แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการประชุมวิชาการนานาชาติ 20th International Annual Symposium on Computational Science and Engineering (ANSCSE 20)
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.พรพรรณ พึ่งโพธิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิทยาศาสตร์สัญจร
ความเชี่ยวชาญ : จัดกิจกรรมโครงการวิทยาศาสตร์สัญจร จัดประชุมวิชาการระดับชาติเเละนานาชาติ ANSCSE PACCON
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.ชาญ อินทร์แต้ม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วท.ม.(เคมี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Dr.rer.nat., Technical Univ. Munich, Germany
ประสบการณ์ : การจำลองแบบอนุภาคขนาดนาโนสำหรับใช้ในการเร่งปฏิกิริยาและการดูดซับ หัวหน้าโครงการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2554-2556 การศึกษาเชิงทฤษฎีของการเร่งปฏิกิริยาการเสียน้ำของเอทานอลด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติชนิดคลินอพทิลโอไลต์ หัวหน้าโครงการ สภาวิจัยแห่งชาติ 2551-2553 การศึกษาเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการสะสมของอนุภาคนาโนของโลหะบนคาร์บอนนาโนทิวบ์ หัวหน้าโครงการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2550-2552
ความเชี่ยวชาญ : Computational quantum chemistry Nanomaterials, Nanoparticles
ผู้ร่วมโครงการ
รศ.ดร.อนุชา แยงไธสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ฟิสิกส์
ประสบการณ์ : 1) [P2545_05]- การศึกษาปรากฎการณ์ทันเนลิ่ง (Tunneling Effect) - [นายธีรศักดิ์ สังข์ศรี-2545]-Advisor 2) [P2547_20]- การคำนวณหาฟังก์ชันคลื่นและพลังงานเจาะจงของอิเล็กตรอนในบ่อศักย์สามเหลี่ยมอนันต์ - [นายธงชัย บุญพัก-2547]-Advisor 3) [P2547_22]- การจำลองหาค่าพลังงานยึดเหนี่ยวของอะตอมผู้ให้ในบ่อศักย์ด้วยวิธีการแปรผันและการแปรผันแบบมอนติคาร์โล - [นายองอาจ เทียบเกาะ-2547]-Advisor 4) [P2550_05]- การคำนวณสเปกตรัมเอสพีอาร์แบบภาพเมื่อใช้ไดโอดเปล่งแสงเป็นแหล่งกำเนิดแสง - [นางสาวจงเจตน์ เชาว์ชอบ-2550]-Advisor 5) [P2552_03]- การศึกษาสมบัติทางเทอร์มออิเล็กทริกของ Bi2Te3B-Fesi2SrTio3และBi2Sr2Ca3O10โดยวิธี First principes calculations - [ธนพล ชนะพจน์-2552]-Advisor
ความเชี่ยวชาญ : computational Physics
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จิตกร ผลโยญ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : 2551 ปร.ด. ฟิสิกส์ ม. ขอนแก่น ทุนโครงการพัฒนาอาจารย์ 2538 วท.ม. ฟิสิกส์ ม. จุฬาฯ ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) 2535 วท.บ. ฟิสิกส์ ม. ขอนแก่น ทุนโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.)
ประสบการณ์ : 1. Wiangnon K., & Polyon C. (2010). Magnetic Properties of Spherical Collectors in a Transverse Magnetic Filter. Sc. J. UBU, 1(1), 5-19. 2. Polyon C., Lurie D.J., Youngdee W., Thomas C., & Thomas I. (2008). Comparison of 14N and 15N Nitroxide Free Radicals Imaged by Field-Cycled Proton-Electron Double-Resonance Imaging (FC-PEDRI) at Low Magnetic Field. Thai J. Phys., 3, 122-124. 3. Polyon C., Lurie D.J, Youngdee W., Thomas C., & Thomas I. (2007). Field-Cycled Dynamic Nuclear Polarization (FC-DNP) of 14N and 15N Nitroxide Radicals at Low Magnetic Field. J. Phys. D: Appl. Phys., 40, 5527-5532. 4. Polyon C., Lurie D.J., Youngdee W., Thomas C., & Thomas I. (2007). Field-Cycled Proton-Electron Double-Resonance Imaging (FC-PEDRI) of a 14N Nitroxide Free Radical at Low Magnetic Field. KKU Res J (GS) Apirl-June 2007, 7(2), 41-47. 5. Polyon C., Lurie D.J., Youngdee W., Thomas C., & Thomas I. (2007). Field- Cycled Proton-Electron Double-Resonance Imaging (FC-PEDRI) of 15N Nitroxide Free Radicals at 1.1 EPR Field. NU Science Journal 2007, 4(S1), 22-25.
ความเชี่ยวชาญ : 1) การออกแบบและสร้างขดลวดแม่เหล็กคลื่นวิทยุ ชนิดต่างๆ เช่น ขดลวด โซลินอยด์ ขดลวดอานม้า และขดลวดกรงนก เพื่อนำไปใช้ในงานวิจัยเกี่ยวกับการสร้างภาพทางแม่เหล็กโดยโปรตรอน 2) การประยุกต์ทางแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น การกรองอนุภาคแม่เหล็ก การสร้างแม่เหล็กไฟฟ้า 3) การเขียนโปรแกรมคำนวณทางฟิสิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ภาษาซี
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.วรศักดิ์ สุขบท คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D. (Physics)
ประสบการณ์ : [P2556_25]- ผลจากการปรับการจำกัดเชิงควอนตัมของผลึกนาโนของสารกึ่งตัวนำหมู่ III-V และหมู่ II-VI ด้วยแบบจำลองไทจ์บายดิง เอสพีทรีดีไฟว์เอสสตาร์ - [เอกราช สุขเสริม-2556]-Advisor
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.นิภาวรรณ พองพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.บ.(เคมี) (เกียรตินิยม อันดับ2) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วท.ม.(เคมีอินทรีย์) มหาวิทยาลัยมหิดล Dr.rer.nat. (University of Vienna, Austria)
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการ การสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านที่ชาวบ้านในจังหวัดอุบลราชธานีใช้รักษโรคในชีวิตประจำวัน ปีงบประมาณ 2552
ความเชี่ยวชาญ : การแยกให้บิรสุทธิ์ด้วยเทคนิคโครมาโตกราฟี่และพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารด้วยเทคนิคทางสเปกโตรสโคปี
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สมจินตนา ทวีพานิชย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วท.ม.(เคมีอินทรีย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปร.ด.(เคมีอินทรีย์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ประสบการณ์ : ผู้ควบคุมกำกับและดูแลห้องปฏิบัติการวิเคราะห์และทดสอบ (Analysis and Testing Laboratory)
ความเชี่ยวชาญ : ด้านการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวมาลี ประจวบสุข คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วท.ม. (เคมี)
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการการสำรวจสมุนไพรพื้นบ้านฯ ปีงบประมาณ 2552-2553
ความเชี่ยวชาญ : การประยุกต์ใช้ซีโอไลต์ธรรมชาติในทางสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
International Annual Symposium on Computational Science and Engineering (ANSCSE) เป็นการประชุมวิชาการระดับนานาชาติทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ที่จัดขึ้นทุกปี โดยมี ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center : NECTEC) และ สมาคมวิทยาการและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์เป็นเจ้าภาพหลัก ในการนี้คณะวิทยาศาสตร์ ได้เสนอตัวขอรับเป็นเจ้าภาพร่วมในการจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ANSCSE 20 ในปี พ.ศ.2558 โดยเนคเทค และ สมาคมวิทยาการและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์เห็นชอบให้ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นเจ้าภาพร่วมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ ANSCSE 20 ในปี พ.ศ.2558 วิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์เป็นการนำการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์มาศึกษาวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี และ ชีววิทยา การจำลองด้วยคอมพิวเตอร์สามารถแทนที่การทดลองบางอย่างได้ หรือ ทำให้สามารถศึกษาผลของทฤษฎีต่างๆ ได้ดีกว่าการวิเคราะห์ทางการทดลองอย่างเดียว วิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ก็เป็นการนำการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์มาใช้เช่นเดียวกัน แต่เป็นการนำมาเพื่อช่วยการศึกษาและออกแบบทางวิศกรรม วิทยาการและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์สามารถช่วยให้งานวิจัยดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น ทำให้ช่วยประหยัดงบประมาณในการวิจัย และ ช่วยให้เกิดความเข้าใจเชิงลึก นำไปสู่องค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนาวิทยาการขั้นสูง โดยการประชุมวิชาการนานาชาติ ANSCSE 20 นี้มีนักวิทยาศาสตร์รับเชิญที่มีชื่อเสียงทั้งจากในประเทศและต่างประเทศเป็นวิทยากร มีการเสนอผลงานทางวิชาการของคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษาในสาขาวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยและนักวิชาการทั้งรุ่นอาวุโส รุ่นกลาง และรุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ได้เสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเป็นโอกาสที่ดีที่จะกระตุ้นให้นัก ไทยทั้งในภาควิชาการ ภาครัฐและภาคเอกชน ได้รับฟังผลงานนักวิชาการในระดับนานาชาติ ตลอดจนมีโอกาสในการนำเสนอผลงานวิชาการ แนวคิดและนวัตกรรมใหม่ รวมถึงการพบปะกลุ่มผู้ร่วมแสดงผลิตภัณฑ์ใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นงานระดับนานาชาติที่กลุ่มที่เกี่ยวข้องจะได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง และเป็นการผลักดันให้นำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้พอเพียง เพื่อเป็นรากฐานไปสู่ความมั่นคงยั่งยืนต่อไป ในการประชุม ANSCSE 20 จะให้มีการประชุมวิชาการในด้านต่าง ๆ ดังนี้ • Computational Physics • Computational Chemistry • Computational Biology and Bioinformatics: • Computational Fluid Dynamics and Solid Mechanics • HPC and Grid computing, Computer Science and Engineering and Computational Mathematics:

