แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ศึกษาสุขภาวะชุมชนและให้บริการวิชาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (โครงการลูกฮักลูกแพง)ปีที่3
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพ อนามัยของชุมชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางรวีวรรณ เผ่ากัณหา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การบริหารการศึกษา
ประสบการณ์ : สอน วิจัย ด้านการพยาบาลและการพยาบาลผู้สูงอายุ
ความเชี่ยวชาญ : การพยาบาลผู้สูงอายุ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ดำเนินการโครงการ ศึกษาสุขภาวะชุมชนและให้บริการวิชาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (โครงการลูกฮักลูกแพง) โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณในปีงบประมาณ 2555-2556 มาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการให้บริการเพื่อสร้างเสริมสุขภาพคนในชุมชน ให้เป็นชุมชนที่มีสุขภาวะที่ดี โดยให้ประชาชน นักศึกษา และอาจารย์พยาบาล มีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบสุขภาพ และมีการบูรณาการงานบริการสู่การเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ได้แก่ รายวิชาฝึกปฏิบัติการพยาบาลครอบครัวและชุมชน 1 รายวิชาส่งเสริมสุขภาพ รายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ และ รายวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 1 ผลการดำเนินงานใน ระยะ 2 ปี ที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ที่ศึกษา ประกอบด้วย ชุมชนในเขตตำบลบัววัดและ ชุมชนในเขตเทศบาลเมืองศรีไค มีความกระตือรือร้นที่จะร่วมพัฒนาสุขภาพตนเอง และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ในการให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้จากพ่อแม่อุปถัมภ์ ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในการสร้างพยาบาลของชุมชนให้มีสมรรถนะตามที่หลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกำหนด นอกจากนี้ยังได้จัดทำฐานข้อมูลสุขภาพชุมชนของพื้นที่ที่ศึกษา เพื่อความสะดวกในการค้นหา เพื่อให้บริการสุขภาพแก่กลุ่มเป้าหมายตามปัญหาและความต้องการได้อย่างรวดเร็ว และยังเป็นฐานข้อมูลให้อาจารย์ได้เลือกกรณีศึกษาที่จะมอบหมายให้นักศึกษารับผิดชอบได้อย่างเหมาะสม ฐานข้อมูลดังกล่าว ครอบคลุม ข้อมูลการพัฒนาศักยภาพชุมชน ข้อมูลการสื่อสารในชุมชน ข้อมูลครอบครัวและภาวะสุขภาพ ข้อมูลประชากร ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว ตามกรอบฐานข้อมูล TCNAP ผลการพัฒนาฐานข้อมูลทำให้นักศึกษา บุคลากรสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวางแผนในการจัดการสุขภาพชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานโครงการในปี2555-2556 นอกจากการจัดทำระบบฐานข้อมูลและยังได้วางแผนให้บริการวิชาการโดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพ ในกลุ่มเป้าหมายที่กำหนด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มผู้เด็กและเยาวชน และ เพื่อตอบสนองต่อการส่งเสริมและป้องกันปัญหาด้านความพิการและจิตเวช การเสริมสร้างศักยภาพผู้ดูแล ดังนั้นในการจัดโครงการปีงบประมาณ 2557 จึงได้เพิ่มกลุ่มเป้าหมายเกี่ยวกับสุขภาพผู้พิการและผู้ป่วยทางจิต และผู้ดูแล นอกจากนี้ ในช่วง 2 ปี ที่ดำเนินการผ่านมา พบว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญทั้งเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ เป็น อสม. เป็นผู้ดูแล ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ ดังนั้นในปีงบประมาณ 2557 จึงเน้นการจัดกิจกรรมมหกรรมการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อเป็นเวทีหรือ โรงเรียนผู้สูงอายุ ซึ่งจะทำให้ชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับการดูแลส่งเสริมผู้สูงอายุมากขึ้น ตอบสนองการเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน การพัฒนานวัตกรรมในการดูแล และ ถ่ายทอดความรู้แก่สังคม เพื่อให้ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มและตอบสนองนโยบายของภาครัฐและชุมชน การดำเนินโครงการศึกษาสุขภาวะชุมชนและให้บริการวิชาการโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (โครงการลูกฮักลูกแพง) ยังเน้นการบูรณาการสู่การเรียนการสอน การวิจัยและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม รวมทั้งการปฏิบัติงานของอาจารย์ที่ร่วมรับผิดชอบการดูแลครอบครัวอุปถัมภ์ร่วมกับนักศึกษา ที่อยู่ในความดูแล โดยคาดหวังว่า นักศึกษาจะเกิดผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิในด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้เฉพาะสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ การพัฒนาภาวะผู้นำของนักศึกษา การพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การสร้างเสริมอัตลักษณ์นักศึกษาด้านการมีจิตสำนึกต่อชุมชน และการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านครอบครัวอุปถัมภ์

