แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การส่งเสริมการพึ่งตนเองและความเข้มแข็งของชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้แก่ชุมชน ร่วมกับหน่วยงานราชการ ภาครัฐ ภาคธุรกิจ เอกชน
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.ดร.สุวัฒน์ ธีระพงษ์ธนากร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ประสบการณ์ : สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่ ธาตุอาหารในดินและพืชไร่ การผลิตข้าวอินทรีย์
ความเชี่ยวชาญ : สรีรวิทยาการผลิตพืชไร่ ธาตุอาหารในดินและพืชไร่ การผลิตข้าวอินทรีย์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.วิริยา พรมกอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Food Science and Technology
ประสบการณ์ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.จิตรา สิงห์ทอง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีอาหาร
ประสบการณ์ : เคมีอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหาร อาหารพื้นบ้านและระบบประกันคุณภาพในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
ความเชี่ยวชาญ : ไฮโดรคอลลอยด์ในอาหาร สมบัติเชิงหน้าที่ของอาหารคาร์โบไฮเดรตระบบประกันคุณภาพในอุตสาหกรรมอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
นายประสิทธิ์ กาญจนา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : เกษตรศาสตร์ (พืชศาสตร์)
ประสบการณ์ : 1.หัวหน้าโครงการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตยางพารา 10 ปีทำงานวิจัยทางด้านยางพารา 8 ปีที่ปรึกษานิคมยางพาราในพื้นที่ปฏิรูปที่ดินของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกรรมการตรวจการจ้างต้นพันธุ์ยางพาราของกรมวิชาการเกษตรกรรมการศูนย์เรียนรู้ยางพาราของสถาบันวิจัยยางกรมวิชาการเกษตรที่ปรึกษาสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางที่ปรึกษากลุ่ม/เครือข่ายยางพาราจังหวัดอุบลราชธานีวิทยากรทางด้านยางพารากรรมการหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการยาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯและเป็นอาจารย์พิเศษสอนวิชาหลักการผลิตยางธรรมชาติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลฯ 2.หัวหน้าโครงการวิจัยปาล์มน้ำมัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : 1.ระบบการผลิตยางพารา 2.ระบบตลาดยางพารา 3.ระบบการผลิตปาล์มน้ำมัน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.วีรเวทย์ อุทโธ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ประสบการณ์ : เทคโนโลยีบรรจุภัณฑ์
ความเชี่ยวชาญ : บรรจุภัณฑ์อาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.มานัส ลอศิริกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Soil consevation
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ :
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.ธนาทิพย์ แหลมคม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ประสบการณ์ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะและขยายพันธุ์สัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ สรีรวิทยาสัตว์น้ำ
ผู้ร่วมโครงการ
นายชำนาญ แก้วมณี คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : ประมง
ประสบการณ์ : งานการเรียน-การสอนด้านการประมง งานฝึกอบรมด้านการประมง งานวิจัยด้านการประมง
ความเชี่ยวชาญ : งานด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ภายใต้ความรับผิดชอบของ รศ. ดร. ณรงค์ หุตานุวัตร ได้จัดทำ “โครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนในเขตปฏิรูปที่ดิน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่ให้การสนับสนุนทุน การเอื้ออำนวย และความร่วมมือจาก ส.ป.ก. ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคโดยมีแผนการดำเนินงานมาตั้งแต่ ปี พ.ศ.2548 โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกรเขตพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีแนวคิด ความรู้ ประสบการณ์ และทักษะด้านการเกษตร การแปรรูปผลผลิตและอื่น ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง พัฒนา และเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ตลอดจนการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบใหม่ ๆ ที่เหมาะสม สอดคล้องกับสถานการณ์ ศักยภาพและความต้องการของเกษตรกร โดยเน้นส่งเสริมให้มีทักษะและวิธีคิดวิเคราะห์เพื่อพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชน ซึ่งพื้นที่เป้าหมายที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง มี 5 กลุ่ม ดังนี้ 1. ภูฝอยลมวิสาหกิจชุมชนยางพารา ตำบลคอแลน อำเภอบุณฑริก จังหวัดอุบลราชธานี 2. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ (เลี้ยงปลา) บ้านคำพระ ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ 3. กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตำบลโนนสำราญ อำเภอกันทรลักษณ์ จังหวัดศรีสะเกษ 4. กลุ่มปลูกหญ้าและเลี้ยงโค บ้านหนองฟ้า ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด 5. กลุ่มเห็ด(จักสาน) บ้านสว่าง ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร ซึ่งจากผลการในวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา ตำบลคอแลน อำเภอบุญฑริก จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งได้มีการดำเนินการมาตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบันนี้ พบว่าเกษตกรมีความเชื่อมั่นในการดำเนินการของตลาดรับซื้อยางเป็นอย่างมาก โดยมีการซื้อขายผ่านมาแล้วมากกว่า ๔ รอบ ผ่านตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น (Paper rubber market) มีจำนวนรวมของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มขึ้น น้ำหนักยางพาราเพิ่มขึ้นและมูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น หลังจากมีการให้บริการวิชาการจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร่วมกับสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สปก.) โดยสมาชิกของวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา มีเงินสะสมในรูปของหุ้น และได้รับเงินปันผลจากผลการนำยางพารามาขายในรอบ 4 ปี เป็นเงินรวม 97,000 บาท จากผลการดำเนินการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารานี้ทำให้กลุ่มเกษตรกรอื่นๆที่ทำตลาดรวมยางพาราได้อ้างอิงราคาของวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพาราในการรับซื้อยางพารา ซึ่งทำให้ราคายางพาราในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียงได้ราคาที่ดีขึ้น อีกทั้งยังทำให้หน่วยงานราชการให้ความสนใจต่อกลุ่มมากขึ้น และมีการเข้ามาศึกษาดูงานการจัดการเรื่องการตลาดจากหน่วยงานต่างอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นว่ากลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารามีการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จและชุมชนมีความเข้มแข็งและสามารถดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง โดยจะเห็นได้จากกลุ่มไม่ต้องพึ่งทุนเงินกู้จาก ส.ป.ก. เนื่องจากทางกลุ่มมีเงินทุนเป็นของตนเองแล้ว แต่อย่างไรก็ตามคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็ยังคงดำเนินการติดตามความก้าวหน้าของกิจกรรมของกลุ่มอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันนี้ โดยในระหว่างการดำเนินการให้บริการวิชาการกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารานั้นหนึ่งในกลุ่มที่เข้าดูงานในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา คือ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ (เลี้ยงปลา) ต.คำพระ อ.หัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการให้บริการวิชาการจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2548 ได้เข้าร่วมการอบรมเรื่องการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ที่วิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา เป็นผลให้ทางกลุ่มเข้าใจการพัฒนาชุมชนของตนเองมากขึ้น รวมทั้งการสร้างนิสัยบันทึกบัญชีครัวเรือนและใช้ข้อสรุปทางบัญชีเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาครอบครัวและชุมชน ซึ่งแม้ว่าการดำเนินการในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลาบ้านคำพระยังไม่เข้มแข็งเท่ากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา แต่พบว่ากลุ่มยังรวมตัวกันได้ดี และยังมีการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ แม้ว่าจะพบปัญหาบ้าง แต่ก็ยังเห็นความตั้งใจจนริงของผู้นำและสมาชิกที่ยังมีความต้องการในการพัฒนาการเลี้ยงปลาเป็นอีกหนึ่งอาชีพ อีกทั้งสมาชิกในกลุ่มบางรายได้มีการสร้างระบบเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากคณาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ทั้งในเรื่องการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการเลี้ยงปลาในกระชังและการตลาด แต่จากผลการดำเนินการหลังจากการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแล้วยังพบปัญหาเรื่องการขนส่งในการซื้อลูกปลาและอาหารปลาซึ่งต้องเดินทางมาซื้อที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีต้นทุนที่สูงมาก อีกทั้งยังพบเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลามาขายยังพ่อค้าคนกลางที่จังหวัดอุบลราชธานี และนอกจากการส่งเสริมกิจกรรมการเพาะเลี้ยงปลาในกระชังซึ่งเป็นกิจกรรมหลักแล้ว ยังได้มีการส่งเสริมกิจกรรมอื่นๆ เช่น การให้ความรู้อบรมเรื่องการปลูกพืชอายุสั้นนอกฤดูทำนา การเพาะเห็ดฟางกองเตี้ยและการเพาะเห็ดในขอนไม้ การเผาแกลบดำ/เผาถ่านและผลิตน้ำส้มควันไม้ การหมักน้ำส้มสายชูจากข้าว การผลิตผักดองปรุงรส และการผลิตน้ำส้มสายชูหมักพร้อมดื่มจากข้าว และเมื่อ ปี พ.