แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ประมงหมู่บ้าน: การเลี้ยงปลานิลจิตรลดา
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประสบการณ์ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ สรีรวิทยาสัตว์น้ำ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
จากงานบริการวิชาการในเรื่องประมงโรงเรียน: การเพาะและขยายพันธุ์ปลานิลจิตรลดาในโรงเรียนเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีงบประมาณ 2556 มีโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วมอบรมหลายโรงเรียน ประกอบกับผู้เข้าอบรมมีความรู้และความเข้าใจในงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและได้ดำเนินงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำร่วมกับชาวบ้านในพื้นที่หลายหมู่บ้าน จึงได้มีข้อเสนอแนะที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน โดยให้บุคลากรทางด้านประมง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ คำปรึกษา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากความร่วมมือดังกล่าวระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โรงเรียน และชุมชนรอบโรงเรียน จะสามารถสร้างความเข้มแข็งในงานเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีสามารถเผยแพร่ความรู้ เทคนิคการเลี้ยงปลา และการให้คำปรึกษากับโรงเรียนและชุมชน โรงเรียนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชนโดยรอบและเป็นหน่วยงานที่เชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยและชาวบ้าน และ ชาวบ้านที่ได้รับความรู้สามารถนำไปเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการบริโภคและประกอบอาชีพได้ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อเผยแพร่ความรู้การเลี้ยงปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาให้กับชาวบ้าน 2.เพื่อให้คำปรึกษาให้กับโรงเรียนในการเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลานิลให้กับชุมชนโดยรอบ 3.เพื่อผลิตปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาสำหรับการบริโภคและประกอบอาชีพของชาวบ้าน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.ชาวบ้านที่อยู่รอบโรงเรียนบ้านโนนยาง ตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 1.1.หมู่บ้านโนนยาง หมู่ที่ 1 1.2.หมู่บ้านโนนยาง หมู่ที่ 2 1.3.หมู่บ้านดงเจริญ หมู่ที่ 16 โดยมีโรงเรียนบ้านโนนยาง (อาจารย์ไฉน ผลดี) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ 2.ชาวบ้านที่อยู่รอบโรงเรียนบ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 2.1.หมู่บ้านวังยางตก หมู่ที่ 17 2.2.หมู่บ้านท่าขอนไม้ยูง หมู่ที่ 12 2.3.หมู่บ้านโนนฉวาง หมู่ที่ 14 โดยมีโรงเรียนบ้านวังยาง (อาจารย์ประมวลทรัพย์ นาจอมเทียน) เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1.การเตรียมงานร่วมกับโรงเรียน โครงการฯ ดำเนินการลงพื้นที่ในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน เพื่อสอบถามความพร้อมของผู้เข้าอบรมและตรวจสอบพื้นที่เลี้ยงปลา เพื่อนำมาประกอบการอบรมต่อไป 1.2.การเตรียมลูกพันธุ์ปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา ฟาร์มประมง สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการ ดำเนินการเตรียมลูกพันธุ์ปลานิลสำหรับการอบรม 1.3.การอบรมการเลี้ยงปลานิลสายพันธุ์จิตรลดา ชาวบ้านจำนวน 3 หมู่บ้านที่อยู่รอบโรงเรียนบ้านโนนยาง ตำบลสระสมิง และ โรงเรียนบ้านวังยาง ตำบลบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับครูจากทั้งสองโรงเรียน เข้าร่วมอบรมการเลี้ยงปลานิลสายพันธุ์จิตรลดาที่ฟาร์มประมง สำนักงานไร่ฝึกทดลองและห้องปฏิบัติการกลาง คณะเกษตรศาสตร์ โดยมีวิทยากรจากคณะเกษตรศาสตร์ เข้าร่วมให้ความรู้ เป็นเวลา 2 วัน 1.4.การเตรียมการเลี้ยงปลานิลในหมู่บ้าน ชาวบ้านที่ผ่านการอบรม จะเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ร่วมกับโรงเรียน โดยได้รับการสนับสนุนพันธุ์ปลาจากคณะเกษตรศาสตร์ โดยในขั้นตอนนี้นักศึกษาประมงชั้นปีที่ 3 ในวิชาเทคโนโลยีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นทำการเตรียมลูกพันธุ์ปลานิล การแพ็คใส่ถุง การขนส่ง ตลอดจน การติดตามอัตรารอดของลูกปลาเมื่อลำเลียงไปยังบ่อปลาของชาวบ้าน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.การเตรียมงานร่วมกับโรงเรียน - --- --- --- 10,000.00
2.2.การเตรียมลูกพันธุ์ปลานิล --- --- 20,000.00
3.3.การอบรมการเลี้ยงปลานิล --- --- -- --- 40,000.00
4.4.การเตรียมการเลี้ยงปลานิลในหมู่บ้าน --- --- 30,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
09.00-12.00 บรรยาย 1.พื้นที่เลี้ยงปลานิล 2.การจัดการลูกปลานิล ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
18 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 ปฏิบัติ 1.การตรวจสอบลักษณะของลูกปลานิล 2.การเตรียมวัสดุและอุปกรณ์สำหรับการเลี้ยงปลานิล ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และนายชำนาญ แก้วมณี
19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
09.00-12.00 บรรยาย 1.การสังเกตและการจัดการคุณภาพน้ำอย่างง่าย 2.การบันทึกข้อมูลเบื้องต้น ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม
19 มิถุนายน พ.ศ. 2558
13.00-16.00 ปฏิบัติ 1.การเตรียมลูกปลานิลลงกระชัง 2.การดูแลบ่อปลาและกระชัง ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม และนายชำนาญ แก้วมณี

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1.ชาวบ้านสามารถนำปลามาใช้บริโภค เป็นการลดรายจ่าย 2.ชาวบ้านสามารถขายปลานิลเป็นรายได้เสริม
ด้านสังคม : 1.ความร่วมมือทางวิชาการด้านประมงระหว่างมหาวิทยาลัย (บุคลากรและนักศึกษา) โรงเรียน (ครู) และ ชาวบ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : 1.ลดการจับปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติ
ด้านอื่นๆ : 1.นักศึกษาสามารถนำความรู้และทักษะการปฏิบัติงานไปเผยแพร่ให้กับบุคคลและหน่วยงานภาคนอกได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
30
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
80

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การวิเคราะห์และการจัดการคุณภาพน้ำทางการประมง
หลักสูตร ประมง
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ทักษะในการเตรียมลูกปลานิลการจัดการลูกปลาและคุณภาพน้ำในพื้นที่จริง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด การนำนักศึกษาเข้าร่วมการอบรมการเลี้ยงปลานิลที่ฟาร์มประมงคณะเกษตรศาสตร์และในพื้นที่หมู่บ้าน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ การมอบหมายให้นักศึกษาเก็บข้อมูล ได้แก่ การเจริญเติบโต และ คุณภาพน้ำ ในแต่ละหมู่บ้าน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 15,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,400.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 300.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
300.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 8,100.00 บาท )
1) จำนวน 9 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,780.00 บาท
2) จำนวน 9 วัน x จำนวน 8 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
4,320.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 37,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 3 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 6,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
6,400.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาสำหรับจัดทำกระชังสำหรับพ่อแม่พันธุ์ปลานิล
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาสำหรับจัดทำกระชังสำหรับการอนุบาลลูกปลา
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 46,800.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
40 คน x 100.00 บาท
=
4,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 31,800.00 บาท )
1) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
5,800.00 บาท
2) วัสดุการเกษตร
=
26,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท