แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสร้างความได้เปรียบของวิสาหกิจชุมชนและ SMEs ด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพแก่ชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวสิริรัตน์ ชอบขาย คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : การขายและการตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่ระลึก เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
หัวหน้าโครงการ
ผศ.นภาพร หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บัญชี
ประสบการณ์ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ความเชี่ยวชาญ : จัดทำงบการเงิน ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : มัคคุเทก์ งานโรงแรม งานขาย
ความเชี่ยวชาญ : การบริการ/การท่องเที่ยว/การขาย/กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาววรารัตน์ บุญแฝง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Hospitality and Tourism Management
ประสบการณ์ : วิทยากรพฤติกรรมการบริการสู่ความเป็นเลิศ วิทยากรพัฒนาฝีมือแรงงานอุบลฯ
ความเชี่ยวชาญ : เทคนิคการขายและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เทคนิคการบริการเป็นเลิศ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันธุรกิจมีการแข่งขันสูงและต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน อันจะทำให้องค์กรสามารถอยู่รอดได้ ผู้บริหารจำเป็นมีการจัดการที่ดีกับทรัพยากรทางการจัดการ อันประกอบด้วย บุคลากร(Man) เครื่องจักร(Machine) วัตถุดิบ(Material) เงิน(Money) การจัดการ(Management) และตลาด(Market) หรือ 6 M?s นั่นเอง โดยมีบุคลากรเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้องค์กรเจริญเติบโตไปข้างหน้าอย่างมั่นคง ข้อได้เปรียบหรือจุดแข็ง (Strength) เป็นสิ่งที่ทุกองค์กรพยายามสร้างขึ้นมาแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งง่าย ที่กิจการสามารถสร้างขึ้นมาได้ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันจึงเป็นหัวใจของการกำหนดกลยุทธ์ ซึ่งจะทำให้ธุรกิจขายสินค้าได้มากกว่าคู่แข่งขัน การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทำได้ 3 ด้านคือ การขายสินค้าและบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งขัน การผลิตสินค้าและบริการด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า และการตอบสนองต่อลูกค้าได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน ในภาวการณ์ปัจจุบัน ธุรกิจวิสาหกิจชุมชนและ SMEs เป็นธุรกิจที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและเนื่องจากลักษณะของการดำเนินธุรกิจจะเป็นลักษณะพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมในท้องถิ่น อันจะสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทำให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ ดังนั้นในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนและ SMEsจึงเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้เพิ่มให้กับชุมชน ทั้งนี้พนักงานบริการและพนักงานขายเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจบริการดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพราะเป็นผู้ให้บริการแก่ลูกค้าโดยตรง แต่เนื่องจากพนักงานเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นชาวบ้านในชุมชน ซึ่งยังขาดทักษะด้านการให้บริการและการขาย อาจส่งผลให้เกิดข้อร้องเรียนในเรื่องการบริการและสร้างความไม่ประทับใจแก่ผู้มารับบริการ ส่งผลต่อยอดขายหรือรายได้ที่ลดลง ดังนั้น การส่งเสริมให้พนักงานขายหรือพนักงานที่ให้บริการเหล่านี้ได้หันมาพัฒนาทักษะความรู้ด้านการให้บริการที่ดี นอกจากจะช่วยลดปัญหาด้านการบริการและการขายแล้วด้านการบริการเพื่อสร้างความประทับใจให้ลูกค้าแล้ว ในระยะยาวจะทำให้ธุรกิจในชุมชนมีความสามารถในการแข่งขันมากขึ้น เนื่องจากผู้ประกอบการจะได้พนักงานที่มีความรู้ ทำให้สามารถพัฒนาการบริการได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลต่อยอดขายหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน ภายใต้การแข่งขันในยุคที่ลูกค้ามีทางเลือกมากมายแทบจะไม่จำกัดอย่างเช่นปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ผู้ประกอบการวิสาหกิชุมชนและ SMEs ได้พัฒนาเทคนิคการบริการเพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความแตกต่างและความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน อีกทั้งเทคนิคการบริการลูกค้าที่มีคุณภาพยังช่วยผูกใจลูกค้าไว้ได้ในระยะยาวและเพิ่มคุณค่าให้กับกิจการอีกด้วย โดยในการอบรมครั้งนี้จะครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ การเรียนรู้เทคนิคและวิธีการในการขายสินค้า การให้บริการ การเจรจากับลูกค้า การต้อนรับและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี รวมทั้งเทคนิคการบริการในรูปแบบต่าง ๆที่เหมาะสมกับพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มที่มาเยือน ซึ่งล้วนแล้วเป็นการพัฒนาธุรกิจของชุมชนและสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ตามต้องการ

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมให้ความสำคัญและเรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ 2. เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ การวางแผนการให้บริการเพื่อขยายตลาดและความเติบโตแก่ธุรกิจ การเจรจากับลูกค้า การต้อนรับและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1. เป็นการอบรมนอกพื้นที่ ณ.ที่ทำการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำการบรรยาย โดยทำการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำจดหมายติดต่อประสานงานและทำป้ายประชาสัมพันธ์ ให้กลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 1.2. จัดอบรมให้ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับ เทคนิคและเคล็ดลับการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ การวางแผนการให้บริการเพื่อขยายตลาดและความเติบโตแก่ธุรกิจ การเจรจากับลูกค้า การต้อนรับและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ 1.3 แจกใบประกาศสำหรับผู้ผ่านการอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับงบประมาณ เตรียมแผนงาน ประชุมวิธีการดำเนินงาน --- --- --- 8,000.00
2.ติดต่อประสานงาน ประชาสัมพันธ์ --- --- --- 7,600.00
3.รับสมัครผู้อบรม เตรียมเอกสาร ดำเนินการ --- --- --- 46,400.00
4.ดำเนินการ สรุปผลการดำเนินงาน รายงานผล --- --- --- 14,400.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
08.45 – 09.00 น. ลงทะเบียน เจ้าหน้าที่
0 พ.ศ. 543
09.00 – 10.30 น. บรรยาย หัวข้อ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน และ การเจรจาต่อรองกับลูกค้า อ.สิริรัตน์ ชอบขายและคณะ
0 พ.ศ. 543
10.45 – 12.00 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืน อ.วรารัตน์ บุญแฝงและคณะ
0 พ.ศ. 543
13.00 – 14.30 น. บรรยาย หัวข้อ เทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ และการเป็นเจ้าบ้านที่ดี ผศ.สืบพงศ์ หงษ์ภักดีและคณะ
0 พ.ศ. 543
14.45 – 16.00 น. บรรยายและแบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม เพื่อฝึกปฏิบัติ หัวข้อ เทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ และการเป็นเจ้าบ้านท อ.สิริรัตน์ ชอบขายและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้เล็งเห็นความสำคัญและได้เรียนรู้เทคนิคและเคล็ดลับในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างยั่งยืนด้วยเทคนิคการบริการที่เป็นเลิศ
ด้านสังคม : ทางสังคม กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้าน การวางแผนการให้บริการเพื่อขยายตลาดและความเติบโตแก่ธุรกิจ การเจรจากับลูกค้า การต้อนรับและการเป็นเจ้าบ้านที่ดี เพื่อสร้างความประทับใจแก่ผู้มาใช้บริการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
764

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705317 จิตวิทยาบริการ
หลักสูตร การจัดการอุตสาหกรรมบริการ.
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 20 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 32,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 17,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนวิทยากรชั่วโมงปฎิบัติการจำนวน 1 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 3,600.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 11,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงาน
=
6,000.00 บาท
2) ค่าจ้างพิมพ์เอกสาร
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 20,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 20,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
25,400 แผ่น x 0.50 บาท
=
12,700.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,700.00 บาท
=
3,700.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 76,400.00 บาท