แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ หมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไคและตำบลคำขวาง(ต่อเนื่อง)
ลักษณะโครงการ การบริการทางการแพทย์
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.นายแพทย์ป่วน สุทธิพินิจธรรม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : โรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
ประสบการณ์ : "1.อดีตเป็นอาจารย์สอนที่ศิริราช ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง คณบดี วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข 2.ดูแลผู้ป่วยด้านโรคผิวหนังที่โรงพยาบาลพญาไท 2 นานกว่า 24 ปี"
ความเชี่ยวชาญ : เป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังและภูมิแพ้ผิวหนัง
หัวหน้าโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : 1.ผู้ร่วมโครงการ/เหรัญญิก โครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับบุคลากรสาธารณสุข (ครั้งที่ 2) ปี 2555 2.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2555 3.ผู้ร่วมโครงการ/เลขานุการ โครงการหมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ตำบลเมืองศรีไค ปี 2556 4.ผู้ร่วมโครงการ โครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสู่ชุมชน ปี 2556 5.ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการพัฒนาด้านการแพทย์และการสาธารณสุข ส่งผลให้อัตราการตายของประชากรลดลง ผู้สูงอายุมีชีวิตยืนยาวขึ้น แต่ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากความเสื่อมถอยของร่างกายตามวัยทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคตามัว โรคหูเสื่อม ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น ในบางรายที่ประสบอุบัติเหตุจนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จะทำให้เกิดภาวะที่ต้องพึ่งพาหรือเกิดภาวะทุพพลภาพเป็นภาระแก่ผู้ดูแล ทำให้การดำรงชีวิตของผู้สูงอายุอยู่อย่างไม่มีความสุข อาจส่งผลทำให้เกิดสุขภาพทางจิตได้ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง ขาดผู้ดูแล และได้จัดโครงการ หมออาสาเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในชุมชน ตำบลเมืองศรีไคและตำบลคำขวาง ปี พ.ศ. 2555- 2557 โดยมีกิจกรรมการดูแลและติดตามเยี่ยมบ้าน ให้ความรู้ในการพัฒนาพฤติกรรมด้านสุขภาพของตนเองแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดการต่อเนื่องแบบยั่งยืน จึงเห็นสมควรให้ ดำเนินโครงการต่อเนื่องใน ปี พ.ศ.2558 โดยเน้นการเพิ่มศักยภาพของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ในกลุ่มโครงการที่ 1 และขยายการดำเนินงานเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุในพื้นที่ใหม่เพิ่มขึ้น

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้าง ความเข้มแข็งในการขยายเครือข่ายการทำงานร่วมกับชุมชน
2.เพื่อเพิ่มศักยภาพเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
3.เพื่อให้นักศึกษาวิทยาลัยแพทย์ฯ ได้ศึกษาเรียนรู้ การปฏิบัติงานในชุมชนตามสถานการณ์จริง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ผู้สูงอายุที่มีอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ผู้สูงอายุที่ไม่สามารถช่วยตนเองได้หรือผู้ด้อยโอกาสทางสังคม ถูกทอดทิ้ง ขาดผู้ดูแล และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่อาศัยอยู่ในเขต ตำบลเมืองศรีไค และตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ขั้นตอนการเตรียมการ 1.1ประชุมคณะทำงาน เพื่อกำหนดกรอบในการออกเยี่ยมบ้าน 1.2ประสานงานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ รพ.สต.เมืองศรีไค รพ.สต.คำขวาง เทศบาลเมืองศรีไค อบต.คำขวาง 1.3 เตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือสำหรับตรวจสุขภาพ 2.ขั้นตอนการออกเยี่ยมบ้าน 2.1 ประสานงานกับชุมชน เตรียมพื้นที่ เตรียม อสม. 2.2 ออกเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุตามแบบประเมิน 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ตรวจสุขภาพทั่วไป ประเมินสุขภาพจิต ภาวะซึมเศร้า ครั้งที่ 2 ตรวจประเมินภาวะสมองเสื่อม และให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพจิตเป็นรายบุคคล ตรวจสายตา 3.จัดอบรมอาสาสมัครผู้ดูแลผู้สูงอายุ อสม.

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานและเตรียมการในพื้นที่ -- --- 22,440.00
2.ออกเยี่ยมบ้าน --- - 132,820.00
3.จัดอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุ ให้กับ อสผ. อสม. และผู้สูงอายุ --- -- --- --- 28,700.00
4.จัดประชุมนำเสนอข้อมูลให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง --- --- --- -- 2,000.00
5.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน และ สรุปผล ประเมินผลโครงการ --- --- --- -- 2,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้สูงอายุที่ มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิต
ด้านสังคม : 1.เกิดเครือข่ายการทำงานด้านการดูแลผู้สูงอายุระหว่างชุมชน หน่วยงานภาครัฐ กับวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2.เจ้าหน้าที่และอสม. อผส. ได้มีการเพิ่มความรู้ และทักษะในการดูแล รักษา ผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น 3.ผู้สูงอายุ มีความรู้ และมีคุณภาพชีวิตทีดีขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-มีผู้ที่สามารถดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเพิ่มมากขึ้น -ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จากการที่มีคนออกไปเยี่ยม และดูแล เพิ่มขึ้น

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สุขภาพจิต
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน มีหัวข้อเรื่องการเยี่ยมบ้าน และการดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 2 เรื่องในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาออกเยี่ยมบ้านจำนวนร้อยละ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีการมอบหมายแผนการเยี่ยมในแต่ละครั้งของการออกเยี่ยม

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 23,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
8,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 139,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,250.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
3,750.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
3,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 29,550.00 บาท )
1) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 27 คน
=
24,300.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
5,250.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 27,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 15 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
27,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 31,760.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 7,940.00 บาท
=
31,760.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 43,800.00 บาท )
1) ค่าตอบแทน แรงงาน อสม. จำนวน 7 คน/12 วัน/200 บาท/คน
=
16,800.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงานนักศึกษาออกพื้นที่ 150บาท/15คน/12 วัน
=
27,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
6,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 11,500.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึกในการออกเยี่ยมบ้าน จำนวน 100 คนๆละ 50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจัดทำเล่มรายงาน จำนวน 5 เล่มๆละ 500 บาท
=
2,500.00 บาท
3) ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 40 เล่มๆละ 100 บาท
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 188,460.00 บาท