แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เสวนาเพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ ปีที่ 2
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กีฎวิทยา
ประสบการณ์ : การควบคุมแมลงผัก และศัตรูข้าว การควบคุมแมลงศัตรูพืชโโดยชีววิธี
ความเชี่ยวชาญ : การควบคุมแมลงศัตรูพืช การควบคุมแมลงศัตรูพืชโโดยชีววิธี
หัวหน้าโครงการ
นายประสิทธิ์ กาญจนา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์)
ประสบการณ์ : 1.หัวหน้าโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพารา 10 ปีทำงานวิจัยทางด้านยางพารา 8 ปีที่ปรึกษานิคมยางพาราในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกรรมการตรวจการจ้างต้นพันธุ์ยางพาราของกรมวิชาการเกษตรกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพาราของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ปรึกษากลุ่ม/เครือข่ายยางพาราจังหวัดอุบลราชธานีวิทยากรทางด้านยางพารากรรมการหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯและเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ 2.หัวหน้าโครงการวิจัยปาล์มน้ำมัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : 1.ระบบการผลิตยางพารา 2.ระบบตลาดยางพารา 3.ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
การผลิตข้าวอินทรีย์ ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย เนื่องจากมีความต้องการภายในประเทศเพราะเป็นอาหารหลักของผู้บริโภค และยังเป็นสินค้าส่งออกไปยังต่างประเทศ การผลิตข้าวมีพื้นที่ผลิตกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิ ที่มีคุณภาพนั้น พบอยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ปัจจุบัน การปลูกข้าวของเกษตรกรส่วนใหญ่ มักปลูกข้าวพันธุ์ที่มีความต้องการของตลาดในปริมาณสูง เช่น ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าว กข. 6 กข. 10 ซึ่งการผลิตข้าวในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างนั้นพบว่าประสบปัญหาสภาพดินขาดความอุดมสมบูรณ์ การจัดการเรื่องน้ำที่ส่วนใหญ่เป็นนาน้ำฝน การควบคุมเรื่องโรค และแมลงศัตรูข้าว การกำจัดวัชพืช เพื่อให้ได้ผลผลิตข้าวที่ได้คุณภาพดี และมีปริมาณผลผลิตต่อไร่ที่สูง เกษตรกรส่วนใหญ่หันไปพึ่งพาการใช้สารเคมีทางการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่จะพบปัญหาการผลิตข้าวในที่ใช้สารเคมีทางการเกษตร ได้ผลผลิตลดลงในระยะยาว เนื่องจากสภาพดินที่เปลี่ยนแปลงไป ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง ปัญหาการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช ที่เพิ่มขึ้น ทำให้ผลผลิตลดลงและมีผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม และเกิดปัญหาการระบาดของศัตรูพืชชนิดใหม่ ศัตรูธรรมชาติถูกทำลายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ดังจะเห็นได้จากผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของข้าวในพื้นที่อีสาน ประมาณ 350-500 กิโลกรัมต่อไร่ ปัจจุบันการทำการเกษตรของเกษตรกร จำเป็นต้องพึ่งพาปัจจัยในการผลิตพืชจำนวนมาก เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงตามความต้องการของตลาด อีกทั้งเกษตรกรได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตพืชเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม เช่น ความต้องการอาหารที่มีสูงขึ้น มีความต้องการอาหารที่ปลอดภัยจากสารพิษตกค้างต่าง ๆ ดังนั้น การเพิ่มผลผลิตข้าวในนาพื้นที่ภาคอีสานที่มีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ และการลดการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูข้าว หรือสารเคมีทางการเกษตร อีกทั้งการใช้ข้าวพันธุ์พื้นเมือง เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และส่งเสริมให้เกษตรกรพึ่งพาตนเองมากขึ้น สามารถผลิตปัจจัยการผลิตได้เอง เช่น ปุ๋ย น้ำหมัก และสามารถจัดการด้านการปลูก การดูแลรักษา และได้ผลผลิตที่มีปริมาณสูงขึ้น อีกทั้งไม่มีสารเคมีตกค้างในผลผลิตจึงเป็นการวางแผนการผลิตพืชอย่างปลอดภัย เพื่อเป็นการชี้ให้เกษตรกรเห็นถึงพิษภัยของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหากใช้ไม่ถูกต้องเหมาะสม แนวทางในการกำจัดศัตรูพืชด้วยวิธีการต่าง ๆ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี และสามารถผลิตพืชปลอดภัยได้อย่างเหมาะสม โดยในปีงบประมาณ 2557 คณะเกษตรศาสตร์ได้จัดการเสวนา การเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ "ผลิตอย่างไรได้เป็นตัน" เพื่อเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้จากการวิจัยในการผลิตเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ให้แก่เกษตร จากจังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ และร้อยเอ็ด ในระหว่างวันที่ 7-8 พฤศจิกายน 2556 ซึ่งเกษตรกรให้ความสนใจในกิจกรรมดังกล่าว โดยได้ให้ความเห็นว่าน่าจะมีการขายองค์ความรู้ ไปยังกลุ่มเกษตรกร อื่นๆ และเพื่อให้เกษตรกรที่เข้าอบรมได้ไปทำและได้นำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในปีต่อไป ดังนั้นทางคณะผู้จัดกิจกรรมจึงเห็นว่าหากมีการจัดกิจกรรมดังกล่าวต่อเนื่อง จะสามารถขยายกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตข้าวอินทรีย์ และเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และก่อให้เกิดเครือข่ายเกษตรกร ผู้ผลิตข้าวอินทรีย์ก็จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในอนาคต

วัตถุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการผลิตข้าว เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวในนาอีสาน
2.เพื่อถ่ายทอดเทคนิคจัดการธาตุอาหาร การปรับปรุงดิน การควบคุม โรค แมลง และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อผลิตข้าวที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และเกษตรกร
3.เป็นการบูรณาการงานวิจัยด้านการการผลิต การอนุรักษ์พันธุ์ข้าว และการจัดการด้านปุ๋ย การควบคุมศัตรูพืช และการถ่ายทอดความรู้สู่การบริการวิชาการแก่เกษตรกร ชุมชนและท้องถิ่น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรผู้ปลูกข้าว จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดอำนาจเจริญ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 ประสานงานกับกลุ่มเกษตรกร ปลูกข้าว ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อกำหนดหัวข้อในการอบรม ตามความสนใจ เพื่อเป็นการเสริมความรู้ให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้ตรงความต้องการ 1.2 ประชุมร่วมวิทยากร และคณะทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการอบรม 1.3 ดำเนินการเสวนา 1.4 สรุปผลการเสวนา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ประสานงานกับกลุ่มเกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อกำหนดหัวข้อในการอบรม ตามความสนใจ เพื่อเป็นการเสริมความรู้ให้เกษตรกรกลุ่มเป้าหมายได้ตรงค -- --- --- --- 30,000.00
2.2. ประชุมคณะ ทำงาน -- --- --- --- 5,000.00
3.ดำเนินกิจกรรม - --- --- --- 169,300.00
4.สรุปผลการดำเนินกิจกรรม -- -- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
8.00-9.00 ลงทะเบียน
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-12.00 การเพิ่มผลผลิตข้าวอินทรีย์ รศ. ดร. นันทิยา หุตานุวัตร/ผศ. ดร. มานัส ลอศิริกุล/นางสาวนพมาศ นามแดง/ดร. สุกัญญา คลังสินศิริกุล
5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
13.00-16.00 การเพิ่มผลผลิต การปรับปรุงดิน และการใช้จุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน นางสาวมนต์ระวี พีราวัชระ นักวิชาการชำนาญการกรมพัฒนาที่ดิน
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-12.00 การพัฒนาตลาดข้าวพื้นเมืองอินทรีย์ SME
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
13.00-16.00 แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ข้าวอินทรีย์ คณาจารย์สาขาเทคโนลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ร่วมโครงการสามารถเพิ่มผลผลิต พึ่งพาตนเองในการจัดการปัจจัยการผลิตเช่น ปุ๋ย น้ำหมัก และการกำจัดศัตรูพืช ลดรายจ่ายจากการพึ่งพาสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และยังเป็นแนวทางการผลิตข้าวอินทรีย์ หรือปลอดสารพิษเพื่อเพิ่มรายได้ เนื่องจากการจำหน่วยผลผลิตในกลุ่มปลอดสารพิษ
ด้านสังคม : ประชาชน กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เกิดความปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และตัวเกษตรกร เนื่องจากการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพื
ด้านอื่นๆ : เกิดการประสานงานกลุ่มเครือข่ายผู้ผลิตข้าวอินทรีย์

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กีฎวิทยาเบื้องต้น
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษามีความรู้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ และการควบคุมศัตรูพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 45,300.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 10,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
10,500.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 95,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 52,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
40,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 3 ห้อง x ห้องละ 1,500.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 150 มื้อ x มื้อละ 2.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 2500 วัน x ราคา 2 บาท/คัน/วัน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมารถนำเกษตรกร เข้าร่วมกิจกรรม
=
8,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 28,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
100 คน x 50.00 บาท
=
5,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,400.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
3,400.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 169,300.00 บาท