แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการจัดการระบบบริหารห้องปฏิบัติการปลอดภัย เครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายปรีชา บุญจูง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เภสัชเคมีและพฤกษเคมี
ประสบการณ์ : ทำงานบริการวิชาการมากกว่า 6 ปี
ความเชี่ยวชาญ : เภสัชเคมีและพฤกษเคมี งานสร้างเสริมสุขภาพ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นหนึ่งในเครือข่ายคณะเภสัชศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (คภ.สสส.) ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัยขึ้นภายในคณะฯ โดยให้ความสำคัญต่อการดำเนินการห้องปฏิบัติการปลอดภัยทั้งในระดับนโยบาย หลักสูตร การเรียนการสอน สภาพแวดล้อม และการดูแลสุขภาพของบุคลากร และปลูกจิตสำนึกในการใช้ห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัยให้กับนักศึกษา ในปี 2555 คณะฯ ได้จัดกิจกรรมการจัดระบบบริหารห้องปฏิบัติการ มีการเผยแพร่ข้อมูล และการพัฒนาให้หน่วยงานภายนอกคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีระบบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับระบบการบริหารห้องปฏิบัติการอย่างถูกต้อง ตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัย และได้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2551 จนกระทั่งปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้พัฒนาระบบการบริหาร ห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง จนสามารถพัฒนาเป็นต้นแบบของห้องปฏิบัติการปลอดภัยต้นแบบแก่ห้องปฏิบัติการ ระดับเอกชนและราชการ ทั้งภายในและภายนอกจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินงานกอปรทั้งเป็นการกระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับระบบความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการได้มีการตระหนักถึงความสำคัญและมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง อันจะเกิดประโยชน์ต่อคณะเภสัชศาสตร์ นักศึกษาและประชาคมในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตลอดจนเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัยภายในจังหวัดอุบลราชธานี การดำเนินการในการพัฒนาระบบการบริหารห้องปฏิบัติการให้เกิดความยั่งยืนเป็นสิ่งที่ควรมีการบูรณาการให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานและควรมีการดำเนินและพัฒนาต่อไปอย่างต่อเนื่อง ห้องปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้พัฒนาโครงการขึ้นโดยการจัดกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการและการตระหนักถึงความปลอดภัยของบุคลากร และนักศึกษา ซึ่งมีรูปแบบการจัดกิจกรรมที่หลากหลายทั้งการให้ความรู้และการฝึกซ้อมการหนีไฟเพื่อให้บุคลากรภายในคณะ ฯ ตระหนักถึงความสำคัญอันจะนำมาซึ่งการปฏิบัติจนเป็นกิจวัตร พร้อมทั้งเป็นต้นแบบและนำไปสู่การขยายผลแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งทำให้กิจกรรมอันดีนี้เกิดความยั่งยืนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการ และกลไกการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัยขึ้นภายในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2.2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี
3.3. เพื่อนำระบบบริหารจัดการและกลไกการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัยนำไปสู่การปฏิบัติ และขยายผลให้กับเครือข่ายห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ในจังหวัดอุบลราชธานี ให้เกิดประโยชน์ทั่วทั้งมหาวิทยาลัย

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. เครือข่ายห้องปฏบัติการทางวิทยาศาสตร์จังหวัดอุบลราชธานีเข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 15 เครือข่าย 2. นักศึกษา อาจารย์และนักวิชาการนักวิทยาศาสตร์ ที่ทำหน้าที่ในการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการปลอดภัยรวมถึงบุคลากรที่มีความสนใจและต้องการศึกษาในการดำเนินงานระบบห้องปฏิบัติการปลอดภัย จำนวนผู้ร่วมโครงการ 200 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การดำเนินโครงการ 1. ตรวจสอบความปลอดภัยและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การจัดทำแบบตรวจสอบความปลอดภัยที่เหมาะสม และดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัย และสรุปผลการประเมิน เพื่อการปรับปรุงห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบ (เดือนกันยายน-ธันวาคม 2557) 2. กิจกรรมการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558) - จัดกิจกรรมการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้กับนักศึกษา, อาจารย์,บุคลากรประกอบด้วย ความปลอดภัยด้านเคมี,ชีวภาพ และกู้ภัยสารเคมี - จัดกิจกรรมการอบรมห้องปฏิบัติการชีวภาพปลอดภัยเรื่อง การดูแลและใช้สัตว์ทดลองสำหรับบุคลากรและนักศึกษาที่มีปฏิบัติการเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง - การจัดการระบบ การอบรมและฝึกซ้อมแผนอพยพ หนีไฟ 3. สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี (ดำเนินการ เดือนกันยายน 2557- มกราคม 2558) - ประชาสัมพันธ์เพื่อรวบรวมเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี - จัดการประชุมเพื่อระดมสมองเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี ในการ วางรูปแบบกิจกรรม แผนการฝึกอบรมและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน - จัดทำแผนเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี - แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี 4. กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดห้องปฏิบัติการตามระบบ (ดำเนินการ เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2558) - จัดกิจกรรมอบรมการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ การจัดและตรวจสอบห้องปฏิบัติการปลอดภัยและกิจกรรมอบรมการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ โดยเน้นการการจัดแบ่งชนิดและจัดแยกสารเคมีอันตราย เครื่องหมายอันตรายของรหัสสี การติดป้าย ติดฉลาก และการจัดสถานที่จัดเก็บ - เครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการปลอดภัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานจริง - ประชุมชี้แจงเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคัดเลือกห้องปฏิบัติการที่จะจัดกิจกรรมการจัดการสารเคมีอันตรายภาคปฏิบัติ อย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ 5. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนรียนรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการเครือข่าย (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2558) - เจ้าหน้าที่กลุ่มงานปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ ลงพื้นที่เพื่อจัดทำกิจกรรม ห้องปฏิบัติการปลอดภัยในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่คัดเลือกจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการห้องปฏิบัติการปลอดภัยเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี การดำเนินโครงการ 1. ตรวจสอบความปลอดภัยและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วย การจัดทำแบบตรวจสอบความปลอดภัยที่เหมาะสม และดำเนินการตรวจสอบความปลอดภัย และสรุปผลการประเมิน เพื่อการปรับปรุงห้องปฏิบัติการคณะเภสัชศาสตร์ เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบ (เดือนกันยายน-ธันวาคม 2557) 2. กิจกรรมการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558) - จัดกิจกรรมการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการให้กับนักศึกษา, อาจารย์,บุคลากรประกอบด้วย ความปลอดภัยด้านเคมี,ชีวภาพ และกู้ภัยสารเคมี - จัดกิจกรรมการอบรมห้องปฏิบัติการชีวภาพปลอดภัยเรื่อง การดูแลและใช้สัตว์ทดลองสำหรับบุคลากรและนักศึกษาที่มีปฏิบัติการเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง - การจัดการระบบ การอบรมและฝึกซ้อมแผนอพยพ หนีไฟ 3. สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัยจังหวัดอุบลราชธานี (ดำเนินการ เดือนกันยายน 2557- มกราคม 2558) - ประชาสัมพันธ์เพื่อรวบรวมเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี - จัดการประชุมเพื่อระดมสมองเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี ในการ วางรูปแบบกิจกรรม แผนการฝึกอบรมและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน - จัดทำแผนเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี - แต่งตั้งคณะกรรมการเครือข่ายเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ในจังหวัดอุบลราชธานี 4. กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดห้องปฏิบัติการตามระบบ (ดำเนินการ เดือนมีนาคม - มิถุนายน 2558) - จัดกิจกรรมอบรมการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ การจัดและตรวจสอบห้องปฏิบัติการปลอดภัยและกิจกรรมอบรมการจัดการสารเคมีในห้องปฏิบัติการ โดยเน้นการการจัดแบ่งชนิดและจัดแยกสารเคมีอันตราย เครื่องหมายอันตรายของรหัสสี การติดป้าย ติดฉลาก และการจัดสถานที่จัดเก็บ - เครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ศึกษาดูงานห้องปฏิบัติการปลอดภัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานจริง - ประชุมชี้แจงเครือข่ายห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อคัดเลือกห้องปฏิบัติการที่จะจัดกิจกรรมการจัดการสารเคมีอันตรายภาคปฏิบัติ อย่างน้อย 2 ห้องปฏิบัติการ 5. กิจกรรมการแลกเปลี่ยนรียนรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการเครือข่าย (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2558) - เจ้าหน้าที่กลุ่มงานปฏิบัติการ คณะเภสัชศาสตร์ ลงพื้นที่เพื่อจัดทำกิจกรรม ห้องปฏิบัติการปลอดภัยในหน่วยงานของมหาวิทยาลัยที่คัดเลือกจัดทำห้องปฏิบัติการปลอดภัย - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการห้องปฏิบัติการปลอดภัยเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ตรวจสอบความปลอดภัยและปรับปรุงห้องปฏิบัติการ --- --- --- 5,000.00
