แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพี่น้องสานสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 อบรมความรู้ ภาษา และวัฒนธรรมอาเซียน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายจักรพันธ์ แสงทอง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อักษรศาสตรมหาบัณฑิต(ปรัชญา)
ประสบการณ์ : ประสบการณ์ 1.โครงการวิจัยในชั้นเรียนเรื่อง แนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ความคิดตะวันตก คณะศิลปศาสตร์ ปี 2555 2.โครงการบริการวิชาการแก่สังคมปี2555-57 โครงการพี่น้องสานสัมพันธ์ครั้งที่ 1-3 4.โครการวิจัยเรื่อง ความเชื่อเรื่องนาคกับปฏิบัติการทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนชายแดนไทย-ลาว คณะศิลปศาสตร์ ปี 2556 การนำสนอบทความ 1.เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้บนพื้นที่ วาทกรรม และอำนาจ ใน การประชุมระดับชาติเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย ครั้งที่ 4 2.เรื่อง พุทธศาสนาแบบชาวบ้านระบบอภิปรัชญาในภูมิปัญญาไทย ในการประชุมวิชาการระดับชาติ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 8 ผลงานตีพิมพ์ : บทความเรื่อง ความเข้าใจภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบวาทกรรมในวารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2552) - โครงการศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา : ศูนย์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย (พฤษภาคม 2555 – เมษายน 2560)
ความเชี่ยวชาญ : งานวิชาการด้าน ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ความคิดตะวันตก ปรัชญาและศาสนา
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปีพ.ศ. 2558 เป็นปีแห่งการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ประเทศไทยซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกมีการตื่นตัวและเตรียมตัวของทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในทุกด้านที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมาก ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับการบูรณาการใน 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมวัฒนธรรมอาเซียน ดังนั้นการเปิดประชาคมอาเซียนย่อมส่งผลต่อประเทศไทยทั้งในแง่บวกและลบในทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองความมั่นคง การอพยพย้ายถิ่นฐาน ด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน โครงสร้างพื้นฐาน การสื่อสารคมนาคม ตลอดจนด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการศึกษาที่มีการแข่งขันด้านมาตรฐานทางการศึกษา ทักษะ ความรู้ ความสามารถในวิชาชีพของบัณฑิตซึ่งถูกผลิตสู่ตลาดแรงงานซึ่งจะมีการต่อสู้แข่งขันในการประกอบอาชีพในกลุ่มประเทศอาเซียนด้วยกันมากขึ้น ข้อมูลปัจจุบันพบว่าคุณภาพการศึกษาของกลุ่มประเทศอาเซียนหลายประเทศสูงกว่าประเทศไทย รวมถึงสถิติการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่อีกด้วย ท่ามกลางบริบททางสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าว จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการสร้างความรู้ความเข้าใจประเทศเพื่อนบ้านในทุกด้านให้กับเยาวชน นักเรียน นักศึกษาในฐานะของผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงให้สามารถปรับตัวและเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ได้ ที่ผ่านมาโครงการพี่น้องสานสัมพันธ์ได้จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาในกลุ่มประเทศอาเซียนมาแล้วสามครั้ง และจากข้อเสนอแนะของโรงเรียนที่ทางโครงการได้จัดกิจกรรมพบว่า ต้องการให้โครงการจัดอบรมโดยเน้นไปที่ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน ได้แก่ ประเทศลาว เขมร เวียดนามรวมถึงประเทศมหาอำนาจที่เกี่ยวข้องเช่น ประเทศจีน และญี่ปุ่น เนื่องจากเห็นว่าการรู้ภาษาที่ในกลุ่มประเทศอาเซียนจะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำงานและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของแรงงานไทย ดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันโรงเรียนในระดับมัธยมศึกษาจำนวนมากมีความต้องการที่จะเปิดโปรแกรมภาษาในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้นนอกจากภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่น และสอดคล้องกับความต้องการเรียนในคณะที่เปิดสอนทางด้านภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มขึ้นทุกปี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีถือได้ว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่สามารถตอบสนองความต้องการดังกล่าวได้เป็นอย่างดี เนื่องจากมีคณาอาจารย์ที่สอนในหลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน อีกทั้งยังมีนักศึกษาที่อยู่ในหลักสูตรดังกล่าวที่สามารถให้บริการทางวิชาการแก่โรงเรียนที่มีความต้องการได้ นอกจากจะเป็นการบริการวิชาการให้ความรู้กับโรงเรียนเป้าหมายแล้ว ยังเป็นการสานความสัมพันธ์อันดีระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับชุมชนในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ระหว่างพี่นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับน้องนักเรียนโรงเรียนเป้าหมายอีกด้วย โดยส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจในอัตลักษณ์ของตนเองท่ามกลางความหลากหลายของภาษาและวัฒนธรรมในกลุ่มประเทศอาเซียน โครงการนี้จะนำความรู้ที่ได้จากการจัดกิจกรรมนำมาผลิตสื่อการเรียนการสอนภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน โดยจะมอบเอกสารรวมเล่มซึ่งเป็นผลจากการจัดกิจกรรมในโครงการพี่น้องสานสัมพันธ์ครั้งนี้และครั้งที่ผ่านๆมาให้กับโรงเรียนเป้าหมายในจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอนของครู และนักเรียนสืบต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่อาจารย์และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนผ่านการอบรมให้ความรู้จัดกิจกรรมร่วมกัน
2.เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรมอาเซียนของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานีให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มโรงเรียนพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดอุบลราชธานี
3.เพื่อเสริมสร้างความร่วมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับกลุ่มโรงเรียนเป้าหมายใน พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู และนักเรียนโรงเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในจังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
400 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1วางแผน เตรียมงาน ติดต่อประสานงาน 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.จัดโครงการ 4.สรุปและประมวลผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผน เตรียมงานและประสานงาน --- --- --- 2,000.00
2.ประชาสัมพันธ์ --- --- --- 3,000.00
3.จัดกิจกรรมของโครงการตามแผน --- --- --- 90,000.00
4.จัดทำและส่งเอกสารรวมเล่ม สรุปและประมวลผล --- --- --- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 13 ธันวาคม พ.ศ. 2556 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
12 มิถุนายน พ.ศ. 2558
9.00-16.00 9-12.00วิทยากรบรรยายภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน(ลาวเขมรเวียดนามจีนญี่ปุ่น) 13-16.00 กิจกรรมสันทนาการ คณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
9.00-16.00 9-12.00วิทยากรบรรยายภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน(ลาวเขมรเวียดนามจีนญี่ปุ่น) 13-16.00 กิจกรรมสันทนาการ คณาจารย์และนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ตามวัตถุประสงค์โครงการ
ด้านสังคม : ตามวัตถุประสงค์โครงการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ตามวัตถุประสงค์โครงการ
ด้านอื่นๆ : ตามวัตถุประสงค์โครงการ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
400
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณต่อคนคนละ ประมาณ 250 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1432321 ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย
หลักสูตร ประวัติศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน บูรณาการกับการเรียนการสอนวิชา ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาไทย ในหัวข้อ ภาษา วัฒนธรรมและภูมิปัญญาอาเซียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ได้จริงกับการทำกิจกรรมตามแผนการเรียนใน มคอ 3
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -จัดบอร์ดนิทรรศการ -นำเสนอรายงาน พาวเวอร์พ้อย เรื่องภาษาและวัฒนธรรมภูมิปัญญาอาเซียน -จัดกิจกรรมสันทนาการให้นักเรียนที่เข้าร่วมโตรงการบริการวิชาการ พี่น้องสานสัมพันธ์

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 14,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 73,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 32,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
32,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 16,200.00 บาท )
- จำนวน 3 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
16,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาเก็บและประมวลผลข้อมูลแบบสอบถาม
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมสันทนาการ
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 12,400.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 12,400.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
12,800 แผ่น x 0.50 บาท
=
6,400.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท