แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการนานาชาติด้านสมุนไพร The 1st International Conference on Herbal and Traditional Medicine
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ จึงวัฒนตระกูล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาขาเภสัชศาสตร์
ประสบการณ์ : ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และมีประสบการณ์จัดประชุมวิชาการนานาชาติมากกว่า 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : เภสัชเคมีและพฤกษเคมี เทคโนโลยีชีวภาพพืช
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การนำสมุนไพรมาใช้ดูแลสุขภาพในปัจจุบันกำลังได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีทรัพยากรด้านสมุนไพรมากที่สุดแหล่งหนึ่งทั้งในด้านของปริมาณและความหลากหลายของสายพันธุ์ ในขณะที่การวิจัยด้านสมุนไพรแบบครบวงจรในประเทศไทยยังมีน้อยเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วหลายประเทศ การจัดประชุมวิชาการเป็นวิธีการหนึ่งที่ช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และความก้าวหน้าด้านสมุนไพรระหว่างนักวิจัยและผู้ประกอบการอย่างกว้างขวาง นำไปสู่การผลิตผลงานและผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การจัดประชุมวิชาการเกี่ยวกับสมุนไพรที่มีการจัดอยู่ทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นเรื่องการใช้เพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพ และเครื่องสำอาง แต่ยังไม่มีการจัดประชุมที่มุ่งเน้นเฉพาะการใช้เป็นยาโดยตรง ซึ่งครอบคลุมทั้งการพัฒนาสมุนไพรเดี่ยวและในรูปแบบตำรับ ในตำรายาจากภูมิปัญญาที่มีการสืบทอดกันมาเป็นเวลานาน คณะเภสัชศาสตร์ ทั้ง 4 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีแนวคิดร่วมกันเพื่อที่จะส่งเสริมให้มีการวิจัยสมุนไพรตามภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นยามากขึ้น จึงได้จัดให้มีการประชุมวิชาการนานาชาติที่เน้นการพัฒนาสมุนไพรเป็นยาขึ้น เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยพืชสมุนไพร บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศิษย์เก่า นิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งในด้านวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างเสริมองค์ความรู้ทางสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้นอันจะส่งผลดีต่อสุขภาพของประชาชนในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยพืชสมุนไพร บุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ศิษย์เก่า นิสิตนักศึกษา ผู้ประกอบการ และผู้สนใจสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ประสบการณ์ร่วมกัน ทั้งในด้านวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และการสร้างเสริมองค์ความรู้ทางสมุนไพรตามภูมิปัญญาไทย
2.2. เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ติดตามด้านความก้าวหน้าทางวิชาการ เทคโนโลยี และองค์ความรู้ทางด้านสมุนไพรที่ทันสมัยเป็นปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต แก่เภสัชกร นักวิจัย ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการ และผู้ที่สนใจ
3.3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายทางวิชาการสำหรับคณะเภสัชศาสตร์ นักวิจัย ศิษย์เก่า บุคลากรทางสาธารณสุข และผู้ประกอบการ เป็นผลให้เกิดการประสานงานกิจกรรมเชิงวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพและเข้มแข็ง เช่น การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเฉพาะทางของนักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น
4.4. เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงและบทบาทของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
• เภสัชกร และบุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจ • อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา • ศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เตรียมการจัดประชุมวิชาการ (เดือนมกราคม 2557-มกราคม 2558) - ดำเนินการจัดประชุมคณะทำงาน เดือนมกราคม 2557-มีนาคม 2557 - ติดต่อวิทยากร เดือน มีนาคม 2557 - ประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการกลุ่มเป้าหมาย เดือนเมษายน 2557 – ตุลาคม 2557 - ประสานงานวิทยากร ผู้เข้าร่วมประชุม ที่พัก เอกสารประกอบการประชุม บทคัดย่อการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2557 - เตรียมสถานที่ และเอกสารประกอบการประชุม เดือนมกราคม 2558 2. จัดประชุมวิชาการในวันที่ 28-30 มกราคม 2558 3. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงานภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2558

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน --- -- --- --- 0.00
2.2. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อระดมความคิดในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม --- --- --- 0.00
3.3. กำหนดหัวข้อบรรยายทางวิชาการและประสานงานกับวิทยากร --- -- --- --- 0.00
4.4. จัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ และเวปไซด์ประชาสัมพันธ์โครงการแก่กลุ่มเป้าหมาย --- -- -- --- 18,000.00
5.5. ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- 10,000.00
6.6. สรุปการลงทะเบียนและส่งบทคัดย่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการแบบปากเปล่าและโปสเตอร์ และ รวบรวมเอกสาร --- --- --- 10,000.00
7.7. จัดพิมพ์สื่อต่างๆ และรูปเล่มเอกสารประกอบการบรรยายทางวิชาการ และบทคัดย่อการนำเสนอผลงานทางวิชาการแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ - --- --- --- 30,000.00
8.8. ประสานงานเรื่องสถานที่จัดกิจกรรมและการเดินทางของวิทยากร -- --- --- --- 10,000.00
9.9. จัดประชุมวิชาการ ระยะเวลา 3 วัน --- -- --- --- 628,000.00
10.10. ประเมินผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 4,000.00
11.11. สรุปผลการดำเนินงาน --- -- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2558 - 30 มกราคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 มกราคม พ.ศ. 2558
08.00-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
28 มกราคม พ.ศ. 2558
18.00-20.00น. รับประทานอาหารเย็นร่วมกัน
28 มกราคม พ.ศ. 2558
14.15-16.30น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
28 มกราคม พ.ศ. 2558
14.00-14.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
28 มกราคม พ.ศ. 2558
13.30-14.00 น. Invite speaker 2 Assoc. Prof. Wanchai De-Eknamkul, Ph.D.
28 มกราคม พ.ศ. 2558
13.00-13.30 น. Invite speaker 1 รศ.ดร. ภาคภูมิ พาณิชยปการนันท์
28 มกราคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
28 มกราคม พ.ศ. 2558
11.00-12.00 น. Plenary lecture 2 Prof. Dr. Shoyama Yukihiro
28 มกราคม พ.ศ. 2558
10.00-11.00 น. Plenary lecture 1 Prof. Matthias Hamburger
28 มกราคม พ.ศ. 2558
09.30-10.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
28 มกราคม พ.ศ. 2558
09.00-09.30 น. พิธีเปิดการประชุมวิชาการ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
29 มกราคม พ.ศ. 2558
12.15-13.00 น. Lunch symposium บริษัท บางกอกแลป แอนด์ คอสเมติค จำกัด
29 มกราคม พ.ศ. 2558
13.00-15.00 น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า
29 มกราคม พ.ศ. 2558
15.00-15.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
29 มกราคม พ.ศ. 2558
15.15-17.00น. การนำเสนอผลงานวิชาการแบบโปสเตอร์
29 มกราคม พ.ศ. 2558
11.45-12.15 น. Invite speaker 6 Asst. Prof. Seiichi Sakamoto
29 มกราคม พ.ศ. 2558
11.15-11.45 น. Invite speaker 5 รศ.ดร. มยุรี ตันติสิระ
29 มกราคม พ.ศ. 2558
10.45-11.15 น. Invite speaker 4 รศ.ดร. ปลื้มจิตร โรจนพันธุ์
29 มกราคม พ.ศ. 2558
10.15-10.45 น. Invite speaker 3 ศ.ดร. บังอร ศรีพานิชกุลชัย
29 มกราคม พ.ศ. 2558
10.00-10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
29 มกราคม พ.ศ. 2558
09.00-10.00 น. Plenary lecture 3 Dr. Veronica Butterweck
29 มกราคม พ.ศ. 2558
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
30 มกราคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
30 มกราคม พ.ศ. 2558
11.30-12.00 น. พิธีมอบรางวัลและของที่ระลึก แก่ผู้ที่นำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์ และพิธีปิดการอบรม
30 มกราคม พ.ศ. 2558
10.00-10.30 น. Invited Speaker Assoc. Prof. Hiroyuki Tanaka
30 มกราคม พ.ศ. 2558
11.00-11.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
30 มกราคม พ.ศ. 2558
09.00-10.00 น. Plenary lecture 4 ศ.ดร. ชยันต์ พิเชียรสุนทร
30 มกราคม พ.ศ. 2558
08.30-09.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมวิชาการ
30 มกราคม พ.ศ. 2558
13.00-17.00 น. ทัศนศึกษาสวนสมุนไพรและแหล่งผลิตสมุนไพร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. นักวิจัย และผู้เข้าร่วมประชุม ได้รับองค์ความรู้ใหม่ และทันสมัย ในด้านการวิจัยและการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายาจากสมุนไพร เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้ดียิ่งขึ้น 2. ผู้เข้าประชุมได้แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น และประสบการณ์จากการทำงานทางด้านการวิจัยและการเรียนการสอนร่วมกันและเกิด การต่อยอดพัฒนาความรู้ใหม่จากองค์ความรู้ดั้งเดิม รวมถึงเพิ่มศักยภาพการให้บริการแก่ประชาชน 3. เกิดเครือข่ายทางวิชาการของคณะเภสัชศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และต่างประเทศ 4. ผู้เข้าประชุมได้เผยแพร่ผลงานวิจัยทางการพัฒนายาจากสมุนไพร 5. การประสานงานกิจกรรมเชิงวิชาชีพเป็นไปอย่างประสิทธิภาพ เช่น การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
140
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
70
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เภสัชเวท
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนสามารถสอบผ่านในรายวิชา และได้รับความรู้เพิ่ม
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด -
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 80,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 80,000.00 บาท )
1) - ค่าเดินทางของวิทยากรจากในประเทศจำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 50,000.00 บาท/ชม.
=
50,000.00 บาท
2) - ค่าตอบแทนเงินรางวัลการนำเสนอแบบปากเปล่าและ/หรือโปสเตอร์จำนวน 10 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 3,000.00 บาท/ชม.
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 10,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท