แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ พืชสมุนไพรกับการประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตเกษตรอินทรีย์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ณัชพล สามารถ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ส่งเสริมการเกษตร
ประสบการณ์ : งานวิจัยแบบมีส่วนร่วม ที่ปรึกษาด้านการเกษตรผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : เกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ การมีส่วนร่วม(เกษตร)ติดตามประเมินผล
หัวหน้าโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
ผู้ร่วมโครงการ
นายจิรศักดิ์ บางท่าไม้ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : รัฐศาสตร์
ประสบการณ์ : "1) วิทยากรขับเคลื่อนแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ปี 2554-2555 2) วิทยากรคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) ปี 2544-2545 3) คณะกรรมการการเลือกตั้ง เขตที่ 4 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2547 4) ที่ปรึกษาสภาข้าราชการพนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย (ปขมท.) ปี 2549-ปัจจุบัน 5) การวิจัยและพัฒนาการรับรองขบวนการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี : สถานภาพ ผู้ร่วมวิจัย 2549 6) วิจัยเรื่อง การเตรียมความพร้อมการยกฐานะองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นเทศบาลตำบล กรณีศึกษาอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับทุนอุดหนุนโครงการพลเมืองส่งเสริมธรรมาภิบาล ภายใต้การสนับสนุนของโครงการสะพานและองค์กรระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 : สถานภาพ หัวหน้าโครงการ "
ความเชี่ยวชาญ : ทำการสอนในระดับปริญญาตรี วิชาหลักกฎหมายปกครองท้องถิ่น วิชากฎหมายเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ วิชากฎหมายเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน วิชากฎหมายผังเมืองและการควบคุมอาคาร และวิชาปัญหาการละเมิดสิทธิและการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากสภาพปัญหาการผลิตทางการเกษตรที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภคต่างต้องเผชิญกับวิกฤตการปนเปื้อนของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทางการเกษตร ทำให้แนวคิดที่มุ่งแสวงหาทางออกให้แก่สังคมในด้านการเกษตร ได้มีทางเลือกใหม่เกิดขึ้น ซึ่งปฎิเสธแนวคิดการทำการเกษตรแผนใหม่ แม้ว่าเกษตรกรรมแบบเคมีจะยังคงเป็นกระแสหลักของระบบการเกษตรของประเทศไทย แต่แนวโน้มของการทำการเกษตรกรรมเกษตรกรรมทางเลือกได้กลายเป็นกระแสที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ผลิตและกลุ่มผู้บริโภคส่วนหนึ่งได้หันหลังให้กับการผลิตและบริโภคผลผลิตจากขบวนการผลิตแบบเคมี หันมาทำการเกษตรทางเลือกในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบเกษตรธรรมชาติ การผลิตแบบเกษตรปลอดภัย การผลิตแบบเกษตรอินทรีย์ เป็นต้น เป้าหมายสุดท้ายของการผลิตเกษตรทางเลือกในรูปแบบต่าง ๆ มุ่งสู่ความปลอดภัยจากสารเคมีที่ใช้ในการเกษตร เกษตรทางเลือกมีเป้าหมายในการผลิตอาหารและปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตมากกว่าผลิตเพื่อการส่งออก เกษตรกรจึงไม่ต้องวิ่งไปตามกระแสของตลาด อาหารที่ผลิตได้ก็เป็นอาหารที่มีคุณภาพปลอดภัยจากสารพิษตกค้าง เกษตรทางเลือกมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยไม่เกิดผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม และเปิดโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุข และสามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน ประสิทธิภาพของการผลิตทางการเกษตรเพื่อให้สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อการบริโภคเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก ต้นทุนการผลิตแบบเกษตรเคมีประกอบด้วยการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่น้อยกว่า15-30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเกษตรกรหันหลังให้กับสารเคมี ความจำเป็นของการป้องกันกำจัดศัตรูพืชยังคงอยู่ เพื่อรักษาผลผลิตให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรทางการเกษตรจะเข้ามาแทนที่การใช้สารเคมีสังเคราะห์ ซึ่งปลอดภัยต่อผู้ผลิตและผู้บริโภค ก่อนจะก้าวไปสู่จุดหมายของการทำการเกษตรที่ปลอดภัย เกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความเชื่อมั่น ไม่รู้จักหน้าตาและไม่รู้ถึงสรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพรไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการสร้างองค์ความรู้เรื่องพืชสมุนไพรเพื่อการเรียนรู้และการประยุกต์ใช้ทางการเกษตร

วัตถุประสงค์
1.เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจพืชสมุนไพรทางการเกษตร
2.เกษตรกรมีความสามารถในการประยุกต์ใช้สมุนไพรเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช
3.เกษตรกรเข้าถึงพันธุกรรมพืชสมุนไพร

