แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2556
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการ หมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไค (ต่อเนื่อง)
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ อนามัยของชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.นายแพทย์ป่วน สุทธิพินิจธรรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : โรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
ประสบการณ์ : "1.อดีตเป็นอาจารย์สอนที่ศิริราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข 2.ดูแลผู้ป่วยด้านโรคผิวหนังที่โรงพยาบาลพญาไท 2 นานกว่า 24 ปี"
ความเชี่ยวชาญ : เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
หัวหน้าโครงการ
นางเมรีรัตน์ มั่นวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล โปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ
นายพลากร สืบสำราญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาการระบาด
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 1 โครงการ ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ หัวหน้าโครงการวิจัย 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การพัฒนาสุขภาพชุมชน การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันควบคุมโรคในชุมชน ระบาดวิทยา ชีวสถิติ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : 1.ผู้ร่วมโครงการ/เหรัญญิก โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ครั้งที่ 2) ปี 2555 2.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2555 3.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2556 4.ผู้ร่วมโครงการ โครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน ปี 2556 5.ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ส่งผลให้อัตราการตายของประชากรลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตามัว โรคหูเสื่อม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ในบางรายที่ประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะทำให้เกิดภาวะที่ต้องพึ่งพาหรือเกิดภาวะทุพพลภาพเป็นภาระแก่ผู้ดูแล ทำให้การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุอยู่อย่างไม่มีความสุข อาจส่งผลทำให้เกิดสุขภาพทางจิตได้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ขาดผู้ดูแล และได้จัดโครงการ หมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไค (ระยะที่ 1) ปี พ.ศ. 2555 โดยมีกิจกรรมการดูแลและติดตามเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ในการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพของตนเองแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องแบบยั่งยืน จึงเห็นสมควรให้ ดำเนินโครงการต่อเนื่องในระยะที่ 2 ปี พ.ศ.2556 โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในกลุ่มโครงการที่ 1 และขยายการดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่ใหม่เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งในการขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชน และนักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯได้ศึกษาเรียนรู้ในสถานการณ์จริง
2.เพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าและอาสาสมัครในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
3.เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตตำบลเมืองศรีไค ให้มีภาวะสุขภาพที่ดีขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมายหลักคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ ตั้งแต่60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ในเขต ต.เมืองศรีไค อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ขั้นตอนการดำเนินงานขั้นเตรียมการ 1.1 ประชุมแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการ 1.2 ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์สุขภาพเขต 7 องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเมืองศรีไค และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1.3 โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไค เป็นโครงการต่อเนื่อง ได้รับอนุมัติให้ดำเนินการในปี พ.ศ.2555 ดังนั้น จึงมีการจัดแบ่งพื้นที่ในการบริการด้านสุขภาพ ดังนี้ 1) พื้นที่เดิม จัดเตรียมความพร้อม เพิ่มศักยภาพอาสาสมัครและเจ้าหน้าดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็น ครู ก 2) พื้นที่ใหม่ วิทยาลัยแพทย์ฯ จัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชนกลุ่มใหม่ร่วมกับ ครู ก 1.4 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจสุขภาพชุมชน และรวบรวมข้อมูลสุขภาพกลุ่มเป้าหมาย - หูฟัง(Steththoscope) - เครื่องวัดความดันและที่พันต่างๆ (Sphygmomanometer and various cuff sizes) - เครื่องตรวจหูและตา (Otoscope and ophthalmoscope) - แฟ้มประวัติครอบครัว - ไม้กดลิ้น - ถุงมือใช้แล้วทิ้ง - ไฟฉาย - ปรอทวัดไข้ - ยาและเวชภัณฑ์เบื้องต้น 1.5 จัดอบรมและประชุมนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุข ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนออกตรวจสุขภาพชุมชน 2. ขั้นตอนการดำเนินงานในวันออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ การดำเนินการโครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไค เป็นโครงการต่อเนื่อง จึงมีการจัดแบ่งพื้นที่ในการบริการด้านสุขภาพ เป็น 2 กลุ่มดังนี้ 1. พื้นที่เดิม จัดเตรียมความพร้อม เพิ่มศักยภาพอาสาสมัครและเจ้าหน้าดูแลผู้สูงอายุ เพื่อเป็นชุมชนตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ 1.1. จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ รพ..