แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียในโรงเรียนมัธยมปลายแถบชายแดนไทย ลาว กัมพูชา
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.รสริน การเพียร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : 1. ทำงานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย 2. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 2และวิชาการส่งเสริมสุขภาพและประสบการณ์วิชาชีพแพทย์
ความเชี่ยวชาญ : ธาลัสซีเมีย โลหิตวิทยา
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ธาลัสซีเมีย (thalassemia) เป็นภาวะโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ เกิดจากมีความผิดปกติของยีนที่ควบคุมการสังเคราะห์สายโกลบิน (globin chain) ทำให้สร้างสายโกลบินได้น้อยลงหรือไม่สามารถสร้างสายโกลบินได้เลย ธาลัสซีเมียที่พบได้บ่อยแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ อัลฟา-ธาลัสซีเมีย (α-thalassemia) และบีตา-ธาลัสซีเมีย (β-thalassemia) นอกจากนี้ยังมีความผิดปกติของโกลบินยีนที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์สายโกลบิน ที่มีลำดับของกรดอะมิโนแตกต่างไปจากปกติ เกิดเป็นฮีโมโกลบินผิดปกติ (Hb variants) เช่น ฮีโมโกลบินอี (Hb E) ซึ่งถือว่าเป็นบีตาบวก-ธาลัสซีเมียชนิดหนึ่ง ประเทศไทยเป็นบริเวณหนึ่งที่มีความชุกของธาลัสซีเมียสูงโดยพบอัลฟา-ธาลัสซี เมียสูงถึง 20-30%, บีตา-ธาลัสซีเมีย 3-9% และฮีโมโกลบินอี 20-30% ผู้ที่เป็นธาลัสซีเมียแบบต่างๆ จะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันขึ้นอยู่กับยีนที่ได้รับมาจากพ่อแม่ เช่น ถ้าหากได้รับยีนผิดปกติชนิดรุนแรงอัลฟา-ธาลัสซีเมีย 1 จากทั้งพ่อและแม่ (homozygous α-thalassemia 1) ทารกจะบวมน้ำ มีอาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือแรกคลอด ส่วนกรณีที่ได้รับยีนบีตาศูนย์-ธาลัสซีเมียจากทั้งพ่อและแม่ (homozygous β0-thalassemia) หรือ ยีนบีตาศูนย์-ธาลัสซีเมียร่วมกับฮีโมโกลบินอี (และ β-thalassemia/ Hb E disease) ทารกไม่เสียชิวิตแรกคลอด แต่การเจริญเติบโตจะไม่สมอายุ มีอาการซีด ตับม้ามโต สืบเนื่องจากโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดรุนแรงที่พบในประเทศไทย เป็นโรคพันธุกรรม การรักษาให้หายขาดด้วยวิธีเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกหรือสเต็มเซลล์ทำได้ยาก การรักษาที่ทำได้ทั่วไปจึงเป็นการรักษาตามอาการโดยการให้เลือดร่วมกับยาขับ เหล็ก โรคธาลัสซีเมียนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพแล้วยังเป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจ ของประเทศ การควบคุมและป้องกันจึงเป็นแนวทางสำคัญในการลดจำนวนทารกเกิดใหม่ที่เป็นโรค ชนิดรุนแรงให้น้อยลง โดยสาระสำคัญของแผนงานธาลัสซีเมียแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2554 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้กำหนดโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรงที่เป็นเป้าหมายในการควบคุมและป้องกันใน ประเทศไทยคือ homozygous α-thalassemia 1 (Hb Bart’s hydrops fetalis), homozygous β-thalassemia และ β-thalassemia/ Hb E disease ดังนั้นการตรวจคัดกรองค้นหาและวินิจฉัยผู้ที่มียีนแฝง อัลฟา-ธาลัสซีเมีย 1, บีตา-ธาลัสซีเมีย และฮีโมโกลบินอีซึ่งไม่แสดงอาการ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อจะได้ให้คำแนะนำปรึกษาทางพันธุกรรมที่เหมาะสมรวมถึงการวินิจฉัยทารกใน ครรภ์ก่อนคลอด (prenatal diagnosis) ต่อไป ปัจจุบันการดำเนินนโยบายควบคุมและป้องกันธาลัสซีเมียยังไม่สามารถบรรลุเป้า หมายจนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากการรายงานสภาพด้านสังคมในยุทธศาสตร์การวิจัย (พ.