แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางนิชนันท์ สุวรรณกูฏ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลครอบครัวและชุมชน
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ผู้ป่วยเรื้อรังเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีจำนวนมากขึ้น จากหลายปัจจัยและเป็นกลุ่มที่ต้องการการดูแลต่อเนื่องเป็นเวลานาน ดังนั้นการมีระบบสนับสนุนการดูแลที่บ้านจะช่วยในการเพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรังได้มากขึ้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบัววัดมีผู้ป่วยเรื้อรังในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานจำนวน 140 คนซึ่งในกลุ่มนี้มีโรคแทรกซ้อนที่ต้องการการดูแลต่อเนื่อง แต่จากการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มเบาหวานในปีงบประมาณ 2556 ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบัววัดพบว่าผู้ป่วยมีความต้องการการเยี่ยมบ้านมากน้อยแตกต่างกันในหลายกิจกรรมแต่ยังขาดระบบ ขาดข้อมูลในการจัดการ และการเยี่ยมบ้านยังขาดเครื่องมือ ขาดการวางแผนอย่างเป็นระบบ ตลอดจนอาสาสมัครสาธารณสุขยังขาดความพร้อมในการเยี่ยมบ้านทั้งด้านทักษะ องค์ความรู้ ถึงแม้จะได้รับการอบรมและพัฒนาเป็นระยะ แต่ยังไม่เพียงพอ นอกจากนี้พื้นที่ชุมชนบัววัดเป็นพื้นที่นักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์จัดให้เป็นพื้นที่สำหรับการเรียนในรายวิชาการฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน ดังนั้นการร่วมพัฒนาพื้นที่ให้มีความพร้อมในการเป็นต้นแบบที่ดีจึงเป็นความสำคัญยิ่งต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา การเยี่ยมบ้านเป็นกิจกรรมการพยาบาลที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรังที่บ้าน พบว่าผู้ป่วยเรื้อรังยังขาดการเยี่ยมบ้านอย่างมีประสิทธิภาพ จากการที่ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยร่วมพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเยี่ยมบ้านในชุมชนบัววัด ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบัววัดพบว่า ยังขาดข้อมูลและขาดระบบในการเยี่ยมบ้านที่จะสามารถช่วยในการวางแผน และเยี่ยมบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการเยี่ยมบ้านที่มีคุณภาพจะเป็นปัจจัยที่ช่วยในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดภาวะแทรกซ้อน ลดการตรวจรักษาในสถานบริการสุขภาพได้ นอกจากนี้การมีระบบที่สร้างความมั่นใจ และสามารถส่งเสริมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเรื้อรัง จะเอื้อต่อการดูแลตนเองในชุมชนส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตผู้ป่วย และเป็นการพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านในชุมชนได้ ดังนั้นผู้เสนอโครงการซึ่งมีความเชี่ยวชาญการพยาบาลชุมชนจึงต้องการจัดบริการวิชาการเพื่อนำความรู้สู่ชุมชน และเป็นการพัฒนาตนเองและผู้ร่วมโครงการได้แก่ อาจารย์ นักศึกษาได้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการบูรณาการในรายวิชาการพยาบาลครอบครัวและชุมชน นอกจากนี้การศึกษานี้จะทำให้สามารถพัฒนาโจทย์วิจัยที่สร้างองค์ความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาระบบการเยี่ยมบ้านเพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเรื้อรัง
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชน บุคคลากรทางการพยาบาลในการเยี่ยมบ้าน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประกอบด้วย ผู้ป่วยเรื้อรัง บุคลากรสาธารณสุข นักศึกษาพยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
340 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ พ.ย. 2556 2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ พ.ย. 2556 3. ประชุมคณะทำงาน เตรียมการดำเนินงาน พ.ค. 2557 4. ทำเรื่องขออนุมัติเงินทดรองจ่ายในโครงการ ต.ค. 2557 5. ประชาสัมพันธ์โครงการ พ.ย. 2557 6. เตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์การดำเนินโครงการ พ.ย. 2557 7. ดำเนินการตามแผน พ.ย. 2557 – ก.ค. 2558 8. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน เม.ย. 2558 9. สรุปประเมินผลโครงการ ส.ค. 2558 10. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ ส.ค. 2558

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.พัฒนาคู่มือการเยี่ยมบ้าน -- --- --- --- 64,100.00
2.พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการเยี่ยมบ้าน -- --- --- --- 27,900.00
3.อบรมการใช้คู่มือ และโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข/นักศึกษา --- - --- --- 70,500.00
4.ดำเนินการเยี่ยมบ้านตามโปรแกรม --- --- --- 8,500.00
5.สรุปและประเมินผล ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ --- --- --- -- 47,200.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 273 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
