แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการประชุมนานาชาติ 18th World Congress Clinical Nutrition (WCCN) “Agriculture, Food and Nutrition for Health and Wellness”
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.เอกสิทธิ์ อ่อนสอาด คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีอาหาร)
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร และ เคมีอาหาร หัวข้อที่สนใจ การใช้ประโยชน์จากโปรตีนพืช; สมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร คุณสมบัติเชิงหน้าที่ของโปรตีน
หัวหน้าโครงการ
ดร.จินดามณี แสงกาญจนวนิช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เคมีอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหาร อาหารพื้นบ้านและระบบประกันคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ไฮโดรคอลลอยด์ในอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจกับสุภาพมากขึ้น ทำให้วัตถุดิบทาการเกษตรที่มีประโยชน์ต่อร่ากายและอาหารเพื่อสุขภาพมีอัตราการเติบโตที่สูงขึ้น ซึ่งอาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์และสุขภาพทางโภชนาการ การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาด ปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศให้ดีขึ้น อุตสาหกรรมอาหารและผลิตผลการเกษตรเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้ในแต่ละปีมีมูลค่า 385,779.88 ล้านบาท ในปี 2551 (50) (กระทรวงพาณิชย์, 2552) โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ประมง ข้าวและธัญพืช เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ผลไม้และผลิตภัณฑ์แปรรูป แต่อย่างไรก็ตามจากการเปลี่ยนแปลงสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก และเทคโนโลยี ตลอดจนข้อมูลข่าวสาร ทำให้มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปจะเชื่อมโยงกับตลาดโลกมากยิ่งขึ้น นับตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบ การแปรรูป จนถึงการกระจายสินค้าสู่ผู้บริโภค ในรูปแบบของธุรกิจการค้ารูปแบบใหม่ (Modern Trade) นั่นคือความต้องการของผู้บริโภคที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและความปลอดภัย (Quality and safety) โดยเฉพาะตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) ซึ่งกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ฉะนั้นเทคโนโลยีการผลิตที่จะต้องมีการพัฒนาให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา การพัฒนาสินค้าใหม่ แนวทางการพัฒนามาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารภายในประเทศ (Local standard) ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล (Global standard) ด้วยความสำคัญของการมีสุขภาพที่ดีทั้งที่ได้รับจากการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทาง โภชนาการ ทางคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับ International College of Nutrition (ICN) ประเทศแคนนาดาและคณแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เล็งเห็นว่าถ้าได้มีการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ 18th World Congress on Clinical Nutrition (WCCN) "Agriculture, Food and Nutrition for Health and Wellness" ที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลและผลการศึกษา ของสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพอาหารอย่างเหมาะสมและยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และข้อมูลทางวิชาการระหว่างนักวิจัย
2.เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนแนวคิด ความรู้ทางวิชาการและข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ระหว่างนักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการ และรัฐบาล ต่ออาหาร โภชนาการและสุขภาวะที่ดี
3.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ สถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ องค์กรระหว่างประเทศ อุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
4.เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางการวิจัยในด้านอาหาร โภชนาการและสุขภาวะที่ดี และความร่วมมือกับนานาชาติ
5.เพื่อเป็นการเผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และประเทศไทย ให้เป็นที่รู้จักของทั่วโลก

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการชาวไทย นักวิชาการชาวต่างชาติ นิสิต/นักศึกษา ผู้แทนจากองค์กรต่างๆ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
150 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
- บรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิจากต่างประเทศและในประเทศ - การเสนอผลงานของนักวิจัยจากนักวิจัยไทยและต่างประเทศ - ภาคแสดงโปสเตอร์ - การอภิปรายกลุ่ม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การแต่งตั้งกรรมการและคณะทำงาน ประชุมคณะกรรมการ การประชาสัมพันธ์ การจัดทำเอกสาร ฝ่ายวิชาการและกลั่นกรองผลงาน พิธีการ อาหารและสถานที่ และ สรุปงาน --- --- --- 750,000.00
2.การสรุปงาน การวิเคราะห์และประเมินผลการดำเนินงาน และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ --- --- --- 50,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557 - 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
9.00-17.00 พิธีการเปิดการประชุมนานาชาติ การบรรยายพิเศษ และการแสดงผลงานวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
2 ธันวาคม พ.ศ. 2557
9.00-22.00 การประชุมนานาชาติ การบรรยายพิเศษ การแสดงผลงานวิจัย และงานเลี้ยงผู้น่วมประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
3 ธันวาคม พ.ศ. 2557
9.00-17.00 การประชุมนานาชาติ การบรรยายพิเศษ และการแสดงผลงานวิจัย ผู้ทรงคุณวุฒิและนักวิจัยทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพื่อเป็นแนวทางในการยกระดับคุณภาพของวัตถุดิการเกษตร และอาหารสุขภาพสามารถแข่งขันในระดับอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน
ด้านสังคม : สังคมได้รับความรู้ทางด้านวิชาการในด้านอาหาร สุขภาพและโภชนาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : มีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการด้านเกษตร อาหารและโภชนาการที่ดี กับนักวิชาการทั่วโลก;การเผยแพร่ชื่อเสียง ประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1205 896 วิทยานิพนธ์ แบบ ก2
หลักสูตร วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : ปริญญาโท ชั้นปีที่ 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การเข้าร่วมประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 47,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 11,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
2,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 36,000.00 บาท )
1) การจ้างนักศึกษาช่วยงานจำนวน 15 คน x จำนวน 15 ชม. x จำนวน 160.00 บาท/ชม.
=
36,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 707,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 270,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 120,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 15 คน x ครั้งละ 4,000.00 บาท
=
120,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 150,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 25 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
150,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 141,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 470.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
141,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 94,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 630.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
94,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 40,000.00 บาท )
- จำนวน 4 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
40,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 147,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถบัส
=
40,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาทำ proceeding
=
90,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมา website
=
5,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์งาน
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 45,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 45,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
150 คน x 50.00 บาท
=
7,500.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
15,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 800,000.00 บาท