ศ. 2555-2559): ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าประชากรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นโรคธาลัสซีเมียเพิ่มขึ้นจาก 49 รายต่อแสนคนในปี 2545 เป็น 62 รายต่อแสนคน ส่งผลให้คุณภาพประชากรและแรงงานลดลง ทั้งนี้มีความเป็นไปได้สูงที่จำนวนผู้ป่วยธาลัสซีเมียที่ยังคงเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออาจเนื่องมาจากมีประชากรจำนวนหนึ่งที่ไม่ได้รับการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียและยังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมและป้องกันธาลัสซีเมีย ทางกลุ่มผู้เสนอโครงการเล็งเห็นว่าประชากรบริเวณพื้นที่ห่างไกลโดยเฉพาะแถบชายแดนไทย ลาว กัมพูชา เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรได้รับองค์ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแบบเคลื่อนที่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีข้อจำกัดในด้านภูมิศาสตร์ทำให้ยากลำบากในการเข้าถึงการรับบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียรวมถึงศูนย์กลางองค์ความรู้เช่น มหาวิทยาลัย หรือศูนย์บริการทางด้านสาธารณสุข โดยกลุ่มเป้าหมายที่สนใจคือนักเรียนระดับมัธยมปลายเนื่องจากเป็นกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ที่จะแต่งงานมีครอบครัวในอนาคตอันใกล้ และมีศักยภาพในการรับและถ่ายทอดความรู้สู่ครอบครัว ทั้งนี้การออกไปให้บริการในครั้งนี้มีความคาดหวังว่าจะเป็นแนวทางให้ประชาชน ในชุมชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคธาลัสซีเมียและมีส่วนร่วมในการควบคุม และป้องกันโรคธาลัสซีเมีย รวมทั้งมีโอกาสที่จะนำไปสู่การเป็นศูนย์กลางการให้ความรู้และบริการวิชาการ ควบคู่กับการวิจัยที่ยั่งยืน เพื่อมุ่งเน้นแก้ปัญหาทางการแพทย์และสาธารณสุขของท้องถิ่น ผลที่ได้จากโครงการนอกจากประชาชนจะได้รับความรู้และการบริการตรวจคัดกรองแล้ว น่าจะทำให้ทราบถึงบริบทของธาลัสซีเมียอย่างคร่าวๆในพื้นที่แถบชายแดน ไทย ลาว กัมพูชา ซึ่งสามารถต่อยอดการวิจัยในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวหรืออาจขยายถึงภูมิภาคแถบลุ่มน้ำโขงได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.ให้บริการวิชาการเกี่ยวเนื่องกับองค์ความรู้เกี่ยวกับธาลัสซีเมีย การควบคุมและป้องกันโรคธาลัสซีเมีย แก่นักเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนชนบทที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
2.ให้บริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแบบเคลื่อนที่แก่นักเรียนระดับมัธยมปลายในโรงเรียนชนบทที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนระดับมัธยมปลาย โรงเรียนชนบทแถบชายแดนไทย ลาว กัมพูชา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
400 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1 ให้ความรู้เกี่ยวกับธาลัสซีเมียแก่นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ โดยกำหนดให้มีการทำ pre-test ก่อนให้ความรู้และ post-test หลังให้ความรู้ 2 ทำการเจาะเลือดนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ 3 ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียด้วยวิธี OF และ DCIP test แก่นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ 4 แจ้งผลการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียในวันดำเนินการ 5 นำตัวอย่างเลือดที่เหลือกลับมาตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติซึ่งจำเป็นในการตรวจธาลัสซีเมียที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งยังมีประโยชน์ต่อการต่อยอดงานวิจัยในเชิงลึกต่อไป โดยทำการตรวจที่อาคารผู้ป่วยนอก วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 6 แจ้งผลการตรวจวิเคราะห์แก่นักเรียนผู้เข้าร่วมโครงการ 7 สรุปผลการดำเนินการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดทำแผ่นพับ เตรียมอุปกรณ์ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมีย ออกหน่วยให้บริการ โรงเรียนที่ 1 - -- --- --- 65,300.00
2.ออกหน่วยให้บริการ โรงเรียนที่ 2 และ 3 --- - -- --- 60,600.00
3.ออกหน่วยให้บริการ โรงเรียนที่ 4 --- --- - --- 30,300.00
4.สรุปและประเมินผล --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
17 ธันวาคม พ.ศ. 2557
08.30-16.30 ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแก่นักเรียนโรงเรียนนาจะหลวย คณะอาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
08.30-16.30 ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแก่นักเรียนโรงเรียนน้ำยืนวิทยา คณะอาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
22 เมษายน พ.ศ. 2558
08.30-16.30 ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแก่นักเรียนโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา คณะอาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
08.30-16.30 ให้ความรู้และบริการตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียแก่นักเรียนโรงเรียนภูมิซรอลวิทยา คณะอาจารย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การส่งเสริมการควบคุมและป้องกันธาลัสซีเมียให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จะช่วยลดเด็กเกิดใหม่ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียรุนแรง ส่งผลให้ลดภาระค่าใช้จ่ายของประเทศในการดูแลผู้ป่วยเหล่านี้
ด้านสังคม : เนื่องจากธาลัสซีเมียเป็นปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศ การควบคุมและป้องกันธาลัสซีเมียที่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่ช่วยลดปัญหาทางสังคมได้
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ทางสุขภาพ ธาลัสซีเมียเป็นปัญหาโดยตรงทางสุขภาพ หากมีการรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งการให้บริการตรวจที่เข้าถึงประชาชนโดยเฉพาะในชนบทที่ห่างไกล จะช่วยให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรคธาลัสซีเมียโดยเฉพาะในแง่การควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งจะส่งผลให้ภาวะสุขภาพโดยรวมของประชากรดีขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
400
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ระบบเลือดและน้ำเหลือง และ ชีวเคมีสำหรับนักศึกษาพยาบาล
หลักสูตร แพทยศาสตรบัณฑิต และ พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาแพทย์ปี 2 และนักศึกษาพยาบาลปี 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นำ ผลที่ได้จากโครงการบริการวิชาการมาสอดแทรกในการเรียนการสอน โดยเฉพาะในเรื่องความชุกของธาลัสซีเมียในท้องถิ่นแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ และพยาบาลได้ทราบเกี่ยวกับธาลัสซีเมียในแถบนี้และ ตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของแพทย์และพยาบาลในการจัดการกับปัญหานี้ต่อไปในอนาคต โดยวัดความสำเร็จจากความรู้ความเข้าใจของนักศึกษาจากการตอบคำถามในชั้นเรียนและผลการสอบ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 11,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 11,200.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้บันทึกข้อมูลจำนวน 4 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
3,200.00 บาท
2) ค่าตอบแทนผู้ตรวจคัดกรองธาลัสซีเมียจำนวน 4 คน x จำนวน 4 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 120,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 48,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 480 คน
=
48,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 12,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำแผ่นพับ โปสเตอร์ เอกสาร วิชาการ
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาตรวจวิเคราะห์เม็ดเลือดอัตโนมัติ
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าน้ำยาตรวจ KKU-OF/ KKU-DCIP clear
=
20,000.00 บาท
2) ค่า Needle, Syringe, EDTA-tube, Rack, Ice box, Microtube เบ็ดเตล็ด
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 156,200.00 บาท