แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การศึกษาระบบสุขภาพชุมชนแบบมีส่วนร่วมและสร้างพลังชุมชนในการพัฒนาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมบ้านเวินบึก
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางทักษิณ พิมพ์ภักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ชีวสถิติ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2555 - 2557 ผู้ร่วมโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 2556-2557
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยเชิงปริมาณ การบริหารจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล
หัวหน้าโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
บ้านเวินบึก หมู่ 8 ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี มีจำนวนครัวเรือน 131 ครัวเรือน จำนวนประชากร 612 คน เป็นชาย 312 คน หญิง 300 คน อาชีพหลักของประชาชนบ้านเวินบึก คือ การทำประมง รองลงมา คือ การทำนา การหาของป่าขายตามแต่ฤดูกาล และอาชีพรับจ้างทั่วไป บ้านเวินบึก ดำรงชีวิตแบบดั้งเดิมของชาวชนบท มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความรักสามัคคี ยึดถือขนมธรรมเนียมประเพณี อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม มีพุทธศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ นับถือ และให้ความเคารพผู้นำ ชาวบ้านมีความสามัคคีเป็นทุนทางสังคมอันมีคุณค่าอนันต์ยิ่ง ค้นหาปัญหาเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ขยันทำมาหากิน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ค้นคว้าหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและชุมชน ชาวบ้านบ้านเวินบึก ได้อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรม และประเพณีเก่าแก่มาแต่ครั้งโบราณ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ร่วมกันรักษาไว้ เช่น เลี้ยงปู่ตา บุญมหาชาติ บุญข้าวจี่ บุญข้าวสาก บุญแห่เทียนพรรษา บุญกฐิน ประเพณีลอยกระทง และสงกรานต์ เป็นต้น ชาวบ้านได้ให้ความสนใจ และความร่วนมือในการเข้าร่วมกิจกรรมทางการศาสนาวัฒนธรรมประเพณีเป็นประจำตลอดมา ทางด้านระบบสุขภาพชุมชน บ้านเวินบึกระบบสุขภาพของชุมชนในปัจจุบันนี้ มีการเป็นอยู่แบบธรรมดาโดยทั่วไปแล้วมักจะยึดปฏิบัติตามแต่นานมาแล้ว นอกจากนี้ในหมู่บ้านยังมีวัฒนธรรมจากหลายชนเผ่า และเป็นลักษณะชุมชนแบบปิด ทำให้ยังผลทำให้การได้รับบริการในสถานบริการสุขภาพยังไม่ทั่วถึง และเป็นชุมชนที่ต้องการการศึกษาระบบสุขภาพชุมชน เพื่อส่งเสริมสุขภาพ วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข เป็นหน่วยงานที่ผลิตบัณฑิตทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ และมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพให้แก่ประชาชน รวมไปถึงการป้องกันการเกิดโรคด้วยดังนั้นเพื่อเป็นการให้บริการความรู้พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง ที่ยังเป็นปัญหาสุขภาพของประชาชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี วิทยาลัยฯ จึงเสนอโครงการบูรณาการความรู้ด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนในเขตจังหวัดอุบลราชธานี และประยุกต์ความรู้ดังกล่าวให้กับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อนำความรู้ที่ได้แก้ไขพฤติกรรมที่นำไปสู่การป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ให้กับประชาชนสามารถควบคุมและป้องกันไม่ให้มีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้น สามารถทำงานและดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข ตลอดจนสร้างความเชื่อด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สอดคล้องกับวัฒนธรรมและบริบทของชุมชน เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อประเมินสภาวะสุขภาพในกลุ่มต่างๆของชุมชนบ้านเวินบึก
2.เพื่อจัดเวทีประชาคมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปัญหาและผลกระทบทางด้านสุขภาพ ตลอดจนหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพ และสิ่งแวลดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในชุมชน
3.เพื่อดำเนินการกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคหรือปัญหาสุขภาพ โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.ประชาชนที่อาศัยอยู่ หมู่บ้านเวินบึก หมู่ที่ 8 ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี 2.นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์) ชั้นปีที่ 4 3.อาจารย์และบุคลากรวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2.จัดเวทีประชาคมแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาสุขภาพในชุมชน 3.ดำเนินการสำรวจสภาวะสุขภาพในกลุ่มต่างๆของชุมชนบ้านเวินบึก 4.ดำเนินกิจกรรมหรือโครงการเพื่อไขปัญหาด้านสุขภาพในชุมชน 5.ประเมินผลกิจกรรม 6.จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง -- --- --- --- 9,400.00
2.ดำเนินการวินิจฉัยชุมชน และทำประชาคมร่วมกับชุมชน -- --- --- --- 16,600.00
3.จัดกิจกรรมและโครงการย่อย เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพร่วมกับชุมชน -- --- --- --- 99,000.00
4.ประเมินผลการจัดกิจกรรม -- --- --- --- 1,000.00
5.จัดรายงานผลการดำเนินงานโครงการ -- --- --- --- 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556 รวมเวลา 8 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09.45 ข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนบ้านเวินบึก นายพิทักษ์ พรหมดี
16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09.00 ลงทะเบียน ทีมวิทยากร
16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
10.31 น.– 12.00 น. ดำเนินการประชาคมหมู่บ้าน ค้นหาปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในชุมชน นายพิทักษ์ พรหมดี และคณะ
16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
12.00 – 13.00 น รับประทานอาหารกลางวัน
16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
13.00 -17.00 น. ดำเนินการ ออกสำรวจข้อมูลของชุมชน นายพิทักษ์ พรหมดีและคณะ
17 ตุลาคม พ.ศ. 2557
08.30 - 16.30 ปฏิบัติงานโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามแผนการดำเนินการ นักศึกษาร่วมกับชุมชน และคณาจารย์จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ฯ
22 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09.00 - 16.30 น. สรุปโครงการและนำเสนอข้อมูลคืนแก่ชุมชน ทีมวิทยากร
23 ตุลาคม พ.ศ. 2557
09.00 เป้นต้นไป พิธีปิด บายศรีสู่ขวัญ อำลาชุมชน เดินทางกลับมหาวิทยาลัยโดยสวัวดิภาพ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ช่วยลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาลและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ในการดูแลผู้ป่วย ในชุมชน
ด้านสังคม : -เกิดเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ -มีเครือข่ายในการทำงานร่วมกับชุมชน ทั้งระดับหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุข
ด้านสิ่งแวดล้อม : -การรักษาและปรับปรุง สภาพแวดล้อมในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของการมีสุขภาพที่ดี ของประชาชน
ด้านอื่นๆ : -การเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ทำงานกับชุมชน และเป็นการทำงานเชิงรุกในการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งเป็นเหตุที่จะทำให้การลดต้นทุนในการรักษาพยาบาลลดลง อีกทางหนึ่ง

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1902 401 การวินิจฉัยชุมชน
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศษสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของเนื้อหาที่สอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 100 ของจำนวนนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวน 4 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 20,640.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 3,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 17,040.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,040.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
5,040.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 93,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 7 คืน x จำนวน 6 ห้อง x ห้องละ 400.00 บาท
=
16,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,500.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
12,250.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
3,250.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 46,500.00 บาท )
1) จำนวน 7 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
36,750.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 75.00 บาท x จำนวน 65 คน
=
9,750.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 7,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 4 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 7,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 7,600.00 บาท
=
7,600.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 13,760.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 13,760.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
7,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
4,260.00 บาท
=
4,260.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 128,000.00 บาท