สต. ชมรมผู้สูงอายุ อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ และเทศบาลเมืองศรีไค เพื่อหารือแนวทางจัดกิจกรรม เพื่อดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ 1.2. จัดนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุขอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครในชุมชน 1.3. จัดบริการตรวจตาเพิ่มเติม อย่างละเอียดโดยจักษุแพทย์ ที่ PCU ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ 1.4. จัดบริการตรวจโรคทางผู้สูงอายุอื่นๆ ยกเว้น โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยแพทย์และนักศึกษาแพทย์ ที่ PCU ของวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ 2. พื้นที่ใหม่ วิทยาลัยแพทย์ฯ จัดกิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชนกลุ่มใหม่ร่วมกับ ชุมชนตัวอย่างในการดูแลผู้สูงอายุ 2.1. สร้างเครือข่ายกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2.2. เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชน 2.3. จัดนักศึกษาแพทย์และสาธารณสุขอบรมให้ความรู้แก่อาสาสมัครในชุมชน 2.4. นักศึกษาจากวิทยาลัยแพทย์ฯและอาสาสมัครในชุมชน ทำการเยี่ยมบ้าน และประเมินผู้สูงอายุในชุมชนโดย การสัมภาษณ์และสังเกตในการออกเยี่ยมบ้าน ของนักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯ มีดังนี้ - ประเมินการเคลื่อนไหว ได้แก่ กิจวัตรประจำวัน - ประเมินลักษณะอาหาร ชนิดของอาหาร ความเหมาะสมต่อการบริโภค - ประเมินสภาพบ้านครอบครัว ความเหมาะสมกับโรคที่ผู้ป่วยเป็น - ประเมินครอบครัวที่แพทย์ฯดูแล ความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน - ประเมินวิธีการใช้ยา - ประเมินการตรวจร่างกายของสมาชิกในครอบครัว - ประเมินแหล่งบริการที่สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชนได้ - ประเมินความปลอดภัยภายในครอบครัว - ประเมินความเชื่อและคุณค่าของจิตวิญญาณความรู้สึกที่มีผลต่อสุขภาพ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2555
2556
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนประสานงานประชาสัมพันธ์และเตรียมการ (คัดเลือกพื้นที่ใหม่) --- --- --- 30,000.00
2.ดำเนินกิจกรรม --- --- --- 30,000.00
3.ดำเนินกิจกรรม --- --- --- 100,000.00
4.สรุปผลและประเมิน --- --- --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555 - 30 กันยายน พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกิดเครือข่ายภาคีและการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครมีทักษะในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้และสามารถดูแลสุขภาพตนเองแบบองค์รวมได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
นักศึกษาผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ ร้อยละ 80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว และวิชาอนามัยครอบครัว
หลักสูตร แพทยศาสตร์บัณฑิตและวิทยาศาสตร์บัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการและดำเนินกิจกรรม ร้อยละ 75
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น หลังเสร็จสิ้นโครงการ ร้อยละ 75

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 12,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,400.00 บาท )
1) ค่าปฏิบัติงานนอกเวลา (ส-อ)จำนวน 5 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 420.00 บาท/ชม.
=
8,400.00 บาท
2) ค่าปฏิบัติงานนอกเวลาทำการจำนวน 5 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 138,475.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 1,875.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
1,875.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,300.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 27 คน
=
24,300.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 28,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 16 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
28,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 39,700.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 5 เดือน x เดือนละ 7,940.00 บาท
=
39,700.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 43,800.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาออกพื้นที่ 150 บาท/15คน/12วัน
=
27,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงานเก็บข้อมูล 200บาท/7คน/12วัน
=
16,800.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 23,750.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 18,750.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
13,500 แผ่น x 0.50 บาท
=
6,750.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
7,000.00 บาท
=
7,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 174,625.00 บาท