แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การจัดการโลจิสติกส์กับการลดต้นทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : พัฒนาระบบและกลไกการบริหารงานบริการวิชาการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับการวิจัยและการเรียนการสอน
นโยบาย : โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวปวีณา ทองบุญยัง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : วิทยากรการอบรมการเขียนแผนธุรกิจ และด้านงานวิจัย
ความเชี่ยวชาญ : ด้านบริหารธุรกิจ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
โลกของการค้ามีการพัฒนาเร็วขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าในยุคของโลกาภิวัฒน์ที่การสื่อสารโทรคมนาคมสามารถสื่อสารกันได้อย่างไร้พรมแดน ส่งผลให้การแข่งขันทางการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น ในอดีตการแข่งขันทางการค้ามักเน้นที่ต้นทุนการผลิตโดยเน้นผลิตจำนวนมากเพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยต่ำที่สุดในลักษณะของการผลิตแบบ Mass production หลังจากนั้นวิวัฒนาการโดยการหันมาเน้นแข่งขันกันในเรื่องของคุณภาพ แต่ปัจจุบันการแข่งขันทางด้านคุณภาพ ราคา และตราสินค้าไม่ใช่สิ่งที่พอเพียงอีกต่อไปแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในขณะที่คุณภาพและราคาของคู่แข่งใกล้เคียงกันจะวัดกันที่ใครสามารถส่งมอบสินค้าให้ถึงมือลูกค้าได้อย่างรวดเร็วกว่ากันมากกว่า นอกจากการมีคุณภาพที่ดีในราคาที่ถูกแล้ว ธุรกิจต้องคำนึงถึงเรื่องการแข่งขันทางด้านเวลา เป็นอีกหนึ่งปัจจัยในโลกของการค้ายุคโลกาภิวัฒน์เช่นนี้ เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้า คือระบบของการจัดการทางด้านโลจิสติกส์ซึ่งมีความสำคัญต่อการแข่งขันทางธุรกิจทั้งในด้านของการจัดการด้านต้นทุน และความเร็ว สำหรับประเทศไทยนั้น ในการจัดอันดับดัชนีความสามารถในการแข่งขันของนานาประเทศ ประจำปีพ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓ รวม ๑๓๔ ประเทศทั่วโลก โดยเวิลด์อีโคโนมิกฟอรัม ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวาประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ปรากฏว่าดัชนีความสามารถในการแข่งขันของไทยร่วงลงไป ๒ อันดับ จาก ๓๔ ลงไปที่ ๓๖ ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อกันเป็นปีที่สอง ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวอาจส่งผลมากจากหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นวิกฤติทางการเมือง การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สภาพภูมิประเทศ-ภูมิอากาศที่แปรปรวน การเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น ทำให้การแข่งขันมากขึ้น เป็นต้น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) เป็นภาคธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศ สถานการณ์ต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเป็นผลกระทบทางอ้อมอย่างหนึ่งของ SMEs เพราะการอยู่รอดของผู้ประกอบการไทยขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจพื้นฐานมากกว่า ซึ่งสาเหตุสำคัญมากจากกำไรที่ลดน้อยลงแม้ว่ารายได้ท่าเดิม เนื่องจากต้นทุนสูงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ค่าวัตถุดิบ พลังงาน และการขนส่ง เป็นต้น วิธีการหนึ่งที่จะช่วยในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในส่วนของต้นทุน คือ การจัดการโลจิสติกส์ (Logistic Management) ที่มีประสิทธิภาพ ประกอบกับความเป็นไปได้ที่ธุรกิจของไทยจะลดต้นทุนทางธุรกิจได้อีกมาก เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทย มีข้อเสียเปรียบทางด้านต้นทุนโลจิสติกส์สูง สังเกตได้จากปัจจุบันสัดส่วนต้นทุนโลจิสติกส์เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศสูงถึงร้อยละ ๑๙ ขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริการ้อยละ ๑๐ ประเทศในกลุ่มยุโรบร้อยละ ๗ และญี่ปุ่นร้อยละ ๑๑ (ที่มา:www.108acc.com.โลจิสติกส์กับการลดต้นทุนของธุรกิจ SME.ชมัยพร วิเศษมงคล.ที่ปรึกษา SMEs สสว.) จังหวัดมุกดาหารก็เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจซึ่งมีผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจำนวนมากและเป็นจังหวัดที่มีเส้นทางในขนส่งสินค้าที่สำคัญในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงอีกด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการ SMEs จังหวัดมุกดาหารจึงถือได้ว่าเป็นฟันเฟืองที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนาประเทศ วิทยาเขตมุกดาหาร มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เล็งเห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นในการนำการจัดการโลจิสติกส์มาใช้จึงจัดโครงการ ?การจัดการโลจิสติกส์กับการลดต้นทุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)? ขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการลดต้นทุนทางธุรกิจอันส่งผลต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการในจังหวัดมุกดาหารและเพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไปอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจแนวคิดและความสำคัญของการจัดการโลจิสติกส์
2.เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3.เพื่อเป็นแนวทางในการลดต้นทุนทางธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
4.เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในทางวิชาการระหว่างวิทยากร คณาจารย์และผู้ประกอบการธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
๑.คณาจารย์จำนวน ๑๐ คน ๒.ผู้ประกอบการธุรกิจธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จำนวน 15 คน ๓.บุคคลทั่วไปที่สนใจ จำนวน 5 คน ๔.นักศึกษา จำนวน ๑๐ คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
40 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ขั้นตอนการดำเนินงานโครงการฯ ๑. เตรียมการสัมมนา ๒. ดำเนินการสัมมนา ๓. สรุปผลการสัมมนา

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เตรียมการอบรม --- -- --- --- 0.00
2.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 52,800.00
3.สรุปผลการอบรม --- --- -- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
08.30-16.30 กิจกรรม / หัวข้อ ๐๘.๓๐ – ๐๘.๓๐ น. ลงทะเบียน ๐๘.๕๐ – ๐๙.๐๐ น. พิธีเปิด ๐๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น. วิทยากรบร วิทยากรด้านโลจิสติกส์และคณาจารย์วิทยาเขตมุกดาหาร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - ช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจได้เป็นอย่างดี
ด้านสังคม : - ช่วยส่งเสริมการประกอบอาชีพของคนในสังคม - นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้ความรู้ทางด้านธุรกิจมากขึ้นและมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : - คณาจารย์ ได้พัฒนาความรู้ทางด้านการจัดการธุรกิจมากขึ้นและสามารถนำความรู้ทางด้านโลจิสติกส์มาบูรณาการในการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
40
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
๑. ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ๑.๑ ผู้ประกอบการ ได้แนวทางในการลดต้นทุนทางธุรกิจมากขึ้น ๑.๒ คณาจารย์ ได้พัฒนาความรู้ทางด้านการจัดการธุรกิจมากขึ้นและสามารถนำความรู้ทางด้านโลจิสติกส์มาบูรณาการในการเรียนการสอนทางด้านบริหารธุรกิจ ๑.๓ นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้ความรู้ทางด้านธุรกิจมากขึ้นและมีโลกทัศน์ที่กว้างขึ้น ๒. ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ : ผู้ประกอบการ คณาจารย์ นักศึกษาและบุคคลทั่วไป เข้าร่วม จำนวน ๖๐ คน ๓. ตัวชี้วัดเชิงเวลา : ดำเนินการเสร็จสิ้นตามระยะเวลา ๔. ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน : ๒๒,๓๐๐ บาท

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การจัดการธุรกิจขนาดย่อม
หลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน แผนการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนักศึกษาที่ออกพื้นที่
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนใบงานที่นักศึกษาส่ง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 0.00 บาท