08.30-16.30 พัฒนาคู่มือการเยี่ยมบ้าน ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร
15 ธันวาคม พ.ศ. 2557
08.30-16.30 พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศการเยี่ยมบ้าน ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร
16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
08.30-16.30 อบรมการใช้คู่มือ และโปรแกรมการเยี่ยมบ้าน พยาบาล อาสาสมัครสาธารณสุข/นักศึกษา ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร
1 มิถุนายน พ.ศ. 2558
08.30-16.30 ดำเนินการเยี่ยมบ้านตามโปรแกรม ดร.เพชรตะวัน ธนะรุ่ง ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร
20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
08.30-16.30 สรุปและประเมินผล ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ ดร.เพชรตะวัน ธนะรุ่ง ผศ.ดร.สุรีย์ ธรรมิกบวร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ผู้ป่วยเรื้อรังเป้าหมายมีคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น 2.อาสาสมัครสาธารณสุข และบุคคลากรด้านสาธารณสุขมีเครื่องมือทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเยี่ยมบ้าน 3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับเยี่ยมบ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : 1.อาจารย์ และนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ได้พัฒนาทักษะการเยี่ยมบ้าน สร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณาการการวิจัยนวัตกรรม การบริการวิชาการ กับการเรียนการสอน 2. อาจารย์มีประสบการณ์ในการทำงานในพื้นที่ สามารถนำทักษะความชำนาญที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการเรียนการสอน 3. ได้คู่มือการเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเรื้อรัง 4. ได้โปรแกรมระบบสารสนเทศเพื่อการเยี่ยมบ้าน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
306
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชา ฝึกการพยาบาลครอบครัวและ ชุมชน 1
หลักสูตร หลักสูตร ปริญญาตรี
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ100 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 90,580.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,800.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 45,780.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 45,780.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
3,780.00 บาท
2) จำนวน 20 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
42,000.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 16,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 2,000.00 บาท/ชม.
=
6,000.00 บาท
2) ค่าตอบแทนอาสาสมัคร สาธารณสุขจำนวน 5 คน x จำนวน 20 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 122,700.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
500.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
500.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
10,000.00 บาท
4) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 23,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
1,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
1,000.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
20,000.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
1,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 85,200.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มคู้มือ 200 ชุด x 200 บาม
=
40,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาพัฒนาโปรแกรม
=
10,000.00 บาท
3) ค่าเดินทางเหมาจ่ายสำหรับ อาสาสมัครที่เข้ารับการอบรม 100 x 100 บาท
=
10,000.00 บาท
4) ค่าเช่ารถ 20 วันๆละ 500 บาท
=
10,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาการถ่ายทำวีดีทัศน์กรณีศึกษา
=
5,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาพิมพ์
=
1,200.00 บาท
7) ค่าตอบแทนการจัดพิมพ์
=
3,000.00 บาท
8) ค่าตอบแทนการบันทึกข้อมูล
=
3,000.00 บาท
9) ค่าตอบแทน การถอดเทปและพิมพ์
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 65,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 31,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
40,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
20,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
11,000.00 บาท
=
11,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 34,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโครงการ
=
31,000.00 บาท
2) ค่าจัดทำเล่มสรุป
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 278,280.00 บาท