แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ รุ่นที่ 11
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายประสิทธิ์ กาญจนา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์)
ประสบการณ์ : 1.หัวหน้าโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพารา 10 ปีทำงานวิจัยทางด้านยางพารา 8 ปีที่ปรึกษานิคมยางพาราในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกรรมการตรวจการจ้างต้นพันธุ์ยางพาราของกรมวิชาการเกษตรกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพาราของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ปรึกษากลุ่ม/เครือข่ายยางพาราจังหวัดอุบลราชธานีวิทยากรทางด้านยางพารากรรมการหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯและเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ 2.หัวหน้าโครงการวิจัยปาล์มน้ำมัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : 1.ระบบการผลิตยางพารา 2.ระบบตลาดยางพารา 3.ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเริ่มทดลองปลูกยางพาราตั้งแต่ปี 2521 โดยมีการทดลองปลูกในพื้นที่นิคมสร้างตนเองใน 3 จังหวัดคือ 1)นิคมสร้างตนเองโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย 2)นิคมสร้างตนเองปราสาท จังหวัดสุรินทร์ 3)นิคมสร้างตนเองบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการทดลองพบว่า ยางพาราที่ทดลองปลูก มีการเจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตคุ้มค่า ต่อมารัฐบาลจึงได้มีการส่งเสริมให้มีการปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างกว้างขวาง โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "การปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่" ทำให้พื้นที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้นเป็นอันมาก เกษตรกรที่ยังไม่เคยมีสวนยางมาก่อนมีโอกาสปลูกยางพาราเพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความเข้มแข็ง เปิดโอกาสให้เกษตรกรในพื้นที่ปลูกยางใหม่มีทางเลือกในการประกอบอาชีพที่มั่นคง ลดการเคลื่อนย้ายแรงงาน และเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า นอกจากนี้ยังพบว่า การปลูกยางพาราเกษตรกรมีรายได้สูงเมื่อเทียบกับการปลูกพืชไร่อื่นๆ ยางพาราจึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญและเป็นความต้องการของเกษตรกรในทุกภูมิภาคในปัจจุบัน โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกยางใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นเพื่อเป็นการสนับสนุนให้เกษตรกร ที่ปลูกยางพาราในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่ภาครัฐให้คำนิยามว่า (การปลูกยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่) มีความรู้ความเข้าใจมีโอกาสได้มีการเรียนรู้การผลิตยางพาราและฝึกฝนทดลองปฏิบัติการจริง คณะเกษตรศาสตร์จึงได้จัดให้มีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเกษตรกร เรื่องการพัฒนาฝีมือช่างกรีดยางและการทำยางแผ่นคุณภาพดี เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เรื่องการจัดการตลาดยางเพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านศักยภาพและเสถียรภาพราคายาง และการพัฒนาศักยภาพการผลิตยางพารา การสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มและเครือข่ายในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างซึ่งเป็นพื้นที่บริการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ผลการวิเคราะห์โครงการเดิม : การอบรมเชิงปฏิบัติการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ ได้มีการจัดฝึกอบรมมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นรุ่นที่ 1 ต่อเนื่องมาถึงปีงบประมาณ 2557 เป็นรุ่นที่ 10 ซึ่งเป็นโครงการที่เกษตรกรให้ความสนใจเข้าฝึกอบรมเป็นจำนวนมาก เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ทุกปี โดยในปีงบประมาณ 2557 ที่จัดเป็นรุ่นที่ 10 มีเกษตรกรเข้าร่วมฝึกอบรมทั้งสิ้น 319 คน จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ 150 คน ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 1. การฝึกอบรมการพัฒนาฝีมือช่างกรีดยางระหว่างวันที่ 1-6 พฤศจิกายน 2556 มีผู้เข้าร่วม 50คน 2. การแข่งขันกรีดยาง วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 มีผู้เข้าร่วม 25 คน 3. อบรมเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ "ยุทธศาสตร์ยางอุบลฯ สู่อาเซียน" วันที่ 4 พฤศจิกายน 2556 มีผู้เข้าร่วม 189 คน 4. อบรมเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ "การพัฒนากลุ่มชาวสวนยาง การจัดการตลาดยาง เทคโนโลยีการผลิตยางแท่ง และการทำยางแผ่นคุณภาพดี วันที่ 5 พฤศจิกายน 2556 มีผู้เข้าร่วม 60 คน รวมมีผู้เข้าร่วมฝึกอบรม 324 คน ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 150 คนถึง 174 คน นอกจากนี้ยังมีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ด้วย จึงนับได้ว่าเป็นโครงการฝึกอบรมที่มีการบูรณาการกับงานการเรียนการสอนด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในเชิงวิชาการให้ได้รับความรู้อย่างถูกต้องในการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องยางพาราและเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่
