แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ นิทรรศการและแนะแนวศึกษาต่อญี่ปุ่น
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายศุภฤกษ์ ชัยรัตน์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : -
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ
นางสาวเสาวลักษณ์ หีบแก้ว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ญี่ปุ่นศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : ญี่ปุ่นศึกษา สังคมวัฒนธรรมญี่ปุ่น บทบาทของญี่ปุ่น
ผู้ร่วมโครงการ
นางวิศรุตา เฟอร์รารา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ญี่ปุ่นศึกษา
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตามที่ทางคณะศิลปศาสตร์ได้อนุมัติให้เปิดสอนรายวิชาภาษาญี่ปุ่นในฐานะวิชาเอก วิชาโท วิชาบังคับภาษาต่างประเทศภาษาที่สองสำหรับนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ และวิชาเลือกเสรีสำหรับนักศึกษาทั้งภายในและภายนอกคณะ ปัจจุบันมีนักศึกษาที่สนใจเรียนในรายวิชาภาษาญี่ปุ่นค่อนข้างมาก เพื่อส่งเสริมการเรียนภาษาญี่ปุ่นให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นในฐานะกิจกรรมเสริมความรู้นอกเหนือจากการเรียนในภาคทฤษฎีจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการเผยแพร่ความรู้ด้านประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการเปิดโอกาสให้กับนักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งในและนอกคณะ รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปที่สนใจในประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นได้ศึกษา และสัมผัสประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นในหลากหลายรูปแบบโดยผ่านกิจกรรมดังกล่าว นอกจากนี้ทางสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทยได้มีแผนการจัดแนะแนวศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่นให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆในประเทศ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มผู้สนใจทั่วไปที่ต้องการศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่น ในการจัดกิจกรรมประกอบด้วยการแนะนำข้อมูลแหล่งทุนรัฐบาลญี่ปุ่น (Monbukagakusho : MEXT) การไปศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่นทั้งโดยทุนรัฐบาลและทุนส่วนตัว และรับฟังประสบการณ์เตรียมความพร้อมและการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นจากนักเรียนเก่าญี่ปุ่น ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้สนใจได้ซักถามข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับแหล่งทุนและการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษาต่อ รวมถึงการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทั้งนี้ทางสถานทูตญี่ปุ่นได้ประสานความร่วมมือกับหลักสูตรภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในการจัดทำกิจกรรม ซึ่งหลักสูตรเห็นว่ากิจกรรมดังกล่าวจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รวมถึงช่วยสร้างแรงจูงใจในศึกษาภาษาญี่ปุ่นให้กับนักศึกษาในหลักสูตรฯ และนักศึกษาคณะอื่นๆ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนบุคคลที่สนใจทั่วไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่นในด้านประเพณีและวัฒนธรรม ช่วยให้นักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่นและผู้สนใจทั่วไปได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น
2.เพื่อให้นักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่นทั้งในและนอกคณะได้มีโอกาสพบปะและทำกิจกรรมเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นร่วมกัน ช่วยสร้างเสริมความสามัคคี และสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่น
3.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นกับองค์กรญี่ปุ่นภายนอก
4.เพื่อให้อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา บุคลากรและบุคลากรภายนอกทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยได้ทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนการศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงจากทางสถานทูตญี่ปุ่น
5.เพื่อให้ผู้ร่วมงานได้ทราบและมีโอกาสได้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเตรียมตัวและการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น
6.เพื่อให้เกิดการประสานงานและความร่วมมืออันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานทูตญี่ปุ่นอันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในภายภาคหน้า

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียน นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
400 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. แนะแนวศึกษาต่อญี่ปุ่นจากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย 2. แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากรุ่นพี่นักเรียนทุนญี่ปุ่น 3. การประกวดเต้น Cover การประกวดแต่งชุด Cosplay การประกวดเขียนเรียงความภาษาญี่ปุ่น การประกวดร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชุม จัดเตรียมงาน ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 50,000.00
2.ดำเนินโครงการ --- --- --- 50,000.00
3.สรุปผลการดำเนินโครงการ --- --- --- 5,300.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 243 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 มกราคม พ.ศ. 2558
10.00-12.00 การแนะแนวศึกษาต่อญี่ปุ่น แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากรุ่นพี่นักเรียนทุนญี่ปุ่น เจ้าหน้าที่จากสถานทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
30 มกราคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 พักรับประทานอาหาร
30 มกราคม พ.ศ. 2558
13.00-16.30 การประกวดเต้น Cover การประกวดแต่งชุด Cosplay การประกวดเขียนเรียงความภาษาญี่ปุ่น การประกวดร้องเพลง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1.นักศึกษาที่เรียนภาษาญี่ปุ่นและผู้สนใจทั่วไปได้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับประเพณีและวัฒนธรรมญี่ปุ่นมากยิ่งขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : 2.นักศึกษาทั้งในและนอกคณะได้มีโอกาสพบปะและทำกิจกรรมร่วมกัน เกิดความสามัคคี และบรรยากาศที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่น 3. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งทุนการศึกษาต่อ ณ ประเทศญี่ปุ่นโดยตรงจากสถานทูตญี่ปุ่น 4. ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบและมีโอกาสซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับการเตรียมตัวและการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นจากผู้มีประสบการณ์ 5. เกิดการประสานงานและความร่วมมืออันดีระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถานทูต อันจะนำไปสู่ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมอื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไปในภายภาคหน้า 6. สามารถนำไปบูรณาการกับการเรียนการสอนรายวิชาสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น และรายวิชาญี่ปุ่นปัจจุบัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
400
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
0
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น
หลักสูตร ภาษาญี่ปุ่นและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การจัดนิทรรศการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประเทศญี่ปุ่น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 34,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,400.00 บาท )
1) กรรมการผู้ตัดสินการประกวดการเขียนเรียงความภาษาญี่ปุ่นจำนวน 8 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 400.00 บาท/ชม.
=
3,200.00 บาท
2) กรรมการผู้ตัดสินการประกวดเต้น Cover การแต่งชุด Cosplay การร้องเพลงภาษาญี่ปุ่นจำนวน 8 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 400.00 บาท/ชม.
=
3,200.00 บาท
3) เงินรางวัลการประกวดเต้น Cover รางวัลที่ 1-3จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 6,000.00 บาท/ชม.
=
6,000.00 บาท
4) เงินรางวัลการประกวดแต่งชุด Cosplay รางวัลที่ 1-3จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 6,000.00 บาท/ชม.
=
6,000.00 บาท
5) เงินรางวัลการประกวดเขียนเรียงความภาษาญี่ปุ่น รางวัลที่1-3จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 6,000.00 บาท/ชม.
=
6,000.00 บาท
6) เงินรางวัลการประกวดร้องเพลงภาษาญี่ปุ่น รางวัลที่ 1-3จำนวน 1 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 6,000.00 บาท/ชม.
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 54,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 400 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 40 คน
=
12,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,500.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดการแสดงบนเวทีงานเลี้ยงรับรองวิทยากร
=
6,000.00 บาท
2) ค่าเลี้ยงรับรองวิทยากรในโครงการ (อาหารกลางวัน) อัตรา 300 บาท x 15 คน x 1 มื้อ
=
4,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 28,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 23,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
7,000.00 บาท
=
7,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 23,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 116,500.00 บาท