ศ.2551 ทางทีมคณะทำงานได้เข้าไปติดตามผลการดำเนินงาน หลังจากให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมไว้ตามที่ได้บริการวิชาการแล้วพบว่า กลุ่มยังคงกิจกรรมการออมทรัพย์ค่อนข้างสม่ำเสมอ ส่วนกิจกรรมการเลี้ยงปลานั้นได้เริ่มมีลักษณะการต่างคนต่างหา/ซื้อพันธุ์ปลาเอง หรือรวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆไปซื้อพันธุ์ปลาด้วยกัน ส่วนเกษตรอินทรีย์นั้นยังเป็นกิจกรรมที่ยังเริ่มต้น ที่น่าจะต้องมีการพัฒนาต่อไปให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ดังนั้นจะเห็นว่า กลุ่มเกษตรอินทรีย์ที่เกษตรกรประกอบอาชีพในการปลูกข้าว พืชผักและเลี้ยงปลา เป็นพื้นที่ที่มีความน่าสนใจในการให้บริการวิชาการทางด้านการเกษตร โดยสามารถใช้ต้นแบบการดำเนินการที่ประสบความสำเร็จมาแล้วจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องของเทคโนโลยีที่ได้ถ่ายทอดจากกลุ่มที่มีความเข้มแข็งและยั่งยืนแล้วไปยังอีกกลุ่มหนึ่งที่มีศักยภาพในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปเพื่อก่อให้เกิดความเข้มแข็งแก่ชุมชนนั้นได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมการระบบการเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ในการปลูกข้าว พืชผักและเลี้ยงปลา
2.เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและแปรรูปผลผลิตที่ได้จากการผลิต
3.เพื่อส่งเสริมการจัดการความรู้เชิงการตลาดสร้างสรรค์มาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาด้านการผลิตเพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ตำบลคำพระ อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ จำนวนผู้ร่วมโครงการทั้งหมด 50 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กลุ่มเกษตรอินทรีย์ (เลี้ยงปลา) ต.คำพระ อ.หัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ ซึ่งได้รับการสนับสนุนการให้บริการวิชาการจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้เข้าร่วมการอบรมเรื่องการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ที่วิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา เป็นผลให้ทางกลุ่มเข้าใจการพัฒนาชุมชนของตนเองมากขึ้น รวมทั้งการสร้างนิสัยบันทึกบัญชีครัวเรือนและใช้ข้อสรุปทางบัญชีเป็นพลังขับเคลื่อนการพัฒนาครอบครัวและชุมชน ซึ่งแม้ว่าการดำเนินการในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลาบ้านคำพระยังไม่เข้มแข็งเท่ากับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนภูฝอยลมยางพารา แต่พบว่ากลุ่มยังรวมตัวกันได้ดี และยังมีการดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงปลานิลแปลงเพศ แม้ว่าจะพบปัญหาบ้าง แต่ก็ยังเห็นความตั้งใจจนริงของผู้นำและสมาชิกที่ยังมีความต้องการในการพัฒนาการเลี้ยงปลาเป็นอีกหนึ่งอาชีพ อีกทั้งสมาชิกในกลุ่มบางรายได้มีการสร้างระบบเกษตรผสมผสานและเกษตรอินทรีย์ โดยการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากคณาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แต่จากผลการดำเนินการหลังจากการให้บริการทางด้านเทคโนโลยีการผลิตแล้วยังพบปัญหาเรื่องการขนส่งในการซื้อลูกปลาและอาหารปลาซึ่งต้องเดินทางมาซื้อที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีต้นทุนที่สูงมาก อีกทั้งยังพบเรื่องค่าใช้จ่ายในการขนส่งปลามาขายยังพ่อค้าคนกลางที่จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ ทางทีมคณะทำงานได้เข้าไปติดตามผลการดำเนินงาน หลังจากให้ชุมชนดำเนินกิจกรรมไว้ตามที่ได้บริการวิชาการแล้วพบว่า กลุ่มยังคงกิจกรรมการออมทรัพย์ค่อนข้างสม่ำเสมอ ส่วนกิจกรรมการเลี้ยงปลานั้นได้เริ่มมีลักษณะการต่างคนต่างหา/ซื้อพันธุ์ปลาเอง หรือรวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆไปซื้อพันธุ์ปลาด้วยกัน ส่วนเกษตรอินทรีย์นั้นยังเป็นกิจกรรมที่ยังเริ่มต้น ที่น่าจะต้องมีการพัฒนาต่อไปให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้น การดำเนินโครงการในระยะ ๓ ปี (๒๕๕๘ – ๒๕๖๐) ๑. ผลักดันให้เกิดการปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นแบบเกษตรอินทรีย์เพื่อการพึ่งตนเอง ๒. สนับสนุนการทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ ๓. สนับสนุนการจัดหาแหล่งน้ำในไร่นาเพื่อการเกษตร ๔. สนับสนุนการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง (โค กระบือ และแพะ) เพื่อนำมูลทำปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ ๕. สนับสนุนให้กลุ่มเกษตรอินทรีย์ขยายผลเพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ๖. สนับสนุนพัฒนาศักยภาพการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรอินทรีย์