2.เพื่อฝึกให้เกษตรกรได้ลงปฏิบัติจริงในการพัฒนาคุณภาพยางพารา การเพิ่มศักยภาพการผลิต การจัดการตลาดยางพาราที่มีคุณภาพ แนวทางการพัฒนากลุ่มและเครือข่ายให้มีความยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และกำลังจะเปิดกรีดยางในปี 2558 2.กลุ่มเครือข่ายผู้ปลูกยางพาราในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 การเตรียมแปลงปลูกและแปลงฝึกกรีด วิธีดำเนินการโดยการไถเตรียมดินแปลงปลูก 2 ครั้ง ส่วนแปลงฝึกกรีดกำจัดวัชพืชและใส่ปุ๋ยบำรุง กิจกรรมที่ 2 การดูแลรักษาแปลงปลูกและแปลงฝึกกรีด การดำเนินการโดยการกำจัดวัชพืชภายในแปลงและรอบๆ แปลงโดยการใช้เครื่องตัดหญ้าและใช้คนเข้าตัดเก็บรายละเอียด กิจกรรมที่ 3 การเตรียมเอกสาร วิธีการดำเนินงาน โดยขอสนับสนุนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับยางพาราจาก สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร,สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง,และองค์การสวนยาง จากนั้นนำเอกสารมาจัดชุดและเรียบเรียงให้เป็นหมวดหมู่ กิจกรรมที่ 4 การประชาสัมพันธ์ วิธีการดำเนินงาน ขอความร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง และเครือข่ายชาวสวนยางในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างช่วยประชาสัมพันธ์หลักสูตรการฝึกอบรมฯ กิจกรรมที่ 5,6 การจัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์ในการฝึกอบรม วิธีการ โดยการติดต่อขอยืม และจัดซื้อวัสดุ,อุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรม กิจกรรมที่ 7,8 การฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาฝีมือช่างกรีดยางฯ และหลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ วิธีการดำเนินการ มีการบรรยาย และฝึกปฏิบัติจากวัสดุฝึกจริงในสถานที่ฝึก และลงปฏิบัติจริงในแปลงฝึกที่ได้เตรียมไว้ กิจกรรมที่ 9 การฟื้นฟูสภาพแปลงภายหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกอบรมฯ วิธีการ มีการดูแลรักษา เช่นการกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ยบำรุง และตกแต่งหน้ายางที่เกิดความเสียหายจากการฝึกให้อยู่ในสภาพเดิม กิจกรรมที่ 10 ประเมินผล สรุปค่าใช้จ่าย และส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ วิธีการดำเนินการ ภายหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรมทุกกิจกรรมแล้ว สรุปค่าใช้จ่าย ประเมินผล และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ตามที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกำหนด

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมแปลงปลูก แปลงฝึกกรีด -- --- --- --- 10,000.00
2.ดูแลรักษาแปลงปลูก แปลงฝึกกรีด -- --- --- --- 10,000.00
3.เตรียมเอกสารการฝึกอบรม -- --- --- --- 10,000.00
4.ออกประชาสัมพันธ์การฝึกอบรม -- --- --- --- 10,000.00
5.จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์การฝึกอบรมครั้งที่ 1 -- --- --- --- 40,000.00
6.จัดเตรียมวัสดุ,อุปกรณ์สำหรับการฝึกอบรมในครั้งที่ 2 -- --- --- --- 20,000.00
7.ฝึกอบรมครั้งที่ 1 การพัฒนาฝีมือช่างกรีดยางฯ -- --- --- --- 60,000.00
8.ฝึกอบรมครั้งที่ 2 เทคโนโลยีการผลิตยางพาราในพื้นที่ปลูกยางใหม่ -- --- --- --- 40,000.00
9.การฟื้นฟูแปลงยางฯให้อยู่ในสภาพเดิม - --- --- --- 20,000.00
10.ประเมินผล สรุปค่าใช้จ่าย และส่งราชการฉบับสมบูรณ์ - --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 6 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 บรรยายเรื่องการกรีดยาง การทำยางแผ่นคุณภาพดี และการใช้มีดกรีดยาง ประสิทธิ์ กาญจนา
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ฝึกปฏิบัติลับมีดกรีดยาง ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ปฏิบัติขั้นพื้นฐาน กระตุกมือสลับเท้า ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นพื้นฐาน (ต่อ) ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ทิศทางพัฒนายางไทยให้เป็นหนึ่งในระดับโลก ผู้จัดการบริษัท ศรีตรัง แอโกรอินดัสทรี จำกัด(มหาชน)
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นพัฒนา 2 กรีดรักษามุม 30 องศา ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ปฏิบัติขั้นพัฒนา 1 กรีดหน้าเรียบ ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 เทคโนโลยีใหม่ในการเพิ่มผลผลิตยางพารา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 เทคโนโลยีการผลิตยางแผ่นรมควันด้วยเตารมควันประสิทธิภาพสูง และประหยัดพลังงาน ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางภูจองนาจะหลวย จำกัด
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ปฏิบัติขั้นประณีต 1 กรีดถึงท่อน้ำยาง ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติขั้นประณีต 2 กรีดสิ้นเปลืองเปลือกน้อย ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 การพัฒนากลุ่มชาวสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี ไปสู่การส่งออกยางไปต่างประเทศ ประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราจังหวัดอุบลราชธานี
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 บรรยายการจัดการตลาดยางพารา ประสิทธิ์ กาญจนา
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ปฏิบัติการทำยางแผ่นคุณภาพดี ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
16.00-16.30 มอบวุฒิบัตร/ปิดการฝึกอบรม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ หรือ ผู้ที่ได้รับมอบหมาย
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00-16.00 ปฏิบัติทดสอบฝีมือช่างกรีดยางรอบที่ 2 ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
09.00-12.00 ปฏิบัติทดสอบฝีมือช่างกรีดยางรอบที่ 1 ประสิทธิ์ กาญจนา,สกย.

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : สามารถสร้างรายได้ให้กับผู้เข้าฝึกอบรมได้ปีล่ะประมาณ 190,000 บาทต่อคนกล่าวคือ จากข้อมูลของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางจังหวัดอุบลราชธานี และจากแบบสอบถามของโครงการฝึกอบรมที่ผ่านมาก เกษตรกรชาวสวนยางจังหวัดอุบลฯ มีสวนยางเฉลี่ย 15 ไร่ต่อครัวเรือน และจากข้อมูลของสถาบันวิจัยยาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ผลผลิตยาง 160 กก.ต่อไร่ต่อปี นอกจากนี้จากการสอบถามเกษตรกรชาวสวนยางพบว่า เกษตรกรที่มีฝีมือในการกรีดยางที่ดี สามารถกรีดยางได้ 7.5 ไร่ต่อคนต่อวัน ฉะนั้นจากข้อมูลข้างต้น ถ้าเกษตรกรได้ผ่านการฝึกอบรม และกรีดยางตามคำแนะนำทางวิชาการ เปิดกรีดยาง วันเว้นวัน จากพื้นที่เฉลี่ย 15 ไร่ต่อราย ราคายางพาราเฉลี่ย 100 บาท ในหนึ่งปีสามารถสร้างรายได้ได้ 190,000 บาทต่อราย
ด้านสังคม : ในการฝึกอบรมเน้นการทำงานเป็นกลุ่ม มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมการรวมกลุ่ม การสร้างเครือข่าย ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนี้ อาชีพการทำสวนยางเป็นอาชีพที่มั่นคง รายได้ดี ทำให้ลดการเคลื่อนย้ายแรงงานไปทำงานในเมือง มีผลทำให้ครอบครัวอบอุ่นมีความผาสุก
ด้านสิ่งแวดล้อม : ยางพาราเป็นไม้ยืนต้นอายุยืน การปลูกยางพาราเป็นการสร้างป่า ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม ลดโลกร้อน นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมการใช้ปุ๋ย ซึ่งวิทยากรไม่ได้มุ่งเน้นให้เกษตรกรใช้แต่ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว ยังมีการแนะนำให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ และการปลูกพืชคลุมตระกูลถั่วเพื่อสร้างความชุ่มชื่นให้และลดการใช้สารเคมีในการกำจัดวัชพืช และการทำยางพาราเน้นการใช้กรดฟอร์มิก ซึ่งเป็นกรดอินทรีย์
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
95
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
95
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
190000

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 35,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 33,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
21,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 11,400.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
15,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 45,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
22,500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 120,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 96,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
15,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
15,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
200 คน x 280.00 บาท
=
56,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 24,000.00 บาท )
1) ปุ๋ยเคมี 20 กระสอบๆละ 1200
=
24,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 230,000.00 บาท