แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเนื้อหาทางชีววิทยาที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและวิธีการสืบเสาะองค์ความรู้ชีววิทยาที่ทันสมัย
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.แก้ว อุดมศิริชาคร คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วทม.พฤกษศาสตร์
ประสบการณ์ : "อาจารย์สอนในมหาวิทยาลัย และทำวิจัยทาง ด้านพฤกษศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 26 ปี "
ความเชี่ยวชาญ : Taxonomy of Vascular Plants and Ethnobotany
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
นับเป็นเวลาร่วม 20 ปี ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้มีความร่วมมือทางด้านวิชาการกับหน่วยงานทางการศึกษาได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในการเป็นศูนย์ฝึกอบรมและเป็นสถาบันพี่เลี้ยง ผ่านโครงการต่างๆ อาทิ โครงการส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ร่วมกับมูลนิธิ สอวน. โครงการวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน (SIS) ร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (NSTDA) โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ภาคฤดูร้อนร่วมกับสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย โครงการอบรมครูวิทยาศาสตร์โรงเรียนแกนนำร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี(สสวท.) เป็นต้น ทำให้รับทราบปัญหาการจัดการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ของครูมาโดยตลอด ในการให้บริการทางวิชาการและให้ความช่วยเหลือด้านจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ช่วงชั้นที่ 4) นั้น พบว่า ครูมีความเข้าใจเนื้อหาวิชาชีววิทยาคลาดเคลื่อน (misconception) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่เป็นนามธรรม แต่ด้วยข้อจำกัดของทางโรงเรียนที่ทำให้ครูมีภาระงานค่อนข้างมาก จึงไม่มีโอกาสแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในเชิงลึก นอกจากนี้ยังมีครูอีกเป็นจำนวนมากที่สำเร็จการศึกษามาเป็นเวลานาน ไม่มีโอกาสได้เพิ่มพูนความรู้ หรือติดตามความรู้ ความก้าวหน้าของวิทยาการที่ทันสมัย จึงยังคงสอนตามเนื้อหาแบบเดิมๆไม่ทันต่อเหตุการณ์ ขาดองค์ความรู้และทักษะที่ทันสมัยในการถ่ายทอดให้กับนักเรียน ที่สำคัญองค์ความรู้บางอย่างมีการเปลี่ยนไปจากเดิมแล้ว ปัญหาดังกล่าวนี้ ทำให้ครูขาดความเชื่อมั่นในระดับหนึ่ง ส่งผลกระทบต่อการถ่ายทอดเนื้อหาวิชาความรู้แก่นักเรียน ซึ่งนักเรียนจะต้องมีความรู้ในเนื้อหาที่ถูกต้องเพียงพอ และทันต่อเหตุการณ์สำหรับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันจะมีหน่วยงานหลายหน่วยงานเริ่มเข้ามาช่วยดูแลให้การอบรมแก่ครูก็ตาม แต่การอบรมส่วนใหญ่มีรูปแบบเน้นการอบรมเนื้อหาที่เข้มข้น ผ่านหลักสูตรต่างๆ จำนวนมาก ใช้เวลาค่อนข้างนาน วิธีการนี้อาจประสบผลสำเร็จกับครูบางกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มครูที่สอนไม่ตรงตามสาขาวิชาเอก เพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหาให้ตรงตามวัตถุประสงค์ของครู และสร้างเสริมความมั่นใจทางวิชาการให้กับครูดังกล่าว คณะทำงานจึงจัดทำแบบเสนอโครงการการอบรมเนื้อหาทางชีววิทยาที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนและวิธีการสืบเสาะองค์ความรู้ชีววิทยาที่ทันสมัย ทั้งนี้ คาดหวังว่าจะทำให้ครูที่เข้ารับการอบรมสามารถปรับเปลี่ยนความเข้าใจในเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องให้ถูกต้อง และรู้ถึงวิธีการสืบเสาะแสวงหาองค์ความรู้ที่ทันสมัยได้ เพื่อให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียน และครูในโรงเรียนเครือข่าย โดยคาดหวังว่านักเรียนกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัยจะเป็นกลุ่มคนที่มีคุณภาพและมีศักยภาพสูงที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่ออบรมเนื้อหาทางชีววิทยาที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนให้ถูกต้อง
2.เพื่อรู้วิธีการสืบเสาะแสวงหาความรู้ทางชีววิทยาที่ทันสมัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูในสังกัดสำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่จัดการเรียนการสอนช่วงชั้นที่ 4 (ม.4–ม.6) สาขาชีววิทยา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ขั้นเตรียมงาน 1. ส่งรายละเอียดโครงการให้กับครูโดยตรง 1 ชุด ประกอบด้วย 1.1 เนื้อหาที่วิทยากรคาดว่าครูมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนหรือเป็นความรู้ใหม่ แจ้งให้ครูทราบเบื้องต้น เพื่อเป็นแนวทางในการจัดหัวข้ออบรม 1.2 แบบสอบถามเนื้อหาที่ครูมีความสนใจเป็นพิเศษ 2. รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อเตรียมการอบรม ขั้นปฏิบัติงาน 1. ดำเนินการฝึกอบรมตามเนื้อหาที่วิทยากรนำเสนอและครูสนใจตามแบบสอบถาม 2. รูปแบบการดำเนินงาน 2.1 วิทยากรร่วมทำงานเป็นทีมพร้อมกันทุกกิจกรรม 2.2 เน้นการอภิปราย ซักถาม โต้ตอบ ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าอบรม (หลีกเลี่ยงการสอนแบบบรรยาย) 2.3 บูรณาการองค์ความรู้ต่างๆเชื่อมโยงเนื้อหาเข้าด้วยกัน (เน้นการเรียนรู้แบบองค์รวม) 2.4 ฝึกทักษะปฏิบัติจริงตามความสนใจ โดยจัดห้องปฏิบัติการให้มีหัวข้อที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เข้าอบรมลงมือปฏิบัติ และสามารถแลกเปลี่ยนซักถามระหว่างกลุ่ม จากนั้นอภิปรายร่วมกัน 3. เปิดเวทีซักถาม อภิปราย และตอบปัญหาที่สงสัย ขั้นประเมินผล 1. ประเมินผลการดำเนินงานจากผู้เข้าร่วมอบรม 2. วิเคราะห์ผลการดำเนินงาน ขั้นสรุปและจัดทำรายงาน เมื่อเสร็จสิ้นโครงการอบรม จะจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการ พร้อมประเมินผลการดำเนินโดยรวบรวมความคิดของผู้เข้าอบรม ตลอดจนปัญหาและอุปสรรค

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมงาน --- --- - -- 0.00
2.ปฏิบัติงาน --- --- --- -- 10,000.00
3.ประเมินผล --- --- --- -- 60,000.00
4.สรุปผลและจัดทำรายงาน -- --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 9 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. ครูได้ปรับเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจในเนื้อหาวิชาการทางชีววิทยาที่ถูกต้อง 2. ครูรู้จักวิธีการสืบเสาะแสวงหาความรู้และการสืบค้นเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยและทันเหตุการณ์ 3. ครูมีความเชื่อมั่นมากขึ้นและเกิดแรงบันดาลใจที่จะใฝ่ศึกษาหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ส่งผลดีต่อการจัดการเรียนการสอนในอนาคต

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 60,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 7,200.00 บาท )
1) ผู้ช่วยวิทยากรจำนวน 2 คน x จำนวน 12 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
7,200.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 20,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 210.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์สรุปรายงานการอบรม ค่าจ้างเหมาจัดทำสรุปโครงการ
=
3,200.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 80,000.00 บาท