2.กิจกรรมการอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ --- - --- --- 20,000.00
3.สร้างเครือข่ายห้องปฏิบัติการปลอดภัย -- --- --- 10,000.00
4.กิจกรรมส่งเสริมให้เกิดห้องปฏิบัติการตามระบบ --- -- --- 30,000.00
5.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างห้องปฏิบัติการเครือข่าย --- --- - -- 30,000.00
6.สรุปและประเมินผล --- --- --- - 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 335 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
0 พ.ศ. 543
13.00-13.15 ลงทะเบียน
0 พ.ศ. 543
13.15-14.30 แนวปฏิบัติการปฏิบัติงานในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รศ.ดร.พรรณรัตน์ อกนิษฐาภิชาติ
0 มกราคม พ.ศ. 2558
10.00 น. – 10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 มกราคม พ.ศ. 2558
09.00 น. – 10.00 น. จรรยาบรรณและการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง ตัวแทนคณะกรรมการกำกับดูแลสัตว์ทดลองฯ
0 มกราคม พ.ศ. 2558
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
0 มกราคม พ.ศ. 2558
1.3 อบรมจรรยาบรรณการใช้สัตว์ทดลอง
0 มกราคม พ.ศ. 2558
13.00 น. – 13.30 น. สอบเพื่อขอเข้าปฏิบัติงาน ในห้องปฏิบัติการ
0 มกราคม พ.ศ. 2558
12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหาร
0 มกราคม พ.ศ. 2558
11.15 น. – 12.00 น. ดำเนินการในภาวะฉุกเ้ฉิน ดร.ชลลัดดา พิชญจิตติพงษ์
0 มกราคม พ.ศ. 2558
10.30 น. – 11.15 น. ความปลอดภัยด้านชีวภาพ ดร.พรทิพย์ ไววุฒิ
0 มกราคม พ.ศ. 2558
10.15 น.– 10.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 มกราคม พ.ศ. 2558
09.30 น. – 10.15 น. ความปลอดภัยด้านเคมี ผศ.ดร.สุดารัตน์ หอมหวล
0 มกราคม พ.ศ. 2558
09.00 น. – 09.30 น. ข้อปฏิบัติระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการ ผศ.ดร.ปรีชา บุญจูง
0 มกราคม พ.ศ. 2558
08.30 น. – 09.00 น. ลงทะเบียน
0 มกราคม พ.ศ. 2558
1.2 อบรมห้องปฏิบัติการปลอดภัยสำหรับนักศึกษาเภสัชศาสตร์
0 มกราคม พ.ศ. 2558
14.45-16.00 แนวปฏิบัติการปฏิบัติงานในห้องเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ(ต่อ) รศ.ดร.พรรณรัตน์ อกนิษฐาภิชาติ
0 มกราคม พ.ศ. 2558
14.30-14.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง
0 มกราคม พ.ศ. 2558
10.15 น. – 12.00 น. จรรยาบรรณการและการทำงานเกี่ยวกับสัตว์ทดลอง (ต่อ) ตัวแทนคณะกรรมการกำกับดูแลสัตว์ทดลองฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม :
ด้านสิ่งแวดล้อม : เกิดคณะเภสัชศาสตร์และหน่วยงานเกี่ยวกับปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ให้ความสำคัญต่อการ สร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับนโยบาย หลักสูตร การเรียนการสอน สภาพแวดล้อม และการดูแลสุขภาพของบุคลากร
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาปฏิบัติการเคมีวิเคราะห์
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน - นำองค์ความรู้ที่ได้ พัฒนาเป็นหัวข้อ ปฏิบัติการในรายวิชาปฏิบัติการ เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงความสำคัญในการจัดระบบและการดำเนินการในห้องปฏิบัติการปลอดภัยตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการปลอดภัย
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 21,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 17,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
3,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
5,400.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 63,550.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 7,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 1,500.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
4,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 13,750.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
10,000.00 บาท
2) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
3,750.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 28,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 200 คน
=
16,000.00 บาท
2) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 2,000 บาท/คัน/วัน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาการผลิตเอกสารประกอบการอบรม
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 15,050.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 15,050.00 บาท )
1) ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในปฏิบัติการ
=
5,000.00 บาท
2) -ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์
=
3,000.00 บาท
3) -ค่าวัสดุสำนักงานและวัสดุอื่นๆ
=
1,050.00 บาท
4) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง
=
6,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท