แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมภาษาอังกฤษเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนให้กับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง อ.พิบูลมังสาหาร และ จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิิรินธร จ.อุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Linguistics
ประสบการณ์ : วิจัยในชั้นเรียน ลงพื้นที่วิจัยวิจัยภาษาศาสตร์เชิงสังคม
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาตร์เชิงสังคม สัทศาสตร์ภาษาที่สอง วัจนปฏิบัติศาสตร์ วาทกรรมวิเคราะห์
หัวหน้าโครงการ
นางสาวพฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ภาษาอังกฤษ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การสอนภาษาอังกฤษ การวิจารณ์วรรณคดี
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จังหวัดอุบลราชธานีมีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวตอนล่าง ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ทางการค้าและการท่องเที่ยวที่สำคัญในอนุภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง เพราะเป็นพื้นที่ที่มีนักลงทุน นักท่องเที่ยว และแรงงานต่างชาติ เดินทางทางเข้าออกราชอาณาจักรเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติการเดินทางเข้า-ออกของสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2554 มีชาวต่างชาติเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในจังหวัดอุบลราชธานีโดยนับขาเข้าเป็นจำนวน 142,231 คนและขาออกจำนวน 115,540 คนและ จำนวนดังกล่าวน่าจะมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี และคาดว่าจำนวนชาวต่างชาติที่จะเดินทางเข้าออกตามพื้นที่ชายแดนในจังหวัดอุบลราชธานีจะเพิ่มมากขึ้นหลังจากประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งจะส่งผลดีต่อการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมของคนในพื้นที่และประเทศไทยโดยรวม หน่วยงานของรัฐในแถบพื้นที่ชายแดนที่จะมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนและการท่องเที่ยวเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทยคือ ด่านตรวจคนเข้าเมืองและจุดผ่านแดนถาวร ซึ่งเป็นพื้นที่ราชการพื้นที่แรก (contact zone) ที่คนจากสองวัฒนธรรมเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน จังหวัดอุบลราชธานีมีด่านตรวจคนเข้าเมืองทั้งหมด 3 ด่าน ในอำเภอพิบูลมังสาหาร อำเภอโขงเจียม และอำเภอเขมราฐ และมีจุดผ่านแดนถาวร 3 แห่ง ที่ ช่องเม็ก อำเภอสิรินธร บ้านปากแซง อำเภอนาตาล และสนามบินนานาชาติอุบล เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานเหล่านี้จะเป็นฟันเฟืองสำคัญที่เอื้อให้เกิดความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ซึ่งเป็นเป้าประสงค์หลักของประชาคมอาเซียน เนื่องจากผู้รับบริการที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและจุดผ่านแดนถาวรไม่ได้มีเฉพาะชาวไทย หรือชาวลาว ที่สามารถใช้ภาษาไทย ภาษาลาว หรือภาษาท้องถิ่นอีสานในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองเท่านั้น หากแต่ยังมีชาวต่างชาติอื่นๆ เช่น ชาวยุโรป อเมริกา จีน หรือ ญี่ปุ่น ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการติดต่อกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งในบางครั้งการสื่อสารผ่านภาษาอังกฤษที่ขาดประสิทธิภาพอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างเจ้าหน้าที่ชาวไทยกับผู้รับบริการชาวต่างชาติ เช่น ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการไม่คุ้นชินสำเนียงของอีกฝ่าย ซึ่งมีความแตกต่างหลากหลายไปตามเชื้อชาติหรือภูมิหลังด้านอื่นๆของผู้สื่อสาร ในบางกรณีทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการชาวต่างชาติขาดทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษ ขาดความเข้าใจในการรับรู้ สื่อสารด้วยภาษาใบ้ อุปสรรคเหล่านี้ทำให้การสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่ให้บริการชาวไทยและผู้รับบริการชาวต่างประเทศไม่บรรลุวัตถุประสงค์และไม่ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอย่างอีกอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในการสื่อสารผ่านภาษาอังกฤษระหว่างเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและชาวต่างชาติคือ การขาดความเข้าใจและตระหนักรู้ถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอาจมีความคิดว่าการที่ชาวต่างชาติถามคำถามเรื่องต่างๆบ่อยๆ คือการท้าทายอำนาจเจ้าหน้าที่ ในขณะที่เจ้าหน้าที่เองอาจมีข้อจำกัดในการสื่อสารภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติ จึงทำให้ท่าทางและการแสดงออก เช่น การตอบคำถามสั้นๆ หรือ เลี่ยงการตอบคำถามนั้นๆ อาจถูกนำไปตีความว่าเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองขาดจิตบริการ ดังนั้น คณะผู้ดำเนินโครงการจึงมีความประสงค์ที่จะจัดการบริการวิชาการ การอบรมการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในบริบทระหว่างวัฒนธรรมให้กับเจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองและจุดผ่านแดนถาวรในพื้นที่ชายแดนจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน ซึ่งการอบรมดังกล่าวนี้ถือเป็นการต่อยอดงานวิจัย"การศึกษาปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองและชาวต่างชาติที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอำเภอสิรินธรและอำเภอโขงเจียม" ซึ่งเน้นไปที่สองประเด็นปัญหาคือ ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการติดต่อสื่อสารกับผู้รับบริการชาวต่างชาติ และการตระหนักรู้ความแตกต่างทางวัฒนธรรม คณะผู้ดำนเนินโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหากเจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพในสองด้านนี้แล้วจะช่วยให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองดำเนินงานภายใต้วิสัยทัศน์ที่ว่า “บริการอย่างเต็มใจ สร้างสังคมไทยให้มั่นคง ดำรงความเป็นอาเซียน” (“Willing to Serve, Secure Thai Society and Leading ASEAN”) ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งปฏิบัติตามพันธกิจของสำนักงานที่เน้นด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับเป้าประสงค์หลักของประชาคมอาเซียน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับชุมชนและหน่วยงานอื่นๆของรัฐ
2.เพื่อเพิ่มพูนทักษะภาษาอังกฤษและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมแก่เจ้าหน้าที่ทางการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
เจ้าหน้าที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง อ.พิบูลมังสาหาร และ จุดผ่านแดนถาวรช่องเม็ก อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดเตรียมข้อมูลและเอกสารทำการอบรม จัดการอบรมการใช้ภาษาอังกฤษในบริบทระหว่างวัฒนธรรม 24 ชั่วโมง สรุปผลและประเมินผลการอบรม

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมเอกสารและเนื้อหาสำหรับการอบรม จัดการอบรมให้กับเจ้าหน้าเป็นเวลา 24 ชั่วโมง --- --- --- - 80,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 - 30 สิงหาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 334 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
13.00-16.00 Discussing demographic information ดร.ราม ประสานศักดิ์, ดร.จิราภรณ์ สมิธ
3 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Offering help ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์, ดร.ราม ประสานศักดิ์
10 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Discussing problems ดร.เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์, ดร.ราม ประสานศักดิ์
17 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Making polite request อ.พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์,
24 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Making comments ดร.จิราภรณ์ สมิธ, อ.พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Greeting ดร.ราม ประสานศักดิ์
16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Making Suggestion อ.พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์,
23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 Solving intercultural miscommunication ดร.จิราภรณ์ สมิธ, อ.พฤกษพรรณ บรรเทาทุกข์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองได้รับการพัฒนา และลดปัญหาเชิงการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมระหว่างเจ้าหน้าที่คนไทยกับชาวต่างชาติ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการได้เพิ่มพูนทักษะทางด้านภาษาอังกฤษและการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,900.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 23,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 23,400.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
5,400.00 บาท
2) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,500.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 30,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 30,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 10 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,100.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 8,600.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
9,200 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,600.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุตำรา
=
3,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 70,000.00 บาท