วัตถุประสงค์
1.1. พัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุเพื่อสุขภาวะผู้สูงอายุ 2. ให้บริการสุขภาพประชาชนในพื้นที่เป้าหมายประกอบด้วยกลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ป่วยจิตเวช และกลุ่มผู้ดูแล กลุ่มเด็กและเยาวชนในชุมชน 3. พัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในรูปแบบครอบครัวอุปถัมภ์ 4. พัฒนานักศึกษาพยาบาลด้านคุณธรรมจริยธรรม การทำงานเป็นทีม และจิตอาสา 5. สร้างกระบวนการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ประชาชนในพื้นที่ บุคลากรสาธารณสุข นักศึกษาพยาบาล อาจารย์พยาบาลและบุคลากร รวมทั้งสิ้นจำนวน 1,158 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
1158 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. เขียนโครงการเสนอขออนุมัติ2. จัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานโครงการ3. ประชุมคณะทำงาน เตรียมการดำเนินงาน 4. ทำเรื่องขออนุมัติเงินทดรองจ่ายในโครงการ5. ประชาสัมพันธ์โครงการ6. เตรียมสถานที่ วัสดุอุปกรณ์การดำเนินโครงการ7. ดำเนินการตามแผน8. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน9. สรุปประเมินผลโครงการ10. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. เตรียมความพร้อม อาจารย์ นักศึกษาพยาบาล และชุมชน -- --- --- --- 30,200.00
2.2.กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์ (มอบลูกฮักลูกแพง) --- --- --- 50,000.00
3.3.กิจกรรมมหกรรมการพยาบาลผู้สูงอายุไทยก้าวไกลไปกับอาเซียน --- -- --- --- 285,500.00
4.4.กลุ่มประชาคม การพัฒนาศูนย์เรียนด้านผู้สูงอายุในชุมชน --- -- --- --- 23,000.00
5.5.กิจกรรมอบรมอาสาสมัครผู้ดูแลผู้ป่วย เรื้อรัง --- -- --- --- 50,000.00
6.6.สรุปและประเมินผล ถอดบทเรียนและสังเคราะห์องค์ความรู้ --- --- -- --- 61,300.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2556 - 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 รวมเวลา 224 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
19 มกราคม พ.ศ. 2556
8.00-16.00 กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์ ธันวาคม 2556- พฤษภาคม 2557 ดร.นำพิชญ์ ธรรมหิเวศน์และคณะ
20 ธันวาคม พ.ศ. 2556
08.00 – 16.00 น. การเตรียมความพร้อมอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และชุมชน ดร.นำพิชญ์ ธรรมหิเวศน์และคณะ
25 มกราคม พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรมกระบวนการพัฒนาศูนย์เรียนด้านผู้สูงอายุในชุมชน ดร.รวีวรรณ เผ่ากัณหา และ วิทยากรผู้สูงอายุ
11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
8.00-16.00 3.กิจกรรมโครงการย่อย มหกรรมสุขภาพผู้สูงอายุไทยก้าวไกลสู่อาเซียน ดร.รวีวรรณ เผ่ากัณหา และ วิทยากรผู้สูงอายุ
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์ ดร.นำพิชญ์ ธรรมหิเวศน์และคณะ
15 มีนาคม พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์ ดร.นำพิชญ์ ธรรมหิเวศน์และคณะ
20 มีนาคม พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรม อบรมอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง อ.ยมนา ชนะนิลและคณะ
21 มีนาคม พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรม อบรมอาสาสมัครดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง อ.ยมนา ชนะนิลและคณะ
13 มิถุนายน พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรม การสังเคราะห์องค์ความรู้และสรุปบทเรียน ผศ.ดร.สงว นธานี และคณะ
14 มิถุนายน พ.ศ. 2557
8.00-16.00 กิจกรรม การสังเคราะห์องค์ความรู้และสรุปบทเรียน ผศ.ดร.สงวน ธานีและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -1. อาจารย์คณะพยาบาลศาสตร์ได้พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานทางด้านการพยาบาล สร้างองค์ความรู้ใหม่จากการบูรณา การ การบริการวิชาการกับการเรียนการสอนและการวิจัย 2. องค์กรท้องถิ่น สถานบริการสุขภาพในพื้นที่เป้าหมาย มีความตระหนักและมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ และร่วมศูนย์การเรียนรู้ด้านผู้สูงอายุในชุมชน 3. มีฐานข้อมูลครอบครัวอุปถัมภ์ (พ่อฮักแม่ฮัก) ในพื้นที่ศึกษา ที่สามารถ นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ได้อย่างต่อเนื่อง 4. นักศึกษาได้องค์ความรู้ด้านสุขภาวะของครอบครัวและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังชุมชน จากการศึกษาในสภาพการณ์จริงโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันกับชุมชนเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์ 5. นักศึกษาเกิดการพัฒนาความรับผิดชอบการทำงานเป็นทีม มีการพัฒนาด้านภาวะผู้นำ ความสามัคคี การมีจิตอาสา ตามอัตลักษณ์ที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด 6. คณะพยาบาลศาสตร์ให้บริการวิชาการตามความต้องการของผู้สูงอายุและชุมชนในพื้นที่ 7. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับความรู้และทักษะในการดูแลส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ 8. เกิดการพัฒนาเครือข่ายครอบครัวอุปถัมภ์
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
1158
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
หลักสูตร หลักสูตร ปริญญาตรี พยาบาลศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : นักศึกษาชั้นปีที่ 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน แผนการสอนหััวข้อที่บูรณาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ100
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 90,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 55,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
1,200.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 54,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
4) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท
5) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,200.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
1,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 4,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
4,200.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนผู้สูงอายุจำนวน 300 คน x จำนวน 1 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 289,900.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 62,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท
3) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 550 คน
=
27,500.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท
5) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท
6) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 77,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
10,000.00 บาท
3) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 550 คน
=
44,000.00 บาท
4) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
5,000.00 บาท
5) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
5,000.00 บาท
6) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 64,000.00 บาท )
- จำนวน 16 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 4,000 บาท/คัน/วัน
=
64,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 86,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างทำเอกสารเผยแพร่
=
44,000.00 บาท
2) ค่าจัดทำเอกสารสรุปประเมินผล
=
2,000.00 บาท
3) ค่าจ้างทำกระเป๋า (ของที่ระลึก)
=
33,000.00 บาท
4) ค่าจ้างทำเอกสารประเมินโครงการ
=
2,000.00 บาท
5) ค่าจ้างทำเอกสารประเมินโครงการ
=
2,400.00 บาท
6) ค่าเดินทางวิทยากร
=
1,000.00 บาท
7) ค่าเช่ารถ
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 119,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 86,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
41,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
20,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
31,000.00 บาท
=
31,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
20,000.00 บาท
=
20,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
15,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 33,200.00 บาท )
1) ค่าวัสดุโครงการ
=
33,200.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 500,000.00 บาท