แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เปิดบ้านศิลปศาสตร์
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ชญานนท์ แสงศรีจันทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : จารึกภาษาไทย
ประสบการณ์ : 1.หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอีสานกับการบูรณาการหลักสูตรท้องถิ่น 2. หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ สัมมนาเพื่อพัฒนาการสอนภาษาไทย 3. หัวหน้าโครงการบริการวิชาการและโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องอักษรโบราณอีสาน 4. หัวหน้าโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โครงการปริวรรตเอกสารใบลานอีสาน กรณีศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี 5. หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ภาษาและวัฒนธรรมตะวันออก
ความเชี่ยวชาญ : 1. ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอีสาน 2. การอ่านและปริวรรตอักษรธรรมอีสาน อักษรไทน้อย
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะศิลปศาสตร์เป็นองค์กรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ดำเนินการสอนในสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยเปิดสอนในระดับปริญญาตรีตั้งแต่ พ.ศ. 2543 และเปิดสอนในระดับปริญญาโทเมื่อ พ.ศ. 2545 ปัจจุบันคณะศิลปศาสตร์เปิดสอนทั้งในหลักสูตรปริญญาตรีและปริญญาโท รวมทั้งสิ้น 10 หลักสูตร เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 8 หลักสูตรคือ การท่องเที่ยว ภาษาอังกฤษและการสื่อสาร การพัฒนาสังคม ประวัติศาสตร์ ภาษาไทยและการสื่อสาร ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น และนิเทศศาสตร์ และหลักสูตรระดับปริญญาโท 2 หลักสูตร คือสังคมศาสตร์และการพัฒนา และ การสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ โดยหลักสูตรทั้งหมดดำเนินการภายใต้วิสัยทัศน์คณะที่ว่า ?ศูนย์กลางความรู้ด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรมในอีสานใต้และลุ่มน้ำโขง ? คณะศิลปศาสตร์มีหลักสูตรที่หลากหลายทั้งด้านภาษา วัฒนธรรมและสังคม แต่ละปีหลักสูตรดังกล่าวทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทสามารถผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมเป็นจำนวนมาก และบัณฑิตเหล่านั้นต่างก็ออกไปรับใช้สังคมโดยการทำงานในหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน นอกจากการผลิตบัณฑิตแล้ว เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ดังกล่าวคณะยังดำเนินพันธกิจทางด้านการวิจัย บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทางด้านภาษา สังคม และวัฒนธรรม โดยในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาคณะมีโครงการวิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับอีสานใต้และลุ่มน้ำโขงจำนวนมาก เช่น ชุดโครงการวิจัยชายแดน โครงการบริการวิชาการอบรมครูผู้สอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมการแสดงละครภาษาอังกฤษของหลักสูตรภาษาอังกฤษและการสื่อสารเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นคณะยังมีศูนย์ข้อมูลอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งเป็นศูนย์รวบรวมข้อมูลทางด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ของประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขงทั้งที่เป็นหนังสือ เอกสารสิ่งพิมพ์ สื่อโสตทัศนวัสดุต่างๆ อย่างไรก็ดีแม้ว่าคณะจะมีภารกิจทั้งการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมออกสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ และภารกิจกิจดังกล่าวยังตอบสนองต่อการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ( AEC )ใน พ.ศ 2558 อีกด้วย แต่การดำเนินการทางวิชาการของคณะยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุก อนึ่ง คณะศิลปศาสตร์ได้จัดโครงการเปิดบ้านศิลปศาสตร์ในปีงบประมาณ 2556 ที่ผ่านมา และได้จัดรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย ทั้งในภายในคณะศิลปศาสตร์ และในภายนอกสถานที่คือ ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี การดำเนินการดังกล่าวประสบความสำเร็จด้วยดี อย่างไรก็ตาม การจัดโครงการเปิดบ้านศิลปศาสตร์ในลักษณะดังกล่าว ยังจำเป็นต้องขยายพื้นที่ไปสู่กลุ่มเป้าหมายให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างและควรกระทำอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น จึงเห็นควรจัดโครงการเปิดบ้านศิลปะศาสตร์ครั้งที่ 2 ขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ อีกทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายทางวิชาการ เครือข่ายการบริการวิชาการ และเครือข่ายการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับองค์กรภายนอกในเขตพื้นที่บริการ ซึ่งมีความสอดคล้องกับพันธกิจของคณะทั้งด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอีกทางหนึ่งด้วย

วัตถุประสงค์
1.1.เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่การดำเนินงานทางวิชาการและหลักสูตรต่างๆของคณะศิลปศาสตร์ให้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
2.2.เพื่อสร้างเครือข่ายวิชาการ การให้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระหว่างคณะศิลปศาสตร์และโรงเรียน /ชุมชน /องค์กรในเขตพื้นที่ให้บริการ

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักเรียนและครูแนะแนวในโรงเรียนที่อยู่ในพื้นที่บริการ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการ 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ 3.ติดต่อเชิญวิทยากร และติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 4.จัดกิจกรรมในภายในคณะและภายนอกคณะ 5.จัดประชุมสรุปงาน 6.รายงานผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการ -- --- --- --- 0.00
2. 2.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 50,000.00
3.3.ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/โรงเรียนที่เกี่ยวข้อง --- --- - --- 10,000.00
4.จัดกิจกรรมในภายในคณะและภายนอกคณะ --- --- --- -- 200,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
08.30-09.00 ลงทะเบียน -
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
09.00-09.15 พิธีเปิด
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
09.15-10.30 เสวนา เรียนศิลปศาสตร์แล้ว ไปทำอะไร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ประธานหลักสูตร
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
10.30-10.45 ถาม - ตอบ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ และบุคคลที่เกี่ยวข้อง
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
11.00 - 12.00 กิจกรรมนันทนาการ การแสดงของนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
13.00 - 15.00 การแข่งขันการแสดงของนักเรียน ม.ปลาย
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
15.00 - 15.30 กิจกรรมนันทนาการ การแสดงของนักศึกษา สโมสรนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
15.30 - 1600 พิธีมอบรางวัลชนะเลิศการประกวดการแสดงระดับมัธยมศึกษาปลาย และพิธีปิด คณบดี รองวิชาการ นักศึกษา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : เกิดเครือข่ายวิชาการ การให้บริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระหว่างคณะศิลปศาสตร์ กับโรงเรียน/ชุมชน/องค์กรในเขตพื้นที่ให้บริการวิชาการ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : ผลงานทางวิชาการและหลักสูตรต่างๆของคณะศิลปศาสตร์เป็นที่รู้จักมากขึ้น และมีผู้เข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์เพิ่มมากขึ้น

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
500
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
90
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
90
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ความคุ้มค่าโดยคิดค่าเฉลี่ยต่อผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด คนละ 400 บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักสูตรละ 1 รายวิชา
หลักสูตร ทุกหลักสูตรของคณะศิลปศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวน 100 คน
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 5,700.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,700.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,700.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,100.00 บาท
2) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
3,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 122,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 500 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 100,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมากิจกรรมการแสดงและซุ้มหลักสูตร 10 โครงการx5000 บาท
=
50,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 10,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 10,300.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
4,800.00 บาท
=
4,800.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,500.00 บาท
=
5,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 138,500.00 บาท