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรรายย่อยที่ทำการเกษตรที่ดีและเหมาะสม เกษตรกรที่ทำการเกษตรอินทรีย์ของจังหวัด อุบลราชธานีและโครงการตามพระราชดำริ โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน โรงเรียนเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
125 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ประชาสัมพันธ์โครงการและประเมินคัดเลือกโรงเรียนและเกษตรกร สร้างสื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเตรียมแปลงพันธุกรรมพืชสมุนไพรมีชีวิตในพื้นที่เป้าหมายใน 5 ฐานการเรียนรู้ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่กลุ่มเกษตรกร โรงเรียน ตชด.และโรงเรียนเครือข่าย ติดตามผลการประยุกต์ใช้สมุนไพร หมายเหตุ อบรมจำนวน 5 รุ่น (วันที่ 10 ม.ค.,14 ม.ค.,21 ม.ค.,28,4 ก.พ.2558)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์โครงการและประเมินคัดเลือกโรงเรียนและเกษตรกร - --- --- --- 15,000.00
2.สร้างสื่อส่งเสริมการเรียนรู้ใน 5 ฐาน - --- --- --- 9,000.00
3.เตรียมแปลงพันธุกรรมพืชสมุนไพรมีชีวิตในพื้นที่เป้าหมาย -- - --- --- 80,000.00
4.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในพื้นที่กลุ่มเกษตรกรหรือมหาวิทยาลัยฯ --- - --- --- 76,250.00
5.ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการในโรงเรียน ตชด.และโรงเรียนเครือข่าย --- - --- --- 46,000.00
6.ติดตามผลการประยุกต์ใช้สมุนไพร --- --- - --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 243 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
10 มกราคม พ.ศ. 2558
8.00 -8.30 ลงทะเบียน เรียนรู้ตามอัธยาศัย “ชมนิทรรศการมีชีวิต”
10 มกราคม พ.ศ. 2558
8.31 -9.00 พิธีเปิดฐานการเรียนรู้“ชมนิทรรศการมีชีวิต อาจารย์จิรศักดิ์ บางท่าไม้
10 มกราคม พ.ศ. 2558
9.01-12.00 เสวนาการใช้ประโยชน์ “สมุนไพรสามัญประจำไร่นา สรรพคุณทางยา การทำสมุนไพรเปิดขวดฯ” ผศ.ณัชพล สามารถ อาจารย์จิรศักดิ์ บางท่าไม้และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
10 มกราคม พ.ศ. 2558
13.01-16.00 ปฏิบัติการประยุกต์ใช้สมุนไพรป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ผศ.ณัชพล สามารถ อาจารย์จิรศักดิ์ บางท่าไม้และนายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
10 มกราคม พ.ศ. 2558
16.01-16.30 สรุปผลการเรียนรู้และประเมินผล อ.จิรศักดิ์ บางท่าไม้

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -เกษตรกรร้อยละ 80 ของเกษตรกร ลดค่าใช้จ่ายการทำนาและมีรายได้เพิ่มจากการขายผลผลิต รวมมูลค่าไม่น้อยกว่า 200,000 บาท
ด้านสังคม : -เกิดฐานการเรียนรู้พืชสมุนไพรทางการเกษตรที่มีชีวิต อย่างน้อย 5 ฐาน เกษตรกรเกิดความเชื่อมั่นในการผลิตข้าว(ลดความรุนแรงของโรคใบไหม้) ,รู้จักการใช้สมุนไพรทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ และมีศูนย์รวมเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนในพื้นที่ /ชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -ทรัพยากรดินและน้ำ ปลอดภัยจากการปนเปื้อนสารเคมีมากขึ้น
ด้านอื่นๆ : -เกษตรกรเข้าถึงพันธุกรรมพืชสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
125
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1200 472 หลักการส่งเสริมการเกษตร
หลักสูตร เกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในกิจกรรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนปัญหาพิเศษของนักศึกษาที่ได้จากการบริการวิชาการ จำนวน 3 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 54,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 54,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
54,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 64,130.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 14,880.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
4,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 10,080.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 480.00 บาท
=
5,760.00 บาท
2) จำนวน 6 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,320.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,250.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 125 คน
=
6,250.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 125 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 27,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 15 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างทำโปสเตอร์(ไวนิล)
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 133,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 13,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
4,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 120,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุเกษตร (ถ่านแกลบ ปุ๋ยคอก ค่าพันธุ์พืชสมุนไพร เป็นต้น)
=
60,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุไฟฟ้าและก่อสร้าง (ภาชนะปลูก ท่อน้ำ มินิสปริงเกอร์ สายไฟ ปั๊มน้ำและระบบควบคุมการจ่ายน้ำอัตโนม
=
60,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 251,130.00 บาท