วัตถุประสงค์
1.เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักวิชาการ และผู้สนใจทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ได้สนใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนเพื่อพัฒนากิจกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ของประเทศ
2.เพื่อให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษาทั้งใน และต่างประเทศ
3.เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางด้านความร่วมมือในระดับชาติ/นานาชาติ ทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน
4.เพื่อเปิดโอกาสให้มีการนำเสนอผลงานวิจัยใหม่ ๆ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า และก่อให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงต่างๆในการปรับปรุงและพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ประสิทธิผลสูงสุด
5.เพื่อให้นิสิตนักศึกษาให้ได้รับความรู้พื้นฐานจากคณาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านทั้งจากในประเทศและต่างประเทศ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักวิจัย นักวิชาการ คณาจารย์ทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ ทั้งในและต่างประเทศ 2. นิสิต นักศึกษา ระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา ทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
0 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน 1.2 ดำเนินการประสานงานติดต่อนักวิทยาศาสตร์รับเชิญจากในประเทศและต่างประเทศ 1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการในรูปแบบต่างไปยังกลุ่มเป้าหมาย 1.4 ดำเนินโครงการ 1.5 สรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.จัดประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน - -- --- --- 15,000.00
2.ดำเนินการประสานงานติดต่อนักวิทยาศาสตร์รับเชิญจากในประเทศและต่างประเทศ -- --- --- 10,000.00
3.ประชาสัมพันธ์โครงการในรูปแบบต่างไปยังกลุ่มเป้าหมาย --- - - --- 10,000.00
4.ดำเนินโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน --- --- --- 117,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558 - 30 เมษายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 30 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548
ดำเนินการประสานงานติดต่อนักวิทยาศาสตร์รับเชิญจากในประเทศและต่างประเทศ
1 ตุลาคม พ.ศ. 2557
ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันกำหนดรูปแบบกิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน
30 เมษายน พ.ศ. 2558
ดำเนินโครงการ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพื่อสนับสนุนและสรรค์สร้างการเผยแพร่ผลงานวิจัยทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ที่สามารถนำมาประยุกต์กับการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืนบนพื้นฐานของเศรษฐกิจพอเพียง
ด้านสังคม : 1.สร้างองค์ความรู้ใหม่ทางวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องให้สามารถตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในเอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และยกระดับการศึกษาวิจัยบัณฑิตศึกษาให้สามารถเท่าเทียมนานาชาติ 2. ผู้เข้าร่วมงาน ทั้งคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักเรียน นิสิตนักศึกษา และบุคคลทั่วไป จะได้ความรู้ ทราบความก้าวหน้าและความเข้าใจที่ดีต่อวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และและวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เป็นทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศ 3. เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการ อาจารย์ นักวิจัย นิสิต และนักศึกษา รวมทั้งประชาชนที่เข้าร่วม 4.เพื่อให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ และนำไปสู่การสร้างเครือข่ายทางด้านความร่วมมือในระดับชาติ/นานาชาติ ทางด้านวิทยาการเชิงคอมพิวเตอร์และวิศวกรรมเชิงคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาประเทศให้ยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
150
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
13

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เคมีเชิงฟิสิกส์.2
หลักสูตร เคมี
นักศึกษาชั้นปี : 2-3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หัวข้อเฉพาะทางเคมีเชิงฟิสิกส์.
หลักสูตร เคมี
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 นักศึกษามีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สารนิพนธ์
หลักสูตร เคมี, ฟิสิกส์
นักศึกษาชั้นปี : 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 นักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 127,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 60,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 60,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 30,000.00 บาท
=
60,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 67,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
45,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 25,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
30,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
15,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 152,500.00 บาท