แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ครู-ศิษย์ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์แและเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 3 ปี
ความเชี่ยวชาญ : การวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คำว่า ?ของเล่น? มักจะมาคู่กับคำว่า ?สนุก? และ ?ของเล่น? กับ ?เด็กๆ? ก็เป็นของคู่กัน ในการเรียนวิทยาศาสตร์เราเชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดได้ และนักเรียนจะเข้าใจ และจดจำได้ดี นักเรียนต้องได้ลงมือทำหรือเล่นกับสิ่งนั้น เมื่อเราเชื่อกันว่าเด็กทุกคนชอบของเล่นและถ้าครูรู้จักจัดของเล่นให้เหมาะกับสิ่งที่นักเรียนจะต้องเรียนรู้ แล้วนำมาใช้โดยตรงกับบทเรียน เช่น นำมาสาธิตเพื่อเข้าสู่บทเรียนหรือนำมาให้นักเรียนเล่นประกอบกิจกรรมการเรียน ก็จะเป็นดึงความสนใจ ของนักเรียนให้เกิดการอยากเรียนและอยากรู้ ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการสอน โดยกระตุ้นให้นักเรียนคิดหาคำตอบ ข้อสรุปที่เชื่อมโยงกับเนื้อหาทางวิทยาศาสตร์ที่จะเรียนต่อไป ?ครูจะให้นักเรียนเล่นอะไร จึงจะไม่เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ และได้ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้วย? ดังนั้นจึงได้จัดให้มีโครงการ ?ครู-ศิษย์ประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์? ขึ้น เพื่อตอบคำถามดังกล่าว โดยแนวคิดในการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์คือ 1. สนุก , กระตุ้นความสนใจ : จุดประกายความสนใจด้านวิทยาศาสตร์แก่เยาวชน 2. ใช้อธิบายหลักวิทยาศาสตร์ได้ : โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยาศาสตร์พื้นฐาน 3. ส่วนประกอบหาได้ง่าย ราคาถูก : มีเงินมาก อยากทำอะไรก็ได้ หาของราคาถูกทำดีกว่า 4. อุปกรณ์/เครื่องมือ ไม่ซับซ้อน : สามารถประดิษฐ์ได้เอง อาจมีผู้ใหญ่ช่วยเล็กน้อย 5. ปลอดภัย : ทำแล้วเจ็บตัว จะเป็นวิทย์สนุกได้ไง

วัตถุประสงค์
1.ครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดฯ ได้
2.ครูสามารถใช้ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนจริงได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. ครูและนักเรียน โครงการโรงเรียนเครือข่ายพันธมิตรมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 22 โรงเรียน 2. ครูและนักเรียน กลุ่มโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ในสังกัด กก.ตชด.22 จำนวน 11 โรงเรียน ในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี อำนาจเจริญ และศรีสะเกษ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
80 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะใหญ่ๆ คือ ระยะที่หนึ่ง ขั้นการดำเนินการจัดอบรม กิจกรรมหลักในขั้นตอนนี้ก็คือ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับ เทคนิควิธีการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์และการใช้ของเล่นวิทยาศาสตร์ประกอบการเรียนการสอน 1. จัดเตรียมความพร้อมเรื่องเอกสารการอบรมและกำหนดวิทยากรในการอบรม 2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนครูอาจารย์ที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ 3. เตรียมเอกสารต่างๆ เพื่อประกอบการอบรมตามจำนวนผู้ตอบรับ 4. จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเป็นระยะเวลา 3 วัน (21-23 กรกฎาคม 2555) ระยะที่สอง ขั้นการดำเนินการและติดตามผลการดำเนินการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ กิจกรรมหลักในขั้นตอนนี้ก็คือ ครูและนักเรียนจะต้องร่วมกันประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ โดยมีทีมวิทยากรออกติดตามการดำเนินการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ตามโรงเรียนเป้าหมาย ระยะที่สาม ขั้นเผยแพร่ผลงานการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ กิจกรรมหลักในขั้นตอนนี้ก็คือ ครูและนักเรียนจะต้องนำเสนอเผยแพร่ผลงานการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์และเสนอรูปแบบในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ของเล่นที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีทั้งในรูปแบบนิทรรศการและการนำเสนอด้วย PowerPoint

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ขั้นเตรียมการ 1.1 เตรียมวิทยากรและผู้ช่วยวิทยากร 1.2 จัดเตรียมเอกสาร 1.3 นำเสนอโครงการและปรับแก้ไข 1.4 ประชาสัมพันธ์กลุ่มเป้าหมาย 1.5 รับสมัค -- --- --- --- 59.00
2.2. ขั้นดำเนินงาน 2.1 ฝึกอบรมการประดิษฐ์ของเล่นฯ 2.2 ครูนำของเล่น + รูปแบบการจัดการเรียนการสอนไปใช้จริง --- -- --- --- 77.00
3.3. ขั้นตอนการประเมินผล 3.1 ประเมินผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน --- --- -- --- 33.00
4.4. ขั้นรายงานผลการวิจัยตลอดโครงการ --- --- --- -- 10.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2555 - 30 มิถุนายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
09.00-16.00 การอบรมเชิงปฏิบัติการ ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและคณะ
2 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
09.00-16.00 ระยะติดตามผลการดำเนินงาน ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและคณะ
1 กันยายน พ.ศ. 2555
09.00-16.00 การนำเสนอชิ้นงาน ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ครูสามารถประดิษฐ์ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเอง ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อสื่อการเรียนรู้
ด้านสังคม : นักเรียนและครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับปราชญ์ชาวบ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ของเล่นที่ประดิษฐ์ขึ้นส่วนมากทำจากธรรมชาติ ได้แก่ ไ้ม้ไผ่ ใบตาล ใบมะพร้าว ใบตอง ซึ่งไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
ด้านอื่นๆ : 1. ครูมีความรู้ความเข้าใจและสามารถประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ตามแนวคิดฯ ได้ 2. ครูสามารถใช้ของเล่นทางวิทยาศาสตร์ในการจัดการเรียนการสอนจริงได้ 3. จุดประกายความสนใจด้านวิทยาศาสตร์แก่นักเรียน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
80
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
95
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
95
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณต่อผู้เข้าร่วมโครงการคนละ 2,250 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1101141 Sciences in Daily Life
หลักสูตร การศึกษาทั่วไป
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาได้รับความรู้เพิ่มขึ้น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 66,880.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 64,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 64,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
21,600.00 บาท
2) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 2,080.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 1,680.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,680.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 115,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 50,560.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 30,560.00 บาท )
1) จำนวน 20 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 264.00 บาท
=
10,560.00 บาท
2) จำนวน 20 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
20,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 คืน x จำนวน 25 ห้อง x ห้องละ 200.00 บาท
=
20,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 19,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 55.00 บาท x จำนวน 90 คน
=
19,800.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 36,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาการดำเนินการของโรงเรียน
=
16,000.00 บาท
2) ค่าทำรูปเล่มงานวิจัย
=
10,000.00 บาท
3) ค่าถ่ายทำวีดีโอ
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 182,240.00 บาท