แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ สร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในการประเมินและลดผลกระทบของอุตสาหกรรม เตาเผาอิฐที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ
ลักษณะโครงการ อื่นๆ : โครงการภาพรวมของคณะที่เน้นความเข้มแข็งของชุมชน
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายปาริชาติ วงศ์เสนา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : แพทยศาสตร์ วุฒิบัตรผู้มีความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาพยาธิวิทยากายวิภาค
ประสบการณ์ : กลุ่มงานพยาธิวิทยากายวิภาค รพ. สรรพสิทธิประสงค์ 2545-2550
ความเชี่ยวชาญ : พยาธิวิทยากายวิภาค
หัวหน้าโครงการ
นางสาวปัณฑิตา สุขุมาลย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ : -ผู้จัดรายการปัญหาสุขภาพ สถานีวิทยุ FM. 98.5 มุกดาหาร ปี 2548 - 2550 -ผู้ร่วมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการ การตรวจสุขภาพนักเรียน หิด เหา ปี 2554 -ผู้ร่วมโครงการอนามัยสิ่งแวดล้อมตำรวจตะเวนชายแดน งบปี 2555 -ผู้ร่วมโครงการการดูแลผู้สูงอายุ 2556 -ผู้ร่วมโครงการวิจัย โครงการวิจัย รูปแบบการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการใช้สารกำจัดศัตรูพืชอย่างปลอดภัยโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน กรณีศึกษา : บ้านหัวเรือทอง หมู่ 16 ตำบลหัวเรือ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ทุนวิจัย สกว. -บทความวิจัย ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนในเด็กนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่มีภาวะโภชนาการเกิน
ความเชี่ยวชาญ : การให้คำปรึกษาครอบครัวและชุมชน การสื่อสารปัญหาชุมชน อนามัยชุมชน
ผู้ร่วมโครงการ
นางลักษณีย์ บุญขาว คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในพื้นที่ของตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการประกอบอาชีพทำอิฐมอญแดงที่ได้สร้างรายให้กับคนในพื้นที่ได้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ทำให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโดยในพื้นที่ตำบลหนองกินเพลมีทั้งสิ้น 9 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านที่ประกอบอาชีพทำอิฐมอญแดงขายมากที่สุด 2 หมู่บ้านคือ หมู่ 2 และหมู่ 6 มีจำนวนโรงเผาอิฐมอญแดงประมาณทั้งสิ้นจำนวน 50 โรงเผา ซึ่งในแต่ละโรงมีพนักงานทำงานประมาณ 5-7 คน โดยขั้นตอนของการทำอิฐมอญนั้นจะมีความเสี่ยงในทุกขึ้นตอน ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการรับดิน การปั้นอิฐด้วยเครื่อง การตากอิฐ และการเผาอิฐด้วยแกลบ โดยเฉพาะขั้นตอนการเผาอิฐด้วยแกลบที่ทำการเผาในที่โล่งส่งผลให้มีฝุ่นที่เป็นมลพิษทางอากาศเกิดฝุ่นฟุ้งกระจายและเกิดควันจากการเผาตลอดเวลา ปัจจุบันผู้ประกอบอาชีพกำลังเผชิญกับความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างไม่รู้ตัว ซึ่งจะได้รับความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยตรงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้โดยเฉพาะจากการรับสัมผัสฝุ่นที่เป็นมลสารทางอากาศจากการเผาอิฐมอญแดงอยู่เป็นประจำ ซึ่งจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพคือเกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยจากข้อมูลรายงานสถิติสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ พ.ศ. 2552 การจัดลำดับอัตราผู้ป่วยนอกตามกลุ่มสาเหตุการป่วย 10 กลุ่มแรก ทั้งประเทศและรายภาคไม่รวมกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2552 พบว่าโรคที่ติดลำดับ 1 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือมีอัตราการป่วยด้วยโรคระบบหายใจ 397.59 ต่อประชากร 1,000 คน (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2552) และสอดคล้องกับข้อมูลการสถิติการเจ็บป่วยของคนในพื้นที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกุดหวาย พบว่า ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2555-2556 พบชาวบ้านเข้ารับการรักษาอาการหอบหืด (Asthma) จำนวน 351 คน และมีอาการป่วยด้วยโรคถุงลมโป่งพอง จำนวน 83 คน (โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปากกุดหวาย, 2556) จากข้อมูลดังกล่าวหากผู้ประกอบอาชีพอิฐมอญแดงอยู่ในสภาวะที่มีฝุ่นมลสารทางอากาศตลอดทั้งปี อันเกิดจากการปล่อยออกของกระบวนการผลิตในขั้นตอนการเผาอิฐมอญโดยที่ผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ในเรื่องอนุภาคฝุ่นในการป้องกันตนเอง ไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันเนื่องจากความไม่สะดวก ซึ่งในอนาคตอาจก่อให้เกิดปัญหาต่อระบบทางเดินหายใจอย่างแพร่หลายและหากบริเวณแหล่งกำเนิดมีปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นละอองทางอากาศเกินมาตรฐานจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานจากการประกอบอาชีพเผาอิฐมอญหรือประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงได้รับความเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยฝุ่นละอองรวม (Total Dust) และฝุ่นละอองขนาดเล็ก (Respirable Dust) จะมีผลต่อระบบหายใจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อทางเดินหายใจส่วนต้นทำให้หายใจไม่สะดวก ความเสี่ยงต่อตาที่อาจทำให้เกิดการระคายเคืองทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง กระทบต่อจิตใจก่อให้เกิดความรำคาญ ส่วนฝุ่นขนาดเล็กที่สามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจส่วนปลายได้จะสามารถเข้าถึงทางเดินหายใจส่วนล่างและถุงลมปอดทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจและโรคปอดซึ่งหากได้รับติดต่อกันเป็นระยะเวลานานและมีปริมาณมาก อีกทั้งฝุ่นละอองจะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อปอดเกิดเป็นพังผืดหรือแผลเป็นทำให้การทำงานของปอดเสื่อมประสิทธิภาพลดลง หลอดลมอักเสบ มีอาการหอบหืด ถุงลมโป่งผอง และมีโอกาสติดโรคระบบทางเดินหายใจเนื่องจากการติดเชื้อมากขึ้น (สุจิรา ประสารพันธ์, 2545) จากสภาพปัญหาดังกล่าวทางคณะผู้ได้ตระหนักถึงผลกระทบของฝุ่นที่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้ประกอบอาชีพและประชาชนที่อยู่โดยรอบโรงงานอิฐมอญ จึงมีแนวคิดที่จะทำการศึกษาข้อมูลปริมาณฝุ่น เพื่อประเมินผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี หมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 6 ที่มีจำนวนโรงเผาอิฐมอญแดงมากที่สุด เพื่อเป็นข้อมูลในการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยจะเริ่มจากการกำหนดกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป้วย ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ผู้ที่สูบบุหรี่ ข้อมูลที่ได้จากทุกขั้นตอนจะมีการส่งมอบให้กับชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประกอบการวางแผนและป้องกันสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ให้มีความยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อศึกษาความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นจากขั้นตอนการเผาอิฐมอญ ในพื้นที่หมู่ 2 และหมู่ 6 ตำบลหนองกินเพล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
2.เพื่อประเมินผลกระทบของฝุ่นละอองที่มีต่อภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคทางเดินหายใจในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอิฐมอญ ประชาชนกลุ้มเสี่ยงในพื้นที่ หมู่ 2 และ หมู่ 6 ตำบลหนองกินเพล ได้แก่ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้เจ็บป่วยด้วยโรคหัวใจ และผู้สูบบุหรี่
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. จัดทำแผนที่เดินดินเพื่อประเมินการกระจุกและกระจายตัวของเตาเผาอิฐระยะห่างจากชุมชนตลอดจนภูมิประเทศของพื้นที่ตั้งเตาเผาอิฐ 2.ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดฝุ่นละอองแบบติดที่ตัวบุคคล สำหรับคนงานของโรงอิฐมอญละ 1 คน จำนวน 50 จุด 3. ตรวจวัดฝุ่นละอองแบบพื้นที่บริเวณโรงงานอิฐมอญจำนวน 50 จุด 4.ตรวจวัดฝุ่นละอองแบบพื้นที่บริเวณพื้นที่ชุมชนจำนวน 25 จุด (ตัวแทนพื้นที่ในชุมชนโดยคิดจากพื้นที่ที่ความหนาแหน่นของโรงเผาอิฐ จำนวนประชาชน ทิศทางลม สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน และพื้นที่ที่มีความอ่อนไหวต่อผลกระทบ ได้แก่ วัด โรงเรียน โรงพยาบาล เป็นต้น) 5. รายงานผลต่อประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น รพ.สต. ผู้นำชุมชน เพื่อรับทราบสถานการณ์และวางแผนกำหนดพื้นที่ที่ต้องดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพ 5. ประเมินสมรรถภาพของปอดและภาวะสุขภาพในประชากรกลุ่มเสี่ยง

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานผู้รับผิดชอบพื้นที่และผู้นำชุมชน -- --- --- --- 20,000.00
2.ประชุมชี้แจงโครงการ -- --- --- --- 0.00
3.ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง พร้อมสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงประชาชกร --- --- 100,000.00
4.ประเมินการสมรรถภาพของปอดในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ --- --- --- 40,000.00
5.ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล --- --- --- -- 40,000.00
6.สรุปคืนข้อมูลให้กับชุมชน --- --- --- -- 0.00
