แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน ปีที่ 4”
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.อารีรัตน์ ลุนผา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สัตวศาสตร์ (วิชารองพืชไร่)
ประสบการณ์ : - เจ้าหน้าที่วิจัยโครงการพืชอาหารสัตว์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2543-2549 - อาจารย์ประจำภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ ม.อุบลราชธานี ปี 2550-ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : - พืชอาหารสัตว์ การจัดการทุ่งหญ้า และอาหารสัตว์
หัวหน้าโครงการ
นายประพนธ์ บุญเจริญ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชศาสตร์(การผลิตพืชไร่ )
ประสบการณ์ : 1.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ แบบยั่งยืน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2.การวิจัยด้านการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง 3.การวิจัยด้านเทคนิคการจัดการพืชอาหารสัตว์ ในสภาพแปลงหญ้าผสมถั่วพืชอาหารสัตว์
ความเชี่ยวชาญ : ด้านพืชอาหารสัตว์ และด้านการผลิตข้าว
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D.(Animal Production) Humboldt-Universitat zu Berlin BerlinGermany.2002. วท.ม.(เกษตรศาสตร์) สัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย.2532. วท.บ.(เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่นประเทศไทย.2529.
ประสบการณ์ : - โครงการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาอาชีพการปลูกหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี - ประธานหลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท - โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดอุบลราชธานี - โครงการการพัฒนาโจทย์วิจัยเรื่องปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงธุรกิจเกษตรแบบมีพันธะสัญญาระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสัก
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวนพมาศ นามแดง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายวันชัย อินทิแสง คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สัตวศาสตร์
ประสบการณ์ : 17
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตดคนม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันนี้ทางภาครัฐได้มีนโยบายที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรทุกกลุ่ม/หมู่เหล่าและทุกชุมชนได้หันมาทำการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมในรูปแบบที่เพิ่มมูลค่าสิ้นค้าต่อหน่วย เพื่อให้ทุกกลุ่ม/ชุมชนสามารถประกอบอาชีพและมีรายได้พึ่งพาตนเองได้ รวมทั้งสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมชุมชน และมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันอย่างยั่งยืน อีกทั้งเป็นแนวทางหนึ่งที่จะจัดเตรียมความพร้อมของเกษตรกรให้มีความรู้ทางด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อจำหน่ายทั้งในรูปผลิตผลหญ้าแห้ง หญ้าหมัก และการผลิตเมล็ดพันธ์ ต้นกล้าพันธุ์ เพื่อการพัฒนาทางด้านอาชีพและผลิตอาหารหยาบคุณภาพดีให้เพียงพอสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ในอนาคต อันเป็นการลดการใช้อาหารข้นราคาแพง และเป็นการลดการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ รวมทั้งมีการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายและส่งเสริมให้เกษตรกรของประเทศไทยมีรายได้ดีขึ้น และมีความเป็นอยู่ที่ดี กินดีอยู่ดี อนึ่งในช่วงระยะเวลา ปี 2554 การดำเนินการโครงการฯ การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่ เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ โคและกระบือ ผู้ปลูกหญ้าขาย และหน่วยงานต่างๆ จำนวน 115 คน ประกอบด้วย 1) การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ณ ศาลากลางบ้าน หมู่บ้านวังอ่าง ตำบลหนองแสงใหญ่ อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 21–22 มีนาคม 2555 เป็นเวลา 2 วัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯจำนวน 55 คน และ2) จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการฯ ณ ศาลาการเปรียญวัดบ้านฝางเทิง หมู่บ้านฝางเทิง ตำบลฝางคำ อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ในระหว่างวันที่ 25–26 เมษายน 2555 เป็นเวลา 2 วัน มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯจำนวน 60 คน เกษตรกรได้ความรู้ด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์ ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งเน้นให้เกษตรกรได้รับความรู้ด้านการปลูกและจัดการแปลงทุ่งหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์ ให้สามารถนำไปใช้ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อันจะส่งผลต่อการลดปัญหาการขาดแคลนหญ้าพืชอาหารสัตว์ และลดต้นทุนการผลิตซึ่งเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร สนับสนุนโครงการของรัฐบาลที่ส่งเสริม “ การเลี้ยงโคและกระบือไว้ใช้งานและเป็นธนาคารออมสินแก่เกษตรกร” และเป็นการเผยแพร่งานด้านวิชาการแก่ชุมชน ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การดำเนินการจัดฝึกอบรมฯควรจัดในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน ของทุกปี สำหรับการจัดฝึกอบรมครั้งนี้มีความเหมาะสมทั้งช่วงเวลา สถานที่ รูปแบบการจัดฝึกอบรมฯ วิทยากร สื่อการเสนอภาคบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ปฏิบัติงานภาคสนาม อาหารและอาหารว่าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 86.50 ส่วนการประเมินภายหลังการฝึกอบรมฯ พบว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มในจังหวัดอุบลราชธานี ได้ทำการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงโคเนื้อและกระบือ คิดเป็นร้อยละ 98.50 และเกษตรกรมีพื้นที่สำหรับการปลูกสร้างแปลงหญ้าเฉลี่ย 2.54 ไร่ต่อฟาร์ม มีโคและกระบือ เฉลี่ย 4.50 ตัวต่อครัวเรือน จากการสัมภาษณ์และสอบถามข้อมูลของเกษตรผู้เลี้ยงโคและกระบือ พบว่า เกษตรกรมีทัศนคติที่ดีต่อการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ เนื่องจากปศุสัตว์ที่เกษตรกรเลี้ยงมีสุขภาพดีขึ้น และที่สำคัญการปลูกหญ้าช่วยทำให้การเลี้ยงโคและกระบือ มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น ช่วยลดเวลาและแรงงานที่ออกไปทำการเกี่ยวหญ้าธรรมชาติมาเลี้ยงได้เป็นอย่างมาก และ สามารถมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนมากขึ้น กลุ่มเกษตรกรที่ผ่านการฝึกอบรมฯ สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มากกว่าร้อยละ 90 และการมีรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ยังไม่เกิดมูลค่าจากการจำหน่ายขึ้น โดยเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมฯไปลดค่ายใช้จ่ายในด้านการจัดซื้ออาหารหยาบเสริม ประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน( ร้อยละ 83 ) ขณะที่ในด้านคุณภาพชีวิตซึ่งสามารถประมาณเป็นตัวเงินได้ 2,500 – 3,000 บาทต่อเดือน และเป็นการนำความรู้ไปใช้พัฒนาอาชีพ ซึ่งได้นำความรู้ไปพัฒนาใช้หลังการอบรมภายใน 1 เดือน (ร้อยละ 86) ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปใช้ในครอบครัว (ร้อยละ 78) ด้านสุขภาพสัตว์ พบว่า ปศุสัตว์ที่เลี้ยงมีความอ้วน สีผิวมัน และน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เมื่อเปรียบเทียบ กับสุขภาพสัตว์ก่อนการให้กินหญ้าสดที่ได้จาก แปลงปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ โดยมีราคาโคเนื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20 บาทต่อตัวต่อวันต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จากการศึกษาแบบสำรวจ ยังพบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์โคเนื้อ มีความสนใจและตั้งใจ ที่จะพัฒนาทุ่งหญ้าพืชอาหารสัตว์ แต่ยังมีปัจจัยที่สำคัญที่มีต่อการพัฒนาทุ่งหญ้าพืชอาหารสัตว์ของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี มีดังต่อไปนี้ จากผลการประเมิน ของโครงการบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน ชื่อโครงการ “การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน ปีที่ 3” พบว่า ด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการนั้น มีระดับความคิดเห็นมาก - มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 37.31 ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีระดับความคิดเห็น มาก - มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 45 ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีระดับความคิดเห็น มาก - มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 40 และด้านคุณภาพการให้บริการ มีระดับความคิดเห็นมาก - มากที่สุด มากกว่าร้อยละ 42 ซึ่งจากระดับความคิดเห็นดังกล่าว เป็นแนวทางการประเมินที่สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนาโครงการบริการวิชาการแก่สังคมชุมชน ให้มีความเหมาะสมและเป็นที่ต้องการของสังคมอย่างแท้จริงต่อไป และเห็นควรให้มีการดำเนินจัดฝึกอบรม มากกว่าร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับฝึกอบรมฯที่ส่งแบบสอบถาม ทั้งนี้เพราะสามารถเพิ่มพูนความรู้ให้แก่เกษตรกร จากระดับปานกลางถึงมากคิดเป็นร้อยละ 60 การดำเนินการจัดฝึกอบรมควรจัดในช่วงเดือน มกราคม ถึง เมษายน ของทุกปี สำหรับการจัดฝึกอบรมครั้งนี้มีความเหมาะสมทั้งช่วงเวลา