แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสาธิตการประยุกต์ใช้ Solar Cell กับเครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปาหมู่บ้าน และระบบไฟฟ้าในสำนักงาน
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายอุทัย สุขสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : RS & GIS
ประสบการณ์ : อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย 30 ปี
ความเชี่ยวชาญ : GIS Electronic Programcomputer Microcontrol
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ประเทศไทยใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี ตามการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แต่แหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าภายในประเทศลดน้อยลงและกำลังจะหมดไป การใช้โซล่าเซลล์ผลิตพลังงานไฟฟ้าเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่มีความเหมาะกับตำแหน่งพื้นที่ของประเทศ ประกอบกับคุณสมบัติของโซล่าเซลล์ การใช้และบำรุงรักษาง่าย อายุการใช้งานยาวนาน ขนาดเล็ก ปัจจุบันราคาถูกลง ที่สำคัญเป็นพลังงานสะอาดช่วยลดโลกร้อน จากการศึกษาวิจัยมาหลายปีพบว่า ถ้าออกแบบระบบควบคุมการทำงานให้เหมาะสม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในครัวเรือนและชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ใช้เป็นแหล่งพลังงาน เครื่องสีข้าวและเครื่องนวดขนาดเล็ก ปั้มน้ำการเกษตร/ประปาหมู่บ้าน และไฟฟ้าในสำนักงาน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ คือ หมู่บ้านโหง่น ขาม จากโครงการพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดา ที่ได้ดำเนินการมาแล้ว 3 ปี อย่างต่อเนื่อง จึงจะจัดโครงการดังกล่าวเพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถใช้โซล่าเซลล์ในด้านเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี

วัตถุประสงค์
1. จัดทำชุดระบบสาธิตการประยุกต์ใช้ Solar cell กับเครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปาหมู่บ้าน และระบบไฟฟ้าในสำนักงาน นำเสนอโดยการ อบรม แนะนำ บรรยาย และสาธิตการทำงานระบบ ต่างๆ ในงานเกษตรอีสานใต้
2.เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกี่ยวกับระบบโซล่าเซลล์ คือ หมู่บ้านโหง่น ขาม จากโครงการพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดา ให้ชาวบ้านในชุมชนสามารถใช้โซล่าเซลล์ในด้านเกษตรกรรมได้เป็นอย่างดี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นักศึกษา บุคลากรหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ที่มาดูงานวันเกษตรอีสานใต้ และ ชุมชนหมู่บ้านโหง่นขาม จากโครงการพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดซื้ออุปกรณ์ จัดทำชุดสาธิตและข้อมูลเอกสาร ดำเนินการอบรม สาธิต โดยมี 2 ช่วง คือ 1.การจัดนิทรรศการงานบริการวิชาการและการจัดอบรมในงานเกษตรอีสานใต้ 2.การจัดอบรมให้ชุมชนหมู่บ้านโหง่นขาม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดซื้ออุปกรณ์ จัดทำชุดสาธิตและข้อมูลเอกสาร ดำเนินการอบรม สาธิต --- --- --- 100,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รวมเวลา 17 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
9.00-16.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
30 มกราคม พ.ศ. 2558
16.30-20.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
31 มกราคม พ.ศ. 2558
16.30-20.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
16.30-20.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
16.30-20.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
16.30-20.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.30 ระบบ Solar cell อินเวอร์เตอร์ เครื่องสีข้าว เครื่องนวดข้าว ปั้มน้ำการเกษตร/ประปา และระบบไฟฟ้า รศ.อุทัย สุขสิงห์ และ นักศึกษาปีที่ 4 วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ชุมชนหรือครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า ช่วยลดโลกร้อน
ด้านสังคม : ชุมชนหรือครัวเรือน มีความเข้มแข็ง สามารถผึ่งพาตัวเองได้ในด้านพลังงานไฟฟ้า
ด้านสิ่งแวดล้อม : เป็นพลังงานสะอาด ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมช่วยลดโลกร้อน
ด้านอื่นๆ : การใช้งานระบบง่าย อายุยาวนาน การบำรุงรักษาง่าย ค่าใช้จ่ายน้อย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
500
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
95
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
การใช้พลังงานจาก Solar cell แบบยังยืนและลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าในการประกอบอาชีพ ผึงพาตัวเองได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วงจรดิจิตอลและการออกแบบ
หลักสูตร วิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
นักศึกษาชั้นปี : ปีที่ 3 - 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน วงจรการควบคุมระบบด้วยดิจิตอลและคอนโทรลเลอร์ เช่น ชุดอินเวอร์เตอร์ ชุดควบคุมโหลด ฯลฯ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมโครงร้อยละ 90 มีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถใช้ความรู้ที่เรียนมาประยุกต์ใช้งานจริงได้
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการของนักศึกษาที่ได้จากงานบริการ 3 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 25,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 25,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 25,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
18,000.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 31,800.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 13,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการแสดงผลงานบริการวิชาการ
=
6,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาขนย้ายอุปกรณ์แสดงผลงานบริการวิชาการ
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์แสดงผลงานบริการวิชาการ
=
4,800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 43,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 43,000.00 บาท )
1) ชุดอุปกรณ์ระบบสาธิต เช่น ชุดอุปกรณ์แผงควบคุมระบบอินเวอร์เตอร์ ชุดอุปกรณ์ตัวเชื่อมต่อ สายไฟฟ้าระบบ ฯล
=
43,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท