แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการคุ้มครองผู้บริโภค
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : เป็นการบูรณาการระหว่างการบริการทางการแพทย์ (การบริบาลเภสัชกรรม) และการ จัดนิทรรศการ เผยแพร่ ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางจีริสุดา คำสีเขียว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เภสัชกรรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากสภาพสังคมปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ทำให้วิถีชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนตามสภาพจากเดิม ทำให้พฤติกรรมของแต่ละคนเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ไม่ถูกต้อง เช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง อันนำไปสู่ ระบบการทำงานต่างๆของร่างกายเริ่มจะเสื่อมโทรมลง และมีโอกาสที่จะเจ็บป่วยได้ง่ายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งจัดเป็นโรคเรื้อรังที่กำลังเป็นปัญหาสาธารณสุขทั่วโลก โดยพบว่าความชุกของผู้ป่วยเบาหวานในทุกกลุ่มอายุ ทั่วโลกเป็น 2.8% ในปี 2000 และเป็น 4.4% ในปี 2030 หรือคิดเป็น 171 ล้านคน ในปี 2000 และเพิ่มขึ้นเป็น 366 ล้านคน ในปี 2030 และพบว่ามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั่วโลกเป็น 26.4% ในปี 2000 (95% CI 26.0-26.8%) โดยมีจำนวน 972 ล้านคน ในประเทศพัฒนาแล้วและ 333 ล้านคน ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งมีการประมาณการณ์จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่จะเพิ่มเป็น 29.2% (95% CI 28.8-29.7%) หรือเป็น 1.56 พันล้านคนทั่วโลก ในปี 2025 จากข้อมูลจำนวนและอัตราป่วย-ตายจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ของสถิติของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2540-2549 พบว่าอัตราป่วยต่อประชากร 100,000 คน ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นจาก 148.7 เป็น 586.82 ในโรคเบาหวาน และเพิ่มขึ้นจาก 158.0 เป็น 659.57 ในโรคความดันโลหิตสูง และอัตราตายต่อประชากร 100,000 คน ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร เพิ่มขึ้นจาก 7.5 เป็น 12.0 ในโรคเบาหวาน และเพิ่มขึ้นจาก 3.4 เป็น 3.8 ในโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้ พบว่าการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่รวดเร็ว ประกอบกับภาวะโรคที่เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมา ทำให้เกิดการเจ็บป่วยหรือการตาย ส่งผลกระทบทำให้เกิดความสูญเสียในด้านคุณภาพชีวิต สังคมและเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับการป้องกัน, การตรวจวินิจฉัย, การรักษาและการควบคุมโรคเป็นอันดับแรก จากข้อมูลในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา พบว่ามีประชากรที่มีโรคเรื้อรังต่างๆ มากกว่าร้อยละ 50 ที่ได้รับการดูแลรักษาต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยเรื้อรังได้รับการดูแลต่ำกว่ามาตรฐานนั้น ได้แก่ ความไม่สอดรับของระบบบริการสุขภาพในปัจจุบันต่อการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ทำให้เกิดแนวคิดต้นแบบการดูแลโรคเรื้อรัง (Chronic Care Model) จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่จำเป็น 6 องค์ประกอบ คือ (1) ทรัพยากรและนโยบายของชุมชน (2) หน่วยงานบริการสุขภาพในพื้นที่ (3) การสนับสนุนการดูแลตนเอง (4) การออกแบบระบบการให้บริการ ที่ประกอบด้วย การค้นหาและการคัดกรองผู้ที่มีภาวะเสี่ยงตามเกณฑ์ที่กำหนด (5) ระบบการสนับสนุนการตัดสินใจ และ (6) ระบบข้อมูลทางคลินิก เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษา นอกจากนี้ ในสภาวะปัจจุบันมียาและผลิตภัณฑ์สุขภาพหลากหลายรูปแบบจำนวนมากออกสู่ท้องตลาด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการบริโภคของผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ในจำนวนนี้มีผู้ประกอบการด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวนหนึ่ง ที่มุ่งส่งเสริมการขายโดยให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์สุขภาพของตนอย่างไม่เหมาะสม ด้วยการโฆษณาผ่านสื่อต่างๆทั้งสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์และมัลติมีเดีย เป็นเหตุให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับประโยชน์ของผลิตภัณฑ์และบางผลิตภัณฑ์อาจก่อนให้เกิดโทษจากการบริโภคผลิตภัณฑ์ดังกล่าว หรือสูญเสียโอกาสในการดูแลรักษาสุขภาพของตนอย่างถูกต้อง กอปรกับมีผลิตภัณฑ์สุขภาพจำนวนหนึ่ง ที่พบว่าไม่มีคุณภาพตามมาตรฐานหรือไม่มีคุณประโยชน์ตามที่กล่าวอ้าง รวมถึงมีผลเสียต่อสุขภาพของผู้บริโภค เป็นเหตุให้มีผู้บริโภคที่ได้รับความเสียหาย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความพร้อมทั้งทางด้านแหล่งข้อมูลและบุคลากรที่จะให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคม ได้เล็งเห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าว จึงได้ริเริ่มโครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับ รพ.สต.ในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้เคยดำเนินงานโครงการนำร่องมาแล้วในปีงบประมาณ 2556 ซึ่งโครงการได้รับการสนุนงบประมาณจาก คภ.สสส. และเงินรายได้คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งนี้โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนเพื่อการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเรื้อรังและการคุ้มครองผู้บริโภคนี้ จะประกอบด้วยการดำเนินกิจกรรมเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1) การบริบาลเภสัชกรรมด้วยการออกเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และ 2) การรณรงค์และให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคผ่าน อสม., ผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชน ซึ่งกลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติมีแผนที่จะขยายกลุ่มเป้าหมายการดำเนินงานไปสู่ชุมชนมากขึ้น โดยผลที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการนี้ จะเป็นการเปิดบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยให้ได้รับความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดในการรักษาด้วยยา และพัฒนารูปแบบการให้บริการด้านการบริบาลทางเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยใน รพ.สต. ซึ่งจะสามารถเป็นแหล่งดูงานของโรงพยาบาลอื่น และเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนได้

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้การบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังด้วยการออกเยี่ยมบ้าน
2.2. เพื่อการรณรงค์ให้เกิดองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยในชุมชน
3.3. เพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือทางด้านวิชาการและวิชาชีพระหว่างคณะเภสัชศาสตร์และแหล่งฝึกปฏิบัติวิชาชีพด้านชุมชนของนักศึกษา (รพ.สต.)

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
• ผู้รับบริการ ได้แก่ ผู้ป่วยที่มารับบริการ รพ.สต.ในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ รพ.สต.เมืองศรีไค, รพ.สต.บัววัด • อสม., ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ รพ.สต. ในเครือข่ายโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้แก่ รพ.สต.เมืองศรีไค, รพ.สต.บัววัด • ผู้ให้บริการ ได้แก่ คณาจารย์ และนักศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
140 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. นำเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ 2. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย 3. ติดต่อประสานงานกับ รพ.สต. ที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม 4. การดำเนินกิจกรรม - การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้าน - การรณรงค์และให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคผ่าน อสม.และประชาชนในชุมชน 5. การประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ 6. สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. นำเสนอโครงการเพื่อเสนอขอรับจัดสรรงบประมาณ -- --- --- --- 0.00
2.2. ประชุมผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินงาน และกำหนดเป้าหมาย -- --- --- --- 0.00
3.3. ติดต่อประสานงานกับ รพ.สต. ที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรม -- --- --- --- 0.00
4.4. การดำเนินกิจกรรม - การบริบาลทางเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้าน - การรณรงค์และให้ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคผ่าน อสม.และประชาชนในชุมชน - - 110,000.00
5.5. การประเมินผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์โครงการและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ --- --- --- - 0.00
6.6. สรุปผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงาน --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 304 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
20 มีนาคม พ.ศ. 2558
1. ค้นหาปัญหาด้านยาพร้อมหาแนวทางแก้ปัญหา อ.ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย อ.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว ผศ.ดร.น้องเล็ก คุณวราดิศัย อ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง อ.
20 มีนาคม พ.ศ. 2558
2. การให้ความรู้และให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยด้านโรค, ยา และการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม อ.ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย อ.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว ผศ.ดร.น้องเล็ก คุณวราดิศัย อ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง อ.
20 มีนาคม พ.ศ. 2558
3. การประเมินความร่วมมือในการใช้ยาและการทบทวนการใช้ยาเทคนิคพิเศษ อ.ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย อ.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว ผศ.ดร.น้องเล็ก คุณวราดิศัย อ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง อ.
20 มีนาคม พ.ศ. 2558
4. การทบทวนวันนัด (next visit) อ.ภก.พีระวัฒน์ จินาทองไทย อ.ภก.มานิตย์ แซ่เตียว ผศ.ดร.น้องเล็ก คุณวราดิศัย อ.ดร.ทัดตา ศรีบุญเรือง อ.

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1. ผู้ป่วยได้รับการดูแลด้านยาจากคณาจารย์และเภสัชกรที่เข้าร่วมโครงการ ทำให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาและได้รับประโยชน์สูงสุดจากการรักษาด้วยยา 2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และหน่วยงานด้านสาธารณสุข มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านวิชาการระหว่างบุคลากรสาธารณสุข และเกิดความร่วมมือกันในด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการ วิชาชีพ และงานวิจัย 3. ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้บทบาทเภสัชกรเชิงรุกในงานสร้างเสริมสุขภาพชุมชน ด้านการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วญโรคเรื้อรังและการคุ้มครองผู้บริโภคและสาธารณสุข ตลอดจนเรียนรู้สถานการณ์ปัญหายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
140
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เภสัชกรรมชุมชน
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ - จำนวนกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงที่นักศึกษาได้เก็บข้อมูลและวางแผนการแก้ไขปัญหาจากการใช้ยา - จำนวนกรณีศึกษาจากผู้ป่วยจริงที่นำมาปรับใช้ในการเรียนการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 3,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
3,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 74,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 20.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
2,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,000.00 บาท )
- จำนวน 8 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,250 บาท/คัน/วัน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 54,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
=
30,000.00 บาท
2) ค่าน้ำมันรถ
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารและเข้าเล่มเอกสาร
=
14,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 33,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 28,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
100 คน x 200.00 บาท
=
20,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ เช่น ซีดีรอม, external hard drive
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 110,000.00 บาท