สถานที่ รูปแบบการจัดฝึกอบรมฯ วิทยากร สื่อการเสนอภาคบรรยาย วัสดุอุปกรณ์ปฏิบัติงานภาคสนาม อาหารและอาหารว่าง คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 82 ของผู้เข้ารับฝึกอบรมที่ส่งแบบสอบถาม และการประเมินภายหลังการฝึกอบรมฯ พบว่า กลุ่มเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ คิดเป็นร้อยละ 86 และมีรายได้เสริมจากการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ ประมาณ 2,000 – 4,000 บาทต่อเดือน( ร้อยละ 73 ) โดยเกษตรกรได้นำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมฯไปลดค่ายใช้จ่ายในด้านการจัดซื้ออาหารหยาบเสริม ประมาณ 1,000-2,000 บาทต่อเดือน( ร้อยละ61 ) ขณะที่ในด้านคุณภาพชีวิตซึ่งสามารถประมาณเป็นตัวเงินได้ 2,000 – 3,000 บาทต่อเดือน และเป็นการนำความรู้ไปใช้พัฒนาอาชีพ ซึ่งได้นำความรู้ไปพัฒนาใช้หลังการอบรมภายใน 1 เดือน (ร้อยละ 86) ซึ่งเป็นการนำความรู้ไปใช้ในครอบครัว ( ร้อยละ75 ) อนึ่งในปี พ.ศ. 2550/2551 ที่ผ่านมา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ทำการศึกษาวิจัยทางด้านเทคนิคการปรับปรุงผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะของหญ้าพืชอาหารสัตว์ในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง,ดินทราย โดยได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ(วช.) ซึ่งได้ทำการวิจัยมุ่งเน้นพัฒนาการปลูกถั่วและหญ้าพืชอาหารสัตว์ที่มีความสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง และการจัดการเกี่ยวกับการตัดเก็บเกี่ยวแปลงหญ้าพลิแคทูลัมพืชอาหารสัตว์ ทั้งนี้เพราะว่าในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของหญ้าพลิแคทูลัม ที่เป็นหญ้าที่มีการปรับตัวและเจริญเติบได้ดีในสภาพพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง สามารถให้ผลผลิตและคุณค่าทางโภชนะดี ถ้ามีการจัดการที่เหมาะสมทั้งหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์ ในหลายปีที่ผ่านมาทางคณะเกษตรศาสตร์ ได้มีการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเป็นอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ในครัวเรือน ซึ่งจากการประเมินผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรให้ความสนใจในการปลูกสร้างแปลงหญ้าเพื่อเลี้ยงปศุสัตว์เป็นจำนวนมาก และมีการเลี้ยงโคและกระบือ เพื่อไว้ใช้งานและขุนไว้ขายเป็นรายได้เสริม แต่เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตว์เกือบทุกรายได้ประสบปัญหาขาดแคลนพืชอาหารสัตว์ทั้งในช่วงหน้าฝนและหน้าแล้ง รวมทั้งพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ว่างเปล่าที่ใช้เลี้ยงสัตว์เหลือน้อยลงมาก อันเป็นผลมาจากการขยายตัวและพัฒนาทางด้านภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกษตรกรต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปเกี่ยวหญ้าในที่ๆห่างไกล เพื่อนำมาเลี้ยงโคและกระบือของตนเอง ขณะที่ถ้ากรณีเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมก็หันมาซื้ออาหารข้นที่มีราคาแพงสำหรับเป็นอาหารเสริมในการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งมีผลทำให้เกษตรกรในภูมิภาคนี้มีต้นทุนในการประกอบอาชีพทางด้านการเกษตรสูงและมีรายได้ต่ำ ดังนั้นคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อเตรียมเสบียงอาหารหยาบสำหรับเลี้ยงโคและกระบือที่ภาคการผลิตกำลังขยายตัวในขณะนี้ รวมทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรทุกกลุ่ม/หมู่เหล่า และทุกชุมชนได้หันมาทำการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมแบบเศรษฐกิจพอเพียงและยั่งยืน และเป็นการเพิ่มอาชีพให้แก่เกษตรกรที่มีศักยภาพเพียงพอ ให้สามารถสร้างรายได้และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทางคณะเกษตรศาสตร์ จึงได้จัดทำโครงการ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน” เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจในการจัดการแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์ ที่ได้ปลูกสร้างไว้แล้วมากกว่า 100 ไร่หรือ 100 รายของผู้ปลูกหญ้าจำหน่าย ให้สามารถสร้างรายได้แก่เกษตรกร และมีพืชอาหารสัตว์ที่มีคุณภาพดี และเหมาะสมต่อสภาพพื้นที่ปลูก ทั้งที่ดอนและที่ลุ่มน้ำขัง น่าจะเป็นแนวทางที่ดีสำหรับการเพิ่มผลผลิตและความคงอยู่ของทุ่งหญ้าพืชอาหารสัตว์ในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อการพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ให้มีอาชีพการผลิตหญ้าพืชอาหารสัตว์เพื่อเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน เผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยสู่สังคมชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อ กระบือ เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าพืชอาหาสัตว์และผู้สนใจทั่วไป ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ก. รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกรตามกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ จำนวน 2 กลุ่มๆ 50 คน ข. จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ การผลิตพืชอาหารสัตว์คุณภาพดีเพื่อใช้ในการเลี้ยงปศุสัตว์แบบยั่งยืน จำนวน 2 วันต่อกลุ่ม ค. ส่งเสริม และสาธิตการผลิตหญ้าพืชอาหารสัตว์ แบบเกษตรกรมีส่วนร่วม และจัดทำกลุ่มสาธิตตลาดพืชอาหารสัตว์ สาธิตในหมู่บ้านสำหรับ กลุ่มเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม ง. ติดตามตรวจเยี่ยมพื้นที่ และประเมินผลเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และผ่านการฝึกอบรม จ. วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อกำหนดแนวทางในการดำเนินงานในปีต่อ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.รับสมัครและคัดเลือกเกษตรกร -- -- --- --- 5,000.00
2.จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- -- --- 40,000.00
3.ส่งเสริมการปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์ --- --- -- -- 25,000.00
4.ติดตามตรวจเยี่ยมแปลง และประเมินผลเกษตรกร --- --- -- -- 10,000.00
5.วิเคราะห์ข้อมูล ประเมินผลการดำเนินงาน --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
23 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.30 การจัดการเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์ นายประพนธ์ บุญเจริญ และคณะ
23 มีนาคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 รับประทานอาหารเที่ยง
23 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-12.00 ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์และปศุสัตว์ไทย การจำแนกพืชอาหารสัตว์ หลักการปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ และคณะ
23 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.45-09.00 พิธีเปิดการอบรม ดร.สราญ ปริสุทธิกุล และคณะ
23 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.30-08.45 ลงทะเบียน ดร.สราญ ปริสุทธิกุล และคณะ
24 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-12.00 น. ความสำคัญของพืชอาหารสัตว์และปศุสัตว์ไทย การจำแนกพืชอาหารสัตว์ หลักการปลูกสร้างแปลงหญ้าพืชอาหารสัตว์( ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ และคณะ
24 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 น. การจัดการเกี่ยวกับพืชอาหารสัตว์(ต่อ) นายประพนธ์ บุญเจริญและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหญ้าพืชอาหารสัตว์มีรายได้ ไม่น้อยกว่า 2,000 –3,000 บาทต่อเดือน
ด้านสังคม : สร้างเครือข่ายผู้ปลูกหญ้าสำหรับจำหน่ายไม่น้อยกว่า 2 กลุ่มเกษตรกร มีเกษตรกรผ่านการฝึกอบรมด้านการผลิตพืชอาหารสัตว์ไม่น้อยกว่า 100 คน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
70
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
1000

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา พืชอาหารสัตว์ (Forage Crops)
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3, 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การจัดการพืชอาหารสัตว์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 30,240.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 21,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 21,600.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,640.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,640.00 บาท )
1) จำนวน 8 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
8,640.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 21,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 2,400.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 14,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 70.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
14,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 48,360.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 43,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
5,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
6,000.00 บาท
=
6,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
100 คน x 200.00 บาท
=
20,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 4,860.00 บาท )
1) วัสดุเกษตร
=
4,860.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท