แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การประชุมวิชาการนานาชาติประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนิรุกติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ครั้งที่ 1 "ประเด็นศึกษาและแนวทางการศึกษา"
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายมิตต ทรัพย์ผุด คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ประวัติศาสตร์
ประสบการณ์ : (1) วิทยากรอบรมประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระดับมัธยมศึกษา (2) การวิจัยทางด้านระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์และประวัติศาสตร์นิพนธ์ะวันตกคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (3) การวิจัยประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสมัยอาณานิคม
ความเชี่ยวชาญ : (1) ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศคริสต์ศตวรรษที่ 19-20 (2) ประวัติศาสตร์สังคมเมืองภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
การทำเข้าใจอดีตอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการสร้างเข้าใจปัจจุบันอย่างถูกต้องเป็นจริง ดัชนีประการหนึ่งที่สามารถชี้ให้เห็นว่าสังคมประสบผลสำเร็จในการสร้างความเข้าใจอดีตอย่างต่อเนื่อง ถูกต้องตามความเป็นจริง และไม่มีอคติ คือสังคมที่มีขีดความสามารถสูงในการพัฒนาตนเองไปข้างหน้า มีความตระหนักรู้ถึงเหตุปัจจัยของพัฒนาการของสังคมตนเอง มีท่าทีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสังคมของตนเองและสังคมรอบข้างตั้งแต่ระดับหมู่บ้าน เมือง ภาค ประเทศ ภูมิภาค และโลกอย่างสอดคล้องและเข้าใจถึงธรรมชาติของการพึ่งพาอาศัยระหว่างสังคม สังคมไทยเช่นเดียวกับสังคมอื่นๆในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงยังมีความจำกัดในเรื่องการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอดีตที่วางอยู่ในบริบทที่กว้างกว่าโลกที่มี "รัฐชาติของตนเอง" เป็นศูนย์กลาง การทำความเข้าใจอดีตที่ขาดมิติของเวลาที่มีระยะเวลายาวนาน (long term history) หรืออดีตที่ขาดมิติของพื้นที่ที่ครอบคลุมอาณาบริเวณที่เหตุการณ์หนึ่งๆส่งผลกระทบ (global history) หรืออดีตที่ขาดการอธิบายจากมุมมองที่หลากหลายของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของเหตุการณืหรือปรากฏการณ์หนึ่งๆ อาการสำคัญประการหนึ่งของสังคมที่มีความอ่อนแอทางด้านความเข้าใจอดีตอาจจะแสดงให้เห็นในเรื่องความคลั่งชาติ ความไม่เคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรมของสังคมอื่นๆ ความอ่อนไหวต่อการปลุกเร้าของกลุ่มเคลื่อนไหวหรือรัฐบาลที่หวังผลทางการเมืองมากกว่าความสงบสุขทั้งภายในประเทศชาติของตนเองและภายในภูมิภาค การสร้างองค์ความรู้ประวัติศาสตร์รัฐแบบชาตินิยม (nationalist history) ที่เริ่มเอาจริงเอาจังมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 และได้รับการเสริมแรงจากการประกาศอิสรภาพภายหลังสมัยอาณานิคมได้เกิดดอกออกผลเป็นการสร้างความทรงจำร่วม (collective memory) ให้กับเยาวชนทุกรุ่นอายุผ่านระบบการศึกษาที่ผลิตซ้ำอุดมการณ์ชาตินิยม (nationalism) ที่เกิดมีท้องถิ่นนิยม (localism) เป็นคู่ปรับในเวลาต่อมา กลายเป็นปัญหาระหว่างประเทศ ระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ ระหว่างกลุ่มสังคม ดังที่ปรากฏแก่สายตาของสังคมทุกหมู่เหล่า หรืออย่างน้อยก็ส่วนใหญ่ในสังคมภูมิภาคลุ่มน้ำ (Mekong Region societies) นักวิชาการที่ศึกษาอดีตของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ตั้งข้อสังเกตถึงแนวทางการพัฒนาการศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคที่โลกาภิวัตน์เป็นชะตากรรมที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ของทุกสังคม การรวมกลุ่มประเทศเพื่อผลประโยชน์ของชาติและภูมิภาคในระดับความสำคัญที่เท่าเทียมได้รับการกำหนดไว้ในแผนพัฒนาระดับภูมิภาค แนวทางดังกล่าวคือการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิภาค (regional history) ในขณะที่สังคมของเรากำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว นักวิชาการกลับไม่สามารถสร้างองค์ความรู้ได้อย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลงนั้น อย่างไรก็ตาม อาจไม่ใช่เป็นเพียงปัญหาในเรื่องของปริมาณนักวิชาการประวัติศาสตร์วิทยา (historical sciences) ที่มีจำนวนน้อยเท่านั้น แต่ปัญหาสำคัญของการศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิภาคคือ ความจำเป็นในการร่วมมือกันค้นคว้าวิจัยของนักวิชาการของทุกประเทศในภูมิภาคเดียวกัน ทั้งนี้ยังไม่นับปัญหาในเรื่องของข้อจำกัดของงบประมาณที่ประเทศต่างๆให้การสนับสนุน ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาตามแนวทางประวัติศาสตร์ภูมิภาคและความจำเป็นอย่างยิ่งยวดของความร่วมมือในการค้นคว้าวิจัยประวัติศาสตร์วิทยาของภูมิภาคลุ่มน้ำโขงนี้ จึงได้ริเริ่มจัดโครงการประชุมวิชาการนานาชาติประวัติศาสตร์ โบราณคดี นิรุกติศาสตร์ครั้งที่ 1 "ประเด็นศึกษาและวิธีการศึกษา" เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักร่วมกันึงความสำคัญและจำเป็นของประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในหมู่นักวิชาการทั้งไทยและต่างประเทศ อีกทั้งเพื่อเป็นการสร้างเวทีกลางให้เกิดการพบปะและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของนักวิชาการประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนิรุกติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั่วทุกมุมโลก การจัดประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้จะช่วยทำให้ภารกิจด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรสาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและหลักสูตรสาขาวิชาประวัติศาสตร์ ทั้งระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษามีความเข้มแข็งควบคู่ไปกับความก้าวหน้าทางวิชาการด้านภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษาของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อนำเสนอผลการวิจัยและผลงานวิชาการเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ โบราณคดี และนิรุกติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
2.เพื่อส่งเสริมการค้นคว้า เผยแพร่ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการศึกษาประวัติศาสตร์วิทยาภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Region Historical Sciences)
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงให้เป็นศูนย์วิจัยที่มีความสำคัญในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักวิชาการต่างชาติโดยเฉพาะในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นักวิชาการไทย นักศึกษา นักวิจัย บุคคลทั่วไปที่สนใจประวัติศาสตร์ โบราณคดี นิรุกติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 การประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการประชุม ได้แก่การตั้งคณะทำงานจัดประชุมพร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดทำบทความ กำหนดกิจกรรมการประชุมและวางแผนการจัดการการประชุมอย่างรอบด้าน 1.2 การประสานงานเชิญวิทยากร call for papers และประชาสัมพันธ์โครงการ ได้แก่การติดต่อประสานงานกับวิทยากร องค์ปาฐกการแจ้งรับบทความวิชาการ ตลอดจนประชาสัมพันธ์การประชุมตามสื่อต่างๆ ทั้งโปสเตอร์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และเว็บไซต์ 1.3 การจัดประชุม ได้แก่การจัดประชุมตามวัน เวลา สถานที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยจัดทำเอกสารประกอบการประชุมด้วย 1.4 การส่งรูปเล่มรายงานผลโครงการ คือการรายงานผลต่อมหาวิทยาลัยในรูปแบบเอกสาร พร้อมทั้งจัดทำเอกสารสรุปบทความการประชุม (Proceedimgs)

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์/ Call for paper/ และพิจารณาบทความ - --- 150,000.00
2.Selected Paper Annoucement --- --- -- --- 25,000.00
3.จัดประชุมวิชาการนานาชาติ --- --- --- -- 200,000.00
4.สรุปการจัดประชุม --- --- --- -- 25,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
14 กันยายน พ.ศ. 2558
08.30-09.00 ลงทะเบียน -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
15.00-16.30 นำเสนอผลงานวิชาการ ห้องประชุมย่อย 1 Mekong Region History since 19 Century ห้องประชุมย่อย 2 Mekong -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
15.00-15.15 บริการอาหารว่างในห้องประชุม -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
13.30-15.00 นำเสนอผลงานวิชาการ ห้องประชุมย่อย 1 Mekong Region philology ห้องประชุมย่อย 2 Mekong Region Archaeo -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
12.30-13.30 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
11.30-12.30 บรรยายพิเศษเรื่อง "Mekong Region philology" ศาสตราจารย์ ดร.ธีระพันธ์ เหลืองทองคำ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14 กันยายน พ.ศ. 2558
10.45-11.30 บรรยายพิเศษเรื่อง "Mekong Region Archaeology" ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.สุริยวุฒิ สุขสวัสดิ์ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
14 กันยายน พ.ศ. 2558
10.30-10.45 บริการอาหารว่างในห้องประชุม -
14 กันยายน พ.ศ. 2558
09.30-10.30 ปาฐกถาพิเศษเรื่อง "Makong Region History : Why and How?" ศาสตราจารย์ ดร.ปิยนาถ บุนนาค คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14 กันยายน พ.ศ. 2558
09.00-09.30 พิธีเปิด โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กล่าวรายงานโดย คณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธาน -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
15.00-16.30 นำเสนอผลงานวิชาการ ห้องประชุมย่อย 1 Mekong Region History since 19 Century ห้องประชุมย่อย 2 Mekong -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
15.00-15.15 บริการอาหารว่างในห้องประชุม -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
13.00-15.00 นำเสนอผลงานวิชาการ ห้องประชุมย่อย 1 Mekong Region Philology ห้องประชุมย่อย 2 Mekong Region Archaeo -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
09.00-12.00 เสวนาวิชาการเรื่อง "Research in Mekong Region History,Archaeology and philology : Problems and Appra นายมิตต ทรัพย์ผุด
15 กันยายน พ.ศ. 2558
08.30-09.00 ลงทะเบียน -
15 กันยายน พ.ศ. 2558
16.30 กล่าวสรุปและปิดงาน โดย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี -

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : หนังสือรวมบทความในลิขสิทธิ์ศูนย์วิจัยสังคมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.บุคคลกร นักวิชาการ นักวิจัย นักศึกษามีเวทีนำเสนอบทความทางวิชาการ ได้ร่วบรวมความรู้กับผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปศึกษาวิจัยให้ลุ่มลึกยิ่งขึ้น 2. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เครือข่ายนักวิชาการด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก 3.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้องค์ความรู้ทางด้านภาษาและวัฒนธรรมตะวันออกจัดทำเอกสารสรุปบทความการประชุม (Proceedings) เป็นรูปเล่ม

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์การวิจัยทางด้านประวัติศาสตร์วิทยาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงในราคาประหยัด

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1432210 ปรัชญาและระเบียบวิธีวิจัยประวัติศาสตร์ 1454141 ประวัติศาสตร์ภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
หลักสูตร สาขาประวัติศาสตร์ สาขาและวัฒนธรรมภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 3 นักศึกษาชั้นปีที่1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 27,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 5,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 21,800.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
5,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
16,800.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 322,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 144,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 120,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 5 คน x ครั้งละ 20,000.00 บาท
=
100,000.00 บาท
2) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 10,000.00 บาท
=
20,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 10 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
24,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 300.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 36,000.00 บาท )
- จำนวน 5 คัน x จำนวน 2 วัน x ราคา 3,600 บาท/คัน/วัน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 40,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 4 เดือน x เดือนละ 10,000.00 บาท
=
40,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 64,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างทำเอกสารการประชุม
=
30,000.00 บาท
2) ค่าทำเสื้อคณะกรรมการจัดงาน
=
4,200.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาทำเว็บไซต์เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ รับข้อเสนอผลงาน แจ้งผลการพิจารณาผลงาน
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 45,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
20,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 15,000.00 บาท )
1) ค่ากระเป๋าเอกสาร
=
15,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 5,600.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 200 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
600.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 5000 บาท
=
5,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 400,000.00 บาท