แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2557
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็กที่มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : โครงการพัฒนาการศึกษากลุ่มโรงเรียนมัธยมที่เปิดสอนโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายสุภวัฒน์ โสวรรณี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
ประสบการณ์ : รับผิดชอบโครงการและประสานการดำเนินงานบริการวิชาการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงบประมาณและโครงการ
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
สถาบันการจัดการนานาชาติ (International Institute for Management Development : IMD) และผลจากการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum : WEF) ได้ข้อสรุปตรงกันว่าประเทศไทยยังมีจุดอ่อนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินการตามยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การเจริญอย่างมีคุณภาพและยั่งยืนของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555 – 2559) เพื่อให้สามารถดำเนินการตามยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้อย่างมีคุณภาพ รัฐจึงได้กำหนดเพิ่มสัดส่วนบุคลากรด้ายวิจัยและพัฒนาเป็น 15 : 10,000 ให้ได้ภายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 โดยวางแนวทางแนวทางพัฒนาด้วยการค้นหาเด็กที่มีอัจฉริยภาพและผู้มีความสามารถพิเศษด้านต่าง ๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีให้ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพให้มีความเป็นเลิศ สามารถแสดงศักยภาพในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่และต่อเนื่อง และส่งเสริมให้ให้สถาบันการศึกษาที่ตั้งอยู่ในพื้นที่หรือจังหวัดต่าง ๆ มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคน ชุมชนและสังคมในพื้นที่อย่างเป็นองค์รวม และเพื่อให้การจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาเป็นไปเพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ในการพัฒนาประเทศ ด้วยการผลิตนักเรียนตัวป้อนที่มีคุณภาพเข้าสู่สายวิชาชีพวิทยาศาสตร์และการวิจัยให้แก่ระดับอุดมศึกษา ด้วยตระหนักในความสำคัญของการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว โรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ในจังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดยโสธร ๗ โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราช โรงเรียนนารีนุกูล โรงเรียนศรีปทุมพิทยาคาร โรงเรียนเดชอุดม โรงเรียนมัธยมตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี โรงเรียนเลิงนกทา โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร ได้ตกลงทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการเป็นเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้แก่นักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ โดยมีโรงเรียนเบ็ญจะมะมหาราชเป็นประธานเครือข่าย นอกจากความร่วมมือระหว่างกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาแล้ว กลุ่มโรงเรียนยังแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันอุดมศึกษาที่มีศักยภาพในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นหนึ่งในสถาบันระดับอุดมศึกษาในพื้นที่ ที่มีความพร้อมทั้งด้านบุคลากรและสถานที่ เครื่องมือต่าง ๆ ตลอดจนยังมีกิจกรรมในการให้บริการทางวิชาการเพื่อร่วมพัฒนาการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามาอย่างต่อเนื่องยาวนาน โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังจะสังเกตจากการลงนามความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณ์ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค การร่วมโครงการกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เช่น โครงการอบรมครูกลุ่มสูง โครงการยุวหมอดิน โครงการโรงเรียนแกนนำ เป็นต้น เป็นศูนย์ระดับภูมิภาคของมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในประอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) ดำเนินโครงการค่ายโอลิมปิกวิชาการ จากศักยภาพและความพร้อมของมหาวิทยาลัยในการที่จะร่วมส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เปิดสอนตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จึงได้จัดโครงการเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการเพื่อส่งเสริมผู้มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี โดยมุ่งหวังว่ากลุ่มโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ จะได้รับการพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอน การเรียนรู้ ของครูและนักเรียน ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เป็นตัวป้อนที่ดีมีคุณภาพเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา ตลอดจนเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของประเทศชาติ ต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่เปิดสอนตามโครงการส่งเสริมผู้มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
2.เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้กับครูในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่เปิดสอนตามโครงการส่งเสริมผู้มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
3.เพื่อพัฒนาศักยภาพและเสริมสร้างประสบการณ์ด้านพุทธิพิสัย ทักษะพิสัย จิตพิสัย ให้แก่นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกลุ่มโรงเรียนเครือข่ายที่เปิดตามโครงการส่งเสริมผู้มีอัจฉริยภาพด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครู อาจารย์ นักเรียน กลุ่มโรงเรียนที่เปิดสอนตามโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ เบ็ญจะมะมหาราช นารีนุกูล ศรีปทุมวิทยาคาร เดชอุดม มัธยมตระการพืชผล ยโสธรพิทยาคม เลินกทา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
-ไม่มีข้อมูล

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2556
2557
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การเตรียมคณะทำงาน กำหนดแผนการดำเนินงาน --- - --- --- 0.00
2.การอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ภาษา แก่ครูและนักเรียน --- --- -- - 0.00
3.การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการทำโครงงาน --- --- --- 0.00
4.การกำกับติดตามและนิเทศการดำเนินงาน --- --- --- 0.00
5.การติดตามและประเมินผลโครงการ --- --- --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 99 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. เกิดเครือข่ายความร่วมมือด้านวิชาการระหว่างสถาบันการศึกษาขั้นพื้นฐานกับสถาบันอุดมศึกษา ในการร่วมกันพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาศักยภาพของครู บุคลากรและผู้เรียน 2. ได้ผู้เรียนที่มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อป้อนเข้าสู่การศึกษาในระดับอุดมศึกษาของประเทศ 3. เกิดการพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
85
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


-
การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 67,360.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 60,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,000.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
24,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
36,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,360.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
4,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 3,360.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,360.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 77,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 18,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 2 คน x ครั้งละ 4,500.00 บาท
=
9,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 คืน x จำนวน 2 ห้อง x ห้องละ 1,200.00 บาท
=
4,800.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 4 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,500.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 27,500.00 บาท )
1) จำนวน 5 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 55 คน
=
27,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 8,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 2,800 บาท/คัน/วัน
=
8,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาบริการ
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 94,140.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 94,140.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,280 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,140.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 1,500.00 บาท
=
75,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 238,500.00 บาท