเสียชีวิตของมะเร็งพบมากเป็นอันดับต้น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปตาม อายุ เพศ เชื้อชาติ และสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งนั้น ๆ โดยปัจจุบันมะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบได้มากหนึ่งในห้าอันดับแรกทั่วโลก และถือว่าเป็นหนึ่งในสามของมะเร็งที่พบบ่อยและสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิต จากข้อมูลสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติของประเทศไทยรายงานว่ามะเร็งตับพบมากเป็นอันดับหนึ่งของประเทศ และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง 2 เท่าขึ้นไป โดยมะเร็งตับชนิดที่พบมากในประเทศไทยมี 2 ชนิด คือ โรคมะเร็งของเซลล์ตับ และโรคมะเร็งท่อน้ำดีตับ ซึ่งทราบกระบวนการก่อให้เกิดมะเร็งดังกล่าว ว่ามีสาเหตุหลักเกิดมาจากการเป็นพาหะไวรัสตับอักเสบชนิดบี และการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ตามลำดับ ข้อมูลของสถาบันมะเร็งจังหวัดอุบลราชธานีรายงานว่าหากไม่แยกเพศชายและหญิง มะเร็งตับและท่อน้ำดีพบได้บ่อยเป็นอันดับสอง หากแยกเพศพบว่ามีอุบัติการณ์สูงมากที่สุดในเพศชายโดยเฉพาะช่วงอายุ 60-69 ปี ที่สำคัญอุบัติการณ์ของมะเร็งตับและท่อน้ำดีพบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ดังนั้นการให้บริการวิชาการแบบบูรณาการในกลุ่มเป้าหมาย และให้ความรู้ตระหนักด้านการแพทย์ที่ถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการควบคุม และป้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในครั้งนี้มุ่งเน้นในโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีอันเป็นหนึ่งในอุบัติการณ์สำคัญในการเกิดมะเร็งที่พบมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทั้งนี้เพื่อปลุกจิตสำนึกให้เยาวชนกลุ่มเป้าหมายจังหวัดอุบลราชธานีได้ดูแลสุขภาพ เพื่อควบคุมและป้องกัน หรืออาจนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งตนเองและครอบครัวในอนาคต เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีของภูมิภาคนี้ได้

วัตถุประสงค์
1.ให้บริการวิชาการ เรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนผ่านเยาวชนในเขตพื้นที่เสี่ยง
2.ให้บริการวิชาการ เรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนผ่านเยาวชนในเขตพื้นที่เสี่ยง บูรณาการการเรียนการสอนให้นักศึกษานำองค์ความรู้ที่เรียนมาไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชนตามพื้นที่เสี่ยง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่เป็นเยาวชนในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย โดยจะเลือกโรงเรียนที่จะต้องได้รับการอบรม ให้ความรู้ จากความชุกในการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีผ่านข้อมูลทะเบียนมะเร็งย้อนหลัง ของโรงพยาบาลศูนย์มะเร็งอุบลราชธานี (สืบเนื่องจากการวิจัยเชิงพื้นที่ ที่เสนอขอทุนของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีร่วมกับ สกว. ปี 2557)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ นักศึกษาที่เรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล สาธารณสุข ได้รับมอบหมายให้ออกให้บริการวิชาการเรื่องโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ในทุกแง่มุม ตามความเชี่ยวชาญของแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ แก่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ ในแนวทางเพื่อควบคุมและป้องกันการเกิดโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี โดยมุ่งเป้าในกลุ่มเป้าหมายของโรงเรียนแถบลุ่มแม่น้ำมูลและแม่น้ำโขงตอนล่าง ของจังหวัดอุบลราชธานี

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการและประสานงานเครือข่ายบริการวิชาการและเตรียมความพร้อม --- --- --- 0.00
2.ดำเนินโครงการตามวัตถุประสงค์ --- - -- --- 95,000.00
3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ --- -- - --- 0.00
4.จัดทำสรุปผลการประชุมและจัดพิมพ์ --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 มกราคม พ.ศ. 2558
8.30-16.00 บริการวิชาการความสำคัญและการดำเนินโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี การตรวจวินิจฉัย แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ และคณะ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ชั้นปีที่ 2
12 มีนาคม พ.ศ. 2558
8.30-16.00 บริการวิชาการความสำคัญและการดำเนินโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี การตรวจวินิจฉัย แนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ และคณะ พร้อมด้วยนักศึกษาแพทย์ พยาบาล และสาธารณสุข ชั้นปีที่ 2

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. บูรณาการการเรียนการสอนและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่เยาวชนระดับในพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย 2. เกิดความร่วมมือและภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านการบริการวิชาการ และตลอดจนงานวิจัยในระดับคณะที่มีนักศึกษาเกี่ยวข้อง ภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ความรู้ทั่วไปทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ 3 (ชีววิทยาเนื้องอก), พยาธิวิทยาของมนุษย์
หลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต, พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - ด้านปริมาณ: ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการบริการมากกว่าร้อยละ 80 - ด้านคุณภาพ: ความร่วมมือระหว่างคณะวิชา อันวัดได้จากโครงการที่จะเกิดร่วมกันในอนาคต (หากมี) และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีเครือข่ายเชื่อมโยงการวิจัย บริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด - ด้านปริมาณ: ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการบริการมากกว่าร้อยละ 80 - ด้านคุณภาพ: ความร่วมมือระหว่างคณะวิชา อันวัดได้จากโครงการที่จะเกิดร่วมกันในอนาคต (หากมี) และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มีเครือข่ายเชื่อมโยงการวิจัย บริการวิชาการอย่างต่อเนื่อง
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ รายงาน และผลประมเมินภายหลังเสร็จสิ้นการออกให้บริการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 10,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 84,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 48,400.00 บาท )
1) ค่าอาหารรับรองวิทยากร
=
2,400.00 บาท
2) ค่าใช้สอยในการทำกิจกรรมเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามภารกิจ
=
41,000.00 บาท
3) ค่าใช้สอยสำนักงาน
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท