แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.อุทัย อันพิมพ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พัฒนบูรณาการศาสตร์
ประสบการณ์ : การผลิตเห็ด การผลิตไม้ดอกไม้ประดับ การขยายพันธุ์พืช การจัดการความรู้ เศรษฐกิจพอเพียง
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการความรู้เรื่องเห็ด การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรแบบผสมผสาน (เกษตรประณีต) เศรษฐกิจพอเพียง การจัดการทรัพยากรมนุษย์
หัวหน้าโครงการ
ดร.ธรรมวิมล สุขเสริม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Development Policy
ประสบการณ์ : งานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการการตลาด
ความเชี่ยวชาญ : งานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ความรับผิดชอบต่อสังคม การจัดการการตลาด การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ปวีณา คำพุกกะ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิธีวิทยาการวิจัย
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : สถิติศาสตร์และการวิจัย
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : สอน วิจัย
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวชุมชน pro-poor tourism
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การพัฒนาประเทศตามแนวทางเศรษฐกิจเสรีนิยมที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อการจัดการฟาร์มของเกษตรรายย่อยเป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากสภาวการณ์การเป็นหนี้ของเกษตรกรนับวันจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เกษตรกรละทิ้งอาชีพเกษตรกรรมหันไปรับจ้างในเมืองมากยิ่งขึ้น เนื่องจากการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตตกต่ำ ขายไม่ได้ราคา จึงทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย ส่งผลให้กับเกษตรกรรายย่อยประสบกับความยากจน และนับวันที่จะแผ่ขยายในวงกว้างทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม รวมทั้งทางด้านจิตลักษณะโดยมีองค์ประกอบ 7 ประการ ได้แก่ (1) จนเงิน (2) จนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (3) จนทางสังคม (4) จนทางการเมือง (5) จนการศึกษา (6) จนทางวัฒนธรรม และ (7) จนทางจิตวิญญาณ ไร้สิ่งยึดมั่นทางจิตใจ ขาดคุณธรรมและจริยธรรม และนับวันจะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จากรายงานการวิจัยของอุทัย อันพิมพ์ (2554) พบว่าการที่เกษตรกรไม่สามารถที่จะรักษาอาชีพของตนให้อยู่ได้นั้นเนื่องมาจากความรู้ไม่พอใช้ เพราะในการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อยส่วนใหญ่มีการบริหารจัดการฟาร์มในลักษณะทำตามกันมา เกษตรกรไม่ได้ศึกษาองค์ความรู้ซึ่งเป็นองค์ประกอบในการทำฟาร์มอย่างรอบด้านและไม่ครอบคลุมในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างรอบด้าน จึงนับว่าเป็นความล้มเหลวของการทำฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย แต่ก็มีอยู่บ้างที่ประสบความสำเร็จ แต่อยู่ในระดับที่น้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับภาพรวมของประเทศ และเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จส่วนใหญ่มักจะเป็นเกษตรกรที่มีฐานะอยู่ในระดับปานกลางที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ขึ้นไป ในขณะที่เกษตรกรอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งนับได้ว่าเป็นเกษตรกรในระดับรากหญ้าที่มีฐานะไม่ค่อยจะสู้ดีนัก (ยากจน) ในสังคม ที่จะต้องต้องหาเช้ากินค่ำ และประกอบอาชีพการเกษตรมาอย่างยาวนาน กลับพบว่ายิ่งทำการเกษตรมากเท่าใดก็ยิ่งมีความยากจนมากยิ่งขึ้น พร้อมกับมีภาระหนี้สินเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ เกษตรกรไม่สามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวได้อย่างมีความสุข ซึ่งเป็นภาพที่เห็นตามสื่อต่างๆ และปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน จากรายงานของการวิจัยของนายแพทย์อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูร, (2549) ซึ่งร่วมทำงานกับเครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน และอุทัย อันพิมพ์, (2550) พบตรงกันว่า จากแนวทางการพัฒนาอาชีพการเกษตรที่ผ่านมาโดยมุ่งเน้นการผลิตแบบเชิงเดี่ยว เน้นการผลิตที่มุ่งหวังผลผลิต และกำไรมากๆ ได้ส่งผลให้เกษตรกรขาดความมั่นคงในชีวิต รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย สุดท้ายจึงทำให้เกษตรกรเป็นหนี้เป็นสินเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และผลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาอีกประการหนึ่งคือ กระบวนการส่งเสริมของภาครัฐ ที่พยายามให้ทั้งความรู้ทางวิชาการ และปัจจัยการผลิตอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งส่งผลระยะยาวแบบซึมซับ สุดท้ายเกษตรกรจึงขาดความเชื่อมั่นในตนเองทั้งด้านความรู้วิชาการและภูมิปัญญาพื้นบ้านที่ตนเองสั่งสมมาจากบรรพบุรุษ และประสบการณ์ จากสภาพปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นกับสังคมอาชีพเกษตรกรรม เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านและพหุภาคีภาคอีสาน จึงมีความเห็นว่าแนวทางที่จะทำให้อาชีพเกษตรกรรมนั้นสามารถดำรงอยู่ และสามารถเลี้ยงตนเอง และครอบครัวให้มีความสุขได้คือเกษตรกรจะต้องหันมาทำ “เกษตรประณีต” ที่อุทัย, (2550) ได้ให้ความหมายว่า “เกษตรประณีตเป็นกระบวนการเรียนรู้ในการทำเกษตรผสม โดยเริ่มต้นจากพื้นที่เล็กๆ ก่อน เมื่อมีความรู้และความชำนาญแล้ว จึงขยายพื้นที่ให้มากขึ้น ให้เพียงพอต่อการดำรงชีพของตนและครอบครัว” ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถที่จะทำให้เกษตรกรมีความยั่งยืนในอาชีพ ซึ่งสอดคล้องกับ ศ.เสน่ห์ จามริก. (2541) ได้กล่าวว่าในการศึกษาชุมชนชนบท หรือการที่คนในชนบทจะสามารถดำรงชีพได้อย่างมีความสุขนั้นจะต้องประกอบด้วย 3 มิติ ได้คือ มิติที่ 1 ต้นทุนชีวิต เอาไว้เป็นฐาน พวกธรรมชาติ พวกดิน แหล่งน้ำ ความหลากหลายทางชีวภาพ ฯลฯ ที่ใช้เป็นต้นทุนชีวิตเนื่องจากซื้อขายไม่ได้ ไม่เช่นนั้นคนหนึ่งจะตกเป็นเหยื่อของอีกคนหนึ่ง เราต้องสร้างความเข้าใจ สร้างความสำนึกให้จงได้ เราจะจัดการการเรียนรู้อย่างไร มิติที่ 2 ดุลยภาพชีวิต ต้องดูแลเรื่องอาหารการกิน สุขภาพอนามัย ครอบครัว สภาพแวดล้อม ชนบทมีความสบายเรื่องอาหาร แต่ต้องมีการพัฒนาสิ่งนี้ให้ถูกสุขลักษณะสมัยใหม่ ความรู้วิทยาศาสตร์เบื้องต้นต้องรู้ และมิติที่ 3 การพัฒนาชีวิต และสังคมไปกับกระแสของโลกภายนอก คือกระแสการพัฒนาชนบท ซึ่งได้แก่ เรื่องของการแปรรูป เพิ่มมูลค่าการออม กองทุนชุมชน และเศรษฐกิจท้องถิ่น ฯลฯ วัฒนธรรมการเรียนรู้ มีแกนกลางคือ คน ครอบครัว และชุมชน ดังนั้น คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ในฐานะที่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดการเรียนการสอนด้านบริหารศาสตร์ และเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีประณิธานที่ว่า “คณะบริหารศาสตร์ รวมทุกศาสตร์ด้านการบริหาร” จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะร่วมกันในการจัดการเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง อันจะนำไปสู่กระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้มีความยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการความรู้ฟาร์มเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนต้นแบบเพื่อการพึ่งพาตนเอง 2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการบริหารจัดการในการวางแผนการผลิตการตลาด ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 3. เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการฟาร์มของเกษตรกรรายย่อย 4. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เป็นเยาวชน เกษตรกร นักเรียน บ้านโพธิ์ตก อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี และเกษตรกรพื้นที่ใกล้เคียงที่ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิต
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. การบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีตของเกษตรกรกลุ่่มเป้าหมาย 2. สาธิตและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง 3. กิจกรรมศึกษาดูงาน 4. กิจกรรมด้านการสร้างเครือข่ายเกษตรประณีตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.สร้างความคุ้นเคยกับชุมชน -- -- --- --- 0.00
2.เก็บข้อมูลพื้นฐานชุมชน --- -- --- --- 2,000.00
3.ประสานงานกลุ่มเป้าหมายและอบรมให้ความรู้ --- --- -- 48,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 รวมเวลา 17 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 หลักการ แนวคิด และเงื่อนไขแห่งความสำเร็จในการทำเกษตรประณีตเกษตรประณีต และการประยุกต์ใช้ในการประกอบอา ดร.อุทัย อันพิมพ์
22 มิถุนายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 การบริหารจัดการฟาร์มเกษตรประณีต : แนวทางการสร้างอาชีพที่ยั่งยืน (การเพิ่มผลผลิตเห็ด และข้าว) การจัด ดร.อุทัย อันพิมพ์ และดร.ธรรมวิมล สุขเสริม
23 มิถุนายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 การจัดการความรู้ด้านบัญชีเพื่อการพัฒนาอาชีพที่ยั่งยืน การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรประณีต ตามแน อ.รินทร์ลภัส ผศ.นภาพร และ อ.จริยา
23 มิถุนายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 กรณีศึกษาการทำเกษตรประณีต ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ดร.อุทัย อันพิมพ์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถวิเคราะห์ในเรื่องของการสร้างรายได้ให้กับตนเองได้ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปเพิ่มผลผลิตให้กับตนเองและครอบครัวได้
ด้านสังคม : 1. เกิดเครือข่ายการเรียนรู้เกษตรประณีต 2. มหาวิทยาลัยมีเครือข่ายการทำงานด้านวิชาการกับชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนักถึงภาวะโลกร้อน 2. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รู้จักโทษภัยของสารเคมีและเกิดความตระหนักในการใช้มากขึ้น 3. ผู้เข้าร่วมโครงการได้ร่วมกันปลูกและดูแลรักษาต้นไม้รอบห้วยตองแวด
ด้านอื่นๆ : ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดแนวทางในการพัฒนาอาชีพให้กับตนเองและชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1250

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการจัดการ
หลักสูตร บริหารธุรกิจ
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน หลักการจัดการธุรกิจเกษตร
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด 12 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ 2 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 12,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารพร้อมเข้าเล่ม (50 เล่มx50 บาท)
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 22,360.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 22,360.00 บาท )
1) ค่าวัสดุสำนักงาน
=
2,430.00 บาท
2) ค่าถ่ายเอกสาร
=
1,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
1,830.00 บาท
4) ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
=
1,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเกษตร และสื่อการสอน
=
15,600.00 บาท
6) ค่าประชาสัมพันธ์
=
500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 2,500.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 0 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 2500 บาท
=
2,500.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 50,000.00 บาท