7.สรุปผลโครงการและจัดทำรายงานโครงการฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 332 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
14.00 น. ประชุมคณะกรรมการโครงการ อ. นิตยา จิตบรรเทิง
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
13.00 น. ประชุมหารือร่วมกับ รพ.สต. ปากกุดหวาย อบต. หนองกินเพล งานอาชีวอนามัยโรงพยาบาลวารินชำราบ และ สสจ. อุบล ผู้รับผิดชอบโครงการ
1 ธันวาคม พ.ศ. 2557
9.00-12.00 น. ประชุมชี้แจงโครงการต่อผู้นำชุมชน ผู้รับผิดชอบโครงการ
5 มกราคม พ.ศ. 2558
ลงพื้นที่ตรวจวัดปริมาณฝุ่นละออง พร้อมสำรวจข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงประชากร อ. นิตยา จิตบรรเทิง
13 เมษายน พ.ศ. 2558
ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอดในประชากรกลุ่มเสี่ยง พญ. ศุทธินี ตรีโรจน์พรและคณะ
14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประมวลและวิเคราะห์ข้อมูล อ. นิตยา จิตบรรเทิง
10 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สรุปคืนข้อมูลให้ชุมชน อ. นิตยา จิตบรรเทิง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง ส่งผลในการลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ด้านสังคม : ชุมชนเกิดกระบวนการรวมกลุ่มประชาคมเพื่อการพึ่งตัวเองในด้านสุขภาพ
ด้านสิ่งแวดล้อม : ชุมชนทราบขอบเขตและความรุนแรงของผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากอุตสาหกรรมเตาเผาอิฐ เพื่อประกอบการพิจารณาปรับปรุงกระบวนการผลิตในอนาคต
ด้านอื่นๆ : องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถกำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างเหมาะสมกับพื้นที่โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่าเพราะช่วยให้ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอย่างยั่งยืนและเหมาะสมกับบริบทชุมชน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การสุ่มเก็บและวิเคราะห์ด้านอากาศ
หลักสูตร วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุข
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 80 ของนักศึกษาสามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร่วมโครงการ 100%
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ มีโครงการวิจัยหรือค้นคว้าอิสระของนักศึกษา ไม่น้อยกว่า 2 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 38,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 18,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
6,000.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนแพทย์ตรวจร่างกายจำนวน 3 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 2,000.00 บาท/ชม.
=
12,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 92,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,240.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 240.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
240.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 17,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท
2) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 2 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 15,880.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 2 เดือน x เดือนละ 7,940.00 บาท
=
15,880.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 30,580.00 บาท )
1) ค่าโทรศัพท์ประสานงานตลอดโครงการ
=
1,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมา อสม. ร่วมปฏิบัติงานตลอดโครงการ
=
10,000.00 บาท
3) ค่าจัดทำสื่อวิดิทัศน์และเอกสารประกอบการฝึกอบรม
=
15,000.00 บาท
4) ค่าจัดทำรูปเล่มรายงาน
=
4,580.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 64,410.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 26,250.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,500 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,250.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
100 คน x 80.00 บาท
=
8,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 38,160.00 บาท )
1) เช่าเหมาอุปกรณ์สำหรับตรวจฝุ่น
=
30,000.00 บาท
2) กระดาษกรองที่ใช้ในการตรวจฝุ่น
=
3,000.00 บาท
3) Mouth piece สำหรับตรวจการทำงานของปอด
=
5,160.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 5,090.00 บาท )
1) ค่าแสตมป์
จำนวน 30 ดวง x ดวงละ 3 บาท
=
90.00 บาท
2) ค่าสาธารณูปโภค
จำนวน 5000 บาท
=
5,000.00 บาท

งบประมาณทั้งสิ้น 200,000.00 บาท