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.แผนงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกข้าว ผักอินทรีย์และเลี้ยงปลา การเตรียมการ - ชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการเพื่อสร้างความเข้าใจและมีส่วนร่วม --- --- --- 0.00
2.การจัดเตรียมด้านวัสดุ - ศึกษาข้อมูลเชิงพื้นที่ที่จะดำเนินการ --- --- 0.00
3.การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ฝึกอบรมด้านข้าว ผักอินทรีย์และเลี้ยงปลา ฝึกอบรมการแปรรูป การฝึกอบรมการนำความรู้เชิงการตลาดสร้างสรรค 0.00
4.แผนงานเสริมสร้างความรู้และติดตามประเมินผลโครงการ --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2558 รวมเวลา 396 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : การเพิ่มรายได้จากการปลูกข้าว พืชผักและเลี้ยงปลา
ด้านสังคม : ได้พัฒนาด้านการทำเกษตรกรรมเพื่อนำไปสู่การพึ่งตนเองและความเข้มแข็งของชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : ลดมลพิษจากการใช้สารเคมีสังเคราะห์และสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ด้านอื่นๆ : เป็นการพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมเพื่อให้เกษตรกรมีความเข้มแข็งและการพึ่งตนเอง ซึ่งขยายผลที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี2548 จนถึงปัจจุบัน โดยกระบวนการทำงานร่วมกับเกษตรกร

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
95
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
100

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1201341 ธัญพืช 1201321 สรีรวิทยาของพืชไร่ 1201342 เทคโนโลยีธัญพืช 1205472เทคโนโลยีบรรจุอาหาร 1204351 เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์นำ้ 1204362 การจัดการแ
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาพืชไร่ พืชสวน ประมงและเทคโนโลบีอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน การนำผลการบริการวิชาการ บูรณาการร่วมกับเนื้อหารายวิชาที่กำหนด ในลักษณะกรณีศึกษาเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 76,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 57,600.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 57,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
57,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,900.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 18,900.00 บาท )
1) จำนวน 15 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
18,900.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 61,360.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 5,760.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 5,760.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
5,760.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 9,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 30 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 5 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 27,000.00 บาท )
1) - ค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมอบรม (30 คน*300 บาท*3 คืน)
=
27,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 162,140.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 22,140.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,640.00 บาท
=
1,640.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
3,000 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
15,000.00 บาท
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 140,000.00 บาท )
1) วัสดุสำหรับเตรียมโรงเรือนพืชผัก
=
30,000.00 บาท
2) บรรจุภัณฑ์ข้าว
=
10,000.00 บาท
3) การตรวจคุณภาพข้าว
=
5,000.00 บาท
4) การวิเคราะห์ดินและพืช
=
15,000.00 บาท
5) เมล็ดพันธุ์ข้าว
=
5,000.00 บาท
6) วัสดุทำปุ๋ยอินทรีย์
=
5,000.00 บาท
7) กระชังอนุบาลลูกปลา
=
7,500.00 บาท
8) กระชังผสมพันธุ์ปลา
=
7,500.00 บาท
9) วัสดุเตรียมบ่อ
=
5,000.00 บาท
10) อาหารพ่อ-แม่พันธุ์ปลา
=
10,000.00 บาท
11) พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
=
20,000.00 บาท
12) วัสดุทำปุ๋ยอินทรีย์และอนินทรีย์สำหรับพืชผัก
=
10,000.00 บาท
13) เมล็ดพันธุ์พืชผัก
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 300,000.00 บาท