แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บริการสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายและตรวจหาสายพันธุ์เชื้อเดงกี่ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกแบบมีส่วนร่วมของชุมชน (ปีที่ 4)
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวจารุวรรณ์ วงบุตดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สรีรวิทยา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
นายนิยม จันทร์นวล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์
ความเชี่ยวชาญ : พฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เพศศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสำคัญของประเทศ มีการระบาดไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย สถานการณ์โรคไข้เลือดออก พ.ศ. 2552 มีรายงานอัตราป่วย 89.27 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 50 ราย พ.ศ. 2553 มีรายงานอัตราป่วย 183.59 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 139 ราย พ.ศ. 2554 มีรายงานอัตราป่วย 94.23 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 56 ราย ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกมาก ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่างๆ และประสบปัญหามาตลอด ทำให้จำนวนผู้ป่วยใน พ.ศ. 2552 มีรายงานอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 39.45 ต่อแสนประชากร พ.ศ. 2553 มีรายงานอัตราป่วยโรคไข้เลือดออก 104.64 ต่อแสนประชากร และเสียชีวิต 3 ราย และ พ.ศ. 2554 มีรายงานอัตราป่วยโรคไข้เลือดออกทั้งสิ้น 53.22 ต่อแสนประชากร (สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. 2552; 2553; 2554) กระทรวงสาธารณสุขยังต้องหาวิธีการควบคุมโรคไข้เลือดออก เพราะประเทศไทยยังมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้มาก ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีวัคซีนสำหรับป้องกันแต่การนำมาใช้ยังมีข้อจำกัด ดังนั้นการป้องกันจึงมุ่งเน้นที่การควบคุมยุงพาหะและการป้องกันส่วนบุคคล เพื่อไม่ให้รับเชื้อจากยุงพาหะนั้น ตลอดจนการควบคุมยุงลายโดยเฉพาะในส่วนของการควบคุมแหล่งเพาะพันธุ์ อาทิ แหล่งน้ำขังภายในบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายในบ้าน จานรองขาตู้ แจกันดอกไม้ เป็นต้น และแหล่งน้ำขังภายนอกบ้าน เช่น ตุ่มขังน้ำภายนอกบ้าน จานรองกระถางต้นไม้ โพรงไม้ กะลา เป็นต้น ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโลกและน้ำฝนที่มีส่วนในการกระจายของยุงลายมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงระยะเวลาการระบาดของโรคไข้เลือดออกนั้น ฤดูฝน จะมีความชื้นสูง เหมาะแก่การเพาะพันธุ์ของยุงลาย จึงส่งผลให้ประชากรยุงลายมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจลูกน้ำยุงลาย และรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องโรคไข้เลือดออก
2.เพื่อตราวจหาเชื้อเดงกี่ในยุงลาย
3.เพื่อจัดทำฐานข้อมูลลูกน้ำยุงลาย และโรคไข้เลือดออกในการป้องกันและเฝ้าระวัง
4.เพื่อเป็นดัชนีชี้วัดการระบาดของโรคไข้เลือดออก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประชาชนในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
60 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่เสี่ยงต่อโรคไข้เลือดออก 2 ติดต่อเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล และสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 7 จังหวัด 3 บริการสำรวจลูกน้ำยุงลายในภาชนะน้ำขังทุกหลังคาเรือน โดยนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ ร่วมกับประชาชนในพื้นที่พร้อมให้คำแนะนำและหลักปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 4 สำรวจการรับรู้และพฤติกรรมของประชาชนในการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ตรวจหาเชื้อเองกี่ในยุงลาย 6 จัดทำฐานข้อมูลป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พร้อมการจัดเก็บตำแหน่งหลังคาเรือน ด้วยเครืองจับพิกัด GPS 7 จัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 8 วิเคราะห์ข้อมูลและประมวลผลหาค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย HI CI และ BI เพื่อประเมินความเสี่ยงและผลกระทบต่อประชาชนและชุมชน 9 แสดงผลข้อมูลพื้นที่เสี่ยงและข้อมูลลูกน้ำยุงลายด้วยแผนที่ทางภูมิศาสตร์ 10 นำฐานข้อมูลให้ชุมชน องค์กร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประเมินผลและนำไปใช้ประโยชน์ ต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง 11 สรุปผลและนำเสนอในงานประชุมวิชาการ หรือตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ ระดับชาติหรือนานาชาติ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รวบรวมข้อมูล - --- --- --- 0.00
2.บริการสำรวจลูกน้ำยุงลาย --- - - -- 30,000.00
3.สำรวจการรับรู้และพฤติกรรม --- -- --- --- 10,000.00
4.จัดกิจกรรมให้ความรู้และรณรงค์ --- - --- --- 30,000.00
5.ตรวจหาเชื้อเดงกี่ --- --- - -- 60,000.00
6.จัดทำฐานข้อมูลป้องกันและเฝ้าระวังโรค และวิเคราะห์ข้อมูล --- --- --- - 30,000.00
7.สรุปผล --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. ทราบข้อมูลดัชนีลูกน้ำยุงลายโดยประชาชนมีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมยุงลายและโรคไข้เลือดออกและสามารถเป็นยุทธศาสตร์ในการป้องกันโรคไข้เลือดออกระดับหมู่บ้านได้ 2. ทราบถึงพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน 3. ฐานข้อมูลในการป้องกันโรคไข้เลือดออกและร่วมหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน 4. ผลที่ได้สามารถขยายในพื้นที่ต่างๆ และผลงานวิจัยต่อไปได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การควบคุมแมลงและสัตว์แทะทางสาธารณสุข
หลักสูตร วทบ.(สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ )
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 13,440.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 13,440.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 13,440.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
13,440.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 141,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 127,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสำรวจข้อมูลด้านพฤติกรรม
=
10,000.00 บาท
2) ค่าลงพื้นที่สำรวจลูกน้ำยุงลาย(10,000 บาท/ครั้ง x 3 ครั้ง)
=
30,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาบันทึกข้อมูล
=
3,000.00 บาท
4) ค่าจัดทำฐานข้อมูล
=
20,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดทำนิทรรศกาล
=
4,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาสกัด RNA ยุงลาย
=
20,000.00 บาท
7) ค่าจ้างเหมาตรวจหาสายพันธุ์เชื้อเดงกี่
=
30,000.00 บาท
8) ค่าจ้างเหมาออกแบบ primer
=
5,000.00 บาท
9) ค่าจ้างเหมาจับยุงลาย
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 9,960.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 9,960.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,460.00 บาท
=
5,460.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 165,000.00 บาท