แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รุ่นที่ 5
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้ การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินหรือปลูกพืชไร้ดิน (soilless culture) หรือการปลูกพืชแบบไฮโดรโพนิกส์ (hydroponics) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากวิธีการนี้แก้ไขปัญหาอุปสรรคที่สำคัญของการปลูกพืชใช้ดิน (soil culture) อาจทำให้เกิดปัญหา การเสื่อมสภาพของดินที่ขาดการบำรุงให้คงสภาพความสมบูรณ์ของปุ๋ยให้ครบทุกธาตุ รวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีดิน ความเป็นกรดด่างดิน หรือความเป็นเกลือ ดินเค็ม ดินเปรี้ยว ทำให้กระทบต่อประสิทธิภาพการใช้ปุ๋ยลดลง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงตามราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ดังนั้นได้มีการนำความรู้เรื่องประสิทธิภาพของปุ๋ยเมื่อปลูกแบบไม่ใช้ดิน การปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ด้วยมีข้อดีหลายประการ ได้แก่ สามารถปลูกได้ทุกพื้นที่โดยไม่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ดิน โดยสร้างสภาพโรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อม ลดปัญหาการป้องกันโรคและแมลงศัตรูพืชที่มากับดิน การสร้างตาข่ายโดยรอบโรงเรือนปลูกทำได้ง่ายเพื่อการทำลายวงจรชีวิตโรค แมลงศัตรูพืช ในระยะต่าง ๆ ตั้งแต่ระยะสร้างสปอร์หรือแมลงระยะไข่อ่อน ตัวอ่อน ตัวแก่ เป็นต้น ทำให้สามารถผลิตพืชให้ปลอดภัยจากสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช และทำเป็นการค้าผักปลอดสารพิษบางชนิด เป็นที่ต้องการของตลาดภายในและส่งออกต่างประเทศ ถ่ายทอดความรู้วิชาการที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืชไร้ดิน โดยการสร้างศูนย์เครือข่ายถ่ายทอดความรู้โดยใช้ต้นแบบจาก สถานการศึกษา โรงเรียน และหน่วยงานที่มีบุคลากร ครูอาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รับผิดชอบนั้นจะสามารถสร้างเป็นศูนย์เรียนรู้แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการปลูกพืชไร้ดินไปสู่เกษตรกร และยังนำไปบูรณาการสอนประยุกต์ประกอบการเรียนการสอน เช่น วิทยาศาสตร์ ในวิชาชีววิทยา เนื้อหา เช่นการการเจริญเติบโตของพืชตั้งแต่ระยะเมล็ดงอก ระยะต้นกล้า และเจริญเติบโตในสภาพรากแช่น้ำสามารถเจริญเติบโตกิ่งใบ ออกดอก ผล ใช้บริโภคได้ ทั้งนี้ใช้น้ำที่มีคุณสมบัติทางเคมีของปุ๋ย ความเป็นกรด่าง ความเข้มข้นสารละลาย ดังนั้นวิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ของน้ำ จึงจำเป็นต้องเข้ามาเกี่ยวข้องในสารละลาย เป็นต้น กลุ่มเป้าหมายผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการแล้วเสร็จคาดว่าจะสามารถรับความรู้ โดยเฉพาะความรู้เรื่องปุ๋ยเคมี สูตรปุ๋ย สามารถเลือกชนิดปุ๋ย สัดส่วน สูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับระยะเวลาเจริญเติบโตของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ได้ผลผลิตตามต้องการได้สูงกว่าการปลูกพืชใช้ดินทำให้ได้ผลผลิตพืชสูง ภายในข้อจำกัดคือการประหยัดเวลา ผลิตได้หลายรุ่น ผลิตได้ตลอดปี รวมทั้งต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลงจากการเตรียมดิน การกำจัดวัชพืช ทำให้การปลูกพืชไม่ใช้ดินจึงเป็นที่น่าสนใจแก่เกษตรกร โดยเฉพาะความรู้เรื่องปุ๋ยเคมี การจัดการ สูตรปุ๋ย ซึ่งมีการพัฒนาเป็นการค้าและหาซื้อง่ายกระจายทั่วประเทศอย่างแพร่หลาย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้สนใจในการประกอบอาชีพด้านนี้ จึงจัดโครงการฝึกอบรมชิงปฏิบัติการเรื่อง “การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน รุ่นที่ 5

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อผลิตบุคคลากรและการสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน
2.2. เพื่อเผยแพร่ความรู้การปลูกพืชไร้ดิน ด้านวิทยาศาสตร์ทางชีววิทยากับเคมี ฟิสิกส์ ของน้ำและเคมีของธาตุอาหาร ให้แก่หน่วยงานรัฐ เอกชน ศูนย์ศึกษาชุมชนและโรงเรียน
3.3. เพื่อเผยแพร่ความรู้จัดการผลิตพืชทางการเกษตรอย่างมีความก้าวหน้าอย่างมีนวัตกรรมนำสมัย ด้านการจัดการปุ๋ย ชนิดและประมาณ สัดส่วนสูตรปุ๋ยที่นิยมอย่างเหมาะสมกับชนิดและระยะการเจริญเติบโตพืช อย่างมืออาชีพ
4.4. เพื่อเผยแพร่แหล่งข้อมูลข่าวสารในการผลิตพืชบริโภคปลอดสารพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
5.5. เพื่อสร้างความสัมพันธ์ร่วมมือกันระหว่างมหาวิทยาลัยกับหน่วยงาน ประชาชน และเกษตรกรสามารถนำไปผลิตเป็นการค้าเสริมอาชีพได้มากขึ้น

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ บุคลากร หน่วยงานรัฐ เอกชน ศูนย์ศึกษาชุมชนและโรงเรียน ห้างร้านค้าและเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่สามารถมาอบรม เดินทางไปกลับที่พักระหว่างการฝึกอบรม จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผู้ลงทะเบียนการสมัครเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ศึกษาหาแหล่งข้อมูลทันสมัยเป็นปัจจุบัน ของการปลูกพืชไม่ใช้ดิน เพื่อนำมาเป็นแนวคิดและประยุกต์ใช้ในการบรรยาย และแนวปฏิบัติการการฝึกอบรม 2. ประชาสัมพันธ์และรับสมัคร ทางจดหมายอิเลกโทรนิคส์ และเวบซ์ไซด์ คณะเกษตรศาสตร์ 3. จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และเอกสารประกบอบการฝึกอบรม ติดต่อประสานงานวิทยากร สถานที่ทัศนศึกษา ยานพาหนะ 4. ดำเนินจัดการฝึกอบรมทั้งภาคบรรยายและปฎิบัติการ 5. สรุปผลการดำเนิน ผลจากการบันทึกสื่อโสตเสียงและภาพ สรุปจากแบบสอบถาม 6. ติดตั้งโต๊ะปลูกในสถานที่คัดเลือกเป็นศูนย์เรียนรู้ 4 แห่ง 7. ติดตามถ่ายทอดแนะนำการปลูกพืชในแต่ละศูนย์เรียนรู้จนสามารถปลูกพืชได้อย่างน้อย 1 ครั้งให้ผลผลิต

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การศึกษาดูงาน -- --- --- --- 5,000.00
2.รับสมัครผู้เข้าอบรม --- - --- --- 13,000.00
3.จัดเตรียมเอกสารโต๊ะปลูก-วัสดุอุปกรณ์ --- --- --- 40,000.00
4.ดำเนินการฝึกอบรม --- --- -- --- 30,000.00
5.สรุปการดำเนินงาน --- --- -- --- 2,100.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-12.00 น. ระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-14.30 น. การเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
14 มีนาคม พ.ศ. 2558
14.30-16.00 น. ปฏิบัติการเตรียมสารละลายธาตุอาหารพืช ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา,นายบรรพต คชประชา
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
10.30-12.00 น. ปฏิบัติการดูแลรักษา นายบรรพต คชประชา
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
09.00-10.30 น. ขั้นตอนการปลูก ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน
15 มีนาคม พ.ศ. 2558
13.00-16.00 น. ดูงานธุรกิจการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ผู้ผลิตเพื่อการค้า

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : หน่วยงานรัฐ เอกชน ศูนย์ศึกษาชุมชนและโรงเรียน สามารถนำความรู้การผลิตที่เป็นเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้และประยุกต์ใช้อย่างนำสมัยก้าวหน้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดซึ่งกันจนพัฒนาเป็นเกษตรกรก้าวหน้า ขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ด้านสังคม : การสร้างเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เทคโนโลยีการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดิน ประกอบด้วยโรงเรียน เกษตรกร และร้านค้าธุรกิจ จำนวนไม่ต่ำกว่า 4 ศูนย์,2. หน่วยงานรัฐ เอกชน ศูนย์ศึกษาชุมชนและโรงเรียน สามารถนำความรู้การผลิตที่เป็นเหตุผลตามหลักวิทยาศาสตร์มาใช้และประยุกต์ใช้อย่างนำสมัยก้าวหน้าสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายทอดซึ่งกันจนพัฒนาเป็นเกษตรกรก้าวหน้า ขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงต่อไป
ด้านสิ่งแวดล้อม : เพื่อเผยแพร่แหล่งข้อมูลข่าวสาร การปลูกพืชไม่ใช้ดินในการผลิตพืชบริโภคปลอดสารพิษจากสารป้องกันกำจัดศัตรูพืช
ด้านอื่นๆ : เผยแพร่ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย โดยคณะเกษตรศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นแหล่งภูมิปํญญาอย่างพอเพียงของสังคม และส่งเสริมให้นักเรียนได้สนใจเข้ามาศึกษาในมหาวิทยาลัย เพื่อยกระดับการศึกษาสู่ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้ยั่งยืนต่อไป

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
เพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่และต่อฤดูกาลอย่างสูงสุด

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1202348 การผลิตผักเศษฐกิจ
หลักสูตร หลักสูตร วท.บ. เกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 2-3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการ เข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชา ร้อยละ 80
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,760.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 17,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 3,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 50,940.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 36,940.00 บาท )
1) วัสดุงานบ้านงานครัว
=
3,940.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร
=
20,000.00 บาท
3) วัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
=
4,000.00 บาท
4) วัสดุวิทยาศาสตร์
=
5,000.00 บาท
5) วัสดุก่อสร้าง
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 90,100.00 บาท