แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ แพทยศาสตร์สู่สังคม ครั้งที่ 4
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวรัตติกาล วังคะฮาด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิจัยและประเมินผลการศึกษา
ประสบการณ์ : 1) หัวหน้าโครงการแพทยศาสตร์สู่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2552 2) หัวหน้าโครงการแพทยศาสตร์สู่สังคม ครั้งที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2553 3) หัวหน้าโครงการแพทยศาสตร์สู่สังคม ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ 2554
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นายนิยม จันทร์นวล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : อาจารย์
ความเชี่ยวชาญ : พฤติกรรมศาสตร์ สุขศึกษา เพศศึกษา การส่งเสริมสุขภาพ
ผู้ร่วมโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การสร้างเสริมสุขภาพ เป็นกระบวนการเกื้อหนุนและสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลและกลุ่มคนมีความสามารถในการควบคุมดูแลสุขภาพและพัฒนาสุขภาพของตัวเองซึ่งการสร้างเสริมสุขภาพที่จะได้ผลดี บุคคลและกลุ่มคนต้องเป็นผู้กระทำเอง ไม่ใช่รอหรือหวังพึ่งบริการจากแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขเท่านั้น เพราะฉะนั้นการบูรณาการสร้างเสริมสุขภาพจึงถือเป็นคุณสมบัติพื้นฐานสู่การมีชีวิตที่ดีของประชาชนเพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของการป้องกัน ควบคุมโรค หรือการสร้างเสริมสุขภาพที่ดี ทั้งทางกาย ใจ และอารมณ์ การเรียนการสอนของวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุขได้มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างเครือข่าย การเข้าถึงชุมชน การรับทราบโรคของชุมชน (community disease) เป็นจุดเริ่มต้นของการรักษาที่ยั่งยืน ปัจจุบันนี้รัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขสูญเสียงบประมาณไปเป็นจำนวนมากกับการดูแล รักษา ผู้ป่วย ทั้งที่จริงแล้วอาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ เป็นอาการป่วยธรรมดา ป้องกันได้ หรือป่วยทางจิตใจ ซึ่งแค่การรับฟังจากแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ การให้คำปรึกษาจากบุคลากรเหล่านี้ก็สามารถรักษาได้แล้ว โครงการแพทยศาสตร์สู่สังคม ได้ดำเนินจัดกิจกรรมการให้ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและมีการติดตามผลการดำเนินโครงการกับผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการแพทยศาสตร์สู่สังคม ครั้งที่ 4 นี้เป็นการติดตามผลการดำเนินการใน 3 ครั้งที่ผ่านมา ติดตามและประเมินองค์ความรู้ที่ได้นำมาใช้หรือประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งวิธีการถ่ายทอดความรู้ให้กับคนในชุมชนได้ทราบอย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ในด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ เพราะเชื่อว่าการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง พึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพจะลดปัญหาโรคของชุมชนได้มาก และยังเป็นการนำบทเรียนจริงในชุมชนมาศึกษา (win-win curricurum) อาจารย์ผู้สอน นักศึกษา บุคลากรได้ลงชุมชนให้ความรู้ นำหลักการทางวิชาการมาให้บริการชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการแสดงข้อคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกัน และแนะนำหลักการป้องกันที่ทำได้ด้วยตนเอง จึงถือได้ว่าการบริการในรูปแบบนี้ถือเป็นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ต่อครอบครัว และต่อสังคม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อติดตามผลการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ
2.เพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นของอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ
3.เพื่อให้อาจารย์ นักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ได้ทำประโยชน์แก่สังคม
4.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือการให้บริการวิชาการกับชุมชนในเขตพื้นที่ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ ตำบลโนนโหนน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พยาบาลวิชาชีพ นักจิตวิทยา คณาจารย์ นักศึกษา และบุคลากร วิทยาลัยแพทยศาสตร์การสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม 2. ติดต่อประสานงานกับวิทยากร(พยาบาลวิชาชีพและนักจิตวิทยา) โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมและผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้านเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ 3. การดำเนินกิจกรรมแพทยศาสตร์สู่สังคม - สำรวจข้อมูลประชากรในชุมชน - จัดทำแบบทดสอบก่อนการฝึกปฏิบัติ (pre-test) และแบบทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติ (post-test) - จัดทำสื่อความรู้ต่างๆ ป้ายประชาสัมพันธ์ นิทรรศการด้านสุขภาพ ใบประกาศนียบัตรและเอกสารประกอบการ ฝึกอบรม - ทำการทดสอบก่อนการฝึกปฏิบัติ (pre-test) แก่ผู้เข้าอบรม - สรุปผลการทดสอบก่อนการฝึกปฏิบัติ (pre-test) - อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ทางด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และทำการทดสอบหลังการฝึกปฏิบัติ (post-test)แก่ผู้เข้าร่วมอบรม 4. สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการพร้อมจัดทำรายงานการผลการดำเนินโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรม - --- --- --- 0.00
2.ติดต่อประสานงานกับวิทยากร ผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้านและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล --- - --- --- 6,700.00
3.การดำเนินกิจกรรมแพทยศาสตร์สู่สังคม --- - 123,300.00
4.สรุปและประเมินผลการดำเนินโครงการพร้อมจัดทำรายงานการผลการดำเนินโครงการ --- --- --- - 6,200.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 334 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.00 -08.30 น เดินทางจากวิทยาลัยแพทศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโน
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
16.30 - 17.00 น. เดินทางกลับ
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
16.00 - 16.30 น. สรุปและอภิปรายผลการจัดกิจกรรมแพทยศาสตร์สู่สังคม (รอบแรก) ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
14.30 -16.00 น. สรุปผลการทดสอบก่อนการฝึกปฏิบัติ (pre-test)ให้กับผู้เข้าอบรมทราบ พร้อมทบทวนองค์ความรู้เกี่ยวกับการส่ง
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00 -14.30 น. อบรมและฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.30 -12.00 น. การทดสอบก่อนการฝึกปฏิบัติ (pre-test)ให้กับผู้เข้าอบรม (การสร้างสถานการณ์จำลอง)
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00 - 09.30 น. ประธานโครงการ/ผู้ร่วมโครงการกล่าวรายงาน
21 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
07.30 -08.00 น. เดินทางจากวิทยาลัยแพทศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีไปยัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
16.00 - 16.30 น. สรุปและอภิปรายผลการจัดกิจกรรมแพทยศาสตร์สู่สังคมร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ
25 เมษายน พ.ศ. 2558
13.00 -16.00 น. อบรมและฝึกปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น (เพิ่มเติม) โดยฝึกปฏิบัติจริงจากหุ่นจำลองและการแลกเปลี่ยนเรีย
25 เมษายน พ.ศ. 2558
12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
10.00 -12.00 น. การดูแลสุขภาพจิตเบื้องต้น
25 เมษายน พ.ศ. 2558
09.00 -10.00 น. กิจกรรมสนุกสนานและการละลายพฤติกรรมแก่ผู้เข้าอบรมโดยนักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยฯ
25 เมษายน พ.ศ. 2558
08.40 -09.00 น. ประธานกล่าวเปิดงาน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
08.30 -08.40 น. ประธานโครงการกล่าวรายงาน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
08.00 -08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาน
25 เมษายน พ.ศ. 2558
16.30 - 17.00 น. เดินทางกลับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : สามารถเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็น ระหว่างวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับ บุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ รวมทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1. สามารถลดอัตราการป่วยของโรคที่สามารถป้องกันและควบคุมได้ 2.อาจารย์และนักศึกษา สามารถบูรณการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) ได้ 3.อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพมีศักยภาพด้านการปฐมพยาบาลและการสร้างเสริมสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1.อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพมีศักยภาพด้านการปฐมพยาบาลและการสร้างเสริมสุขภาพเบื้องต้นเพิ่มมากขึ้น 2.อาจารย์และนักศึกษา สามารถบูรณการการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)ได้ 3. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีเครือข่ายความร่วมมือการทำงานร่วมกันและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชนเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพพื้นฐานที่จำเป็นกับบุคลากรสาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขและแกนนำด้านสุขภาพ รวมทั้งหน่วยงานด้านสาธารณสุข

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การประยุกต์ใช้วิทยาการระบาดในงานอนามัยชุมชน
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต(สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน -ให้อาจารย์ผู้สอนนำปัญหาที่พบ กรณีศึกษาจากอาสาสมัครสาธาณสุขและแกนนำด้านสุขภาพมาใช้ในการเรียนการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -ให้นักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการและศึกษาจากปัญหาที่พบ กรณีศึกษาจากอาสาสมัครสาธาณสุขและแกนนำด้านสุขภาพและร่วมกันแสดงข้อคิดเห็นและหาทางแก้ไขปัญหาที่พบ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 22,960.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,800.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,160.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
6,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 11,760.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
11,760.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 99,540.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
32,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 47,540.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาอุปกรณ์และสถานที่ในการจัดโครงการ จำนวน 2 วัน
=
4,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือการปฐมพยาบาลเบื้องต้นพร้อมทำรูปเล่ม จำนวน 200 เล่ม
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารประกอบการจัดโครงการและค่าจัดทำรูปเล่ม
=
7,540.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาจัดทำประกาศนียบัตร จำนวน 150 ชุด
=
6,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาจัดนิทรรศการด้านสุขภาพและจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ
=
10,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมารถบัส จำนวน 2 วัน
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 9,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
4,500.00 บาท
=
4,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
4,200.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 136,200.00 บาท