แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2555
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ชีวเภสัชศาสตร์สัญจร : การสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนเครือข่าย ม.ทราย และเสริมสร้างทักษะการสร้างเสริมสุขภาพ แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
ยังไม่ได้เพิ่มนโยบาย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ปาจารีย์ ทองงอก คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Neuroscience
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
หัวหน้าโครงการ

หลักการและเหตุผล
ความรู้และข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาสุขภาพ การป้องกันโรค การใช้ยา และสร้างเสริมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นเพื่อให้มีสภาวะแห่งความสมบูรณ์ทั้งร่างกายจิตใจและและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข นับว่าเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดูแลสุขภาพและมีความสำคัญยิ่งต่อคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน คณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นคณะวิชาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพคณะแรกของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีความพร้อมในด้านบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยมีพันธกิจสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เป็นแหล่งความรู้ ให้บริการวิชาการ ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตระหนักถึงความสำคัญของการเสริมสร้างความเข้มแข็งบทบาทของชุมชน การสร้างเสริมสุขภาพสู่ชุมชนโดยเสริมบทบาทของโรงเรียนให้มีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องสุขภาพมากขึ้น และส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมสุขภาพของโรงเรียนจึงจัดทำโครงการ ชีวเภสัชศาสตร์สัญจร : การสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียนเครือข่าย ม.ทราย ขึ้นโดยคณาจารย์กลุ่มวิชาชีวเภสัชศาสตร์ร่วมกับนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 3 ให้บริการวิชาการทางด้านสุขภาพผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่สร้างความสัมพันธ์อันดีแก่โรงเรียนในเครือข่ายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งนับเป็นช่องทางที่สามารถเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพให้เข้าถึงชุมชนได้สะดวกและรวดเร็ว เป็นการส่งเสริมและเผยแพร่แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพให้นักเรียนและประชาชนให้ตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเองก่อนการใช้ยา และได้รับความรู้ด้านสุขภาพเพื่อนำไปในชีวิตประจำวันในการดูแลสุขภาพ ป้องกันโรค และการลดความรุนแรงของโรคเพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.๑. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่แนวคิดการสร้างเสริมสุขภาพให้นักเรียนในโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีตระหนักถึงการดูแลสุขภาพของตนเอง คนในครอบครัวและชุมชนก่อนการใช้ยา ๒. เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับความรู้ด้านสุขภาพ มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น และสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา ๓. เพื่อให้นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ได้เรียนรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงในชุมชนและสามารถวางแผนแก้ไขได้ ๔. เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีทักษะการสร้างเสริมสุขภาพแก่เด็กวัยเรียน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
๑. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๖ ของโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน ๑ แห่ง ได้แก่ โรงเรียนชุมชนบ้านบัววัด ๒. ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ชุมชนบ้านบัววัด ๓. บุคคลทั่วไปที่สนใจรับข่าวสารข้อมูล และร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ ๔. นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติการเภสัชวิทยา ๑ และ/หรือปฏิบัติการเภสัชวิทยา ๒ จำนวนประมาณ ๑๒๐ คน ๕. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ชุมชนบ้านบัววัด จำนวน ๔๐ คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
0 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
๑. เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ ๒. ดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ๓. จัดอบรมเสริมทักษะและสร้างแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติการเภสัชวิทยา 1 และ/หรือ ปฏิบัติการเภสัชวิทยา 2 จำนวน 2 ครั้ง ๔. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม ๕. สำรวจพื้นที่ ติดต่อ ประสานงาน โรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชน ๖. กำหนดผู้รับผิดชอบการอบรมและประสานงานกับวิทยากร ๗. ผลิตสื่อเพื่อจัดนิทรรศการที่ใช้เพื่อการอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ ได้แก่ สุขอนามัยเบื้องต้น ไข้หวัดนก ไข้เลือดออก โรคท้องร่วง การดูแลรักษาฟัน การรักษาเบื้องต้นที่โรงเรียน การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การใช้ยาสามัญประจำบ้าน สมุนไพรสาธารณสุขมูลฐาน ๘. ประชาสัมพันธ์นักเรียนและประชาชนที่อยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๙. อบรมการสร้างเสริมสุขภาพ สุขอนามัย ความรู้พื้นฐานของการใช้ยา แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ - การร่วมตอบปัญหาสุขภาพ ชิงรางวัล - การตรวจสุขภาพเบื้องต้น เช่น วัดความดัน วัดสายตา ประเมินภาวะโภชนาการ ฯลฯ สำหรับ นักเรียนประชาชนและผู้สนใจ - การให้คำแนะนำเกี่ยวกับห้องพยาบาล การจัดการให้บริการและการดูแลห้องพยาบาลแก่ครูสุขศึกษาประจำโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ๑๐. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2554
2555
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณ และแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน - --- --- --- 0.00
2.จัดอบรมเสริมทักษะและสร้างแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติการเภสัชวิทยา 1 และ/หรือ ปฏิบัติการเภสั - --- --- --- 17,300.00
3.จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินงานและนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการวางแผนการดำเนินกิจกรรม - -- --- --- 8,650.00
4.สำรวจพื้นที่ ติดต่อ ประสานงาน โรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - -- --- --- 0.00
5.กำหนดผู้รับผิดชอบการอบรมและประสานงานกับวิทยากร - --- --- --- 0.00
6.ผลิตสื่อและจัดเตรียมนิทรรศการที่ใช้เพื่อการอบรมการสร้างเสริมสุขภาพ -- -- --- --- 24,000.00
7.ประชาสัมพันธ์นักเรียนและประชาชนที่อยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - --- --- --- 4,775.00
8.อบรมการสร้างเสริมสุขภาพ สุขอนามัย ความรู้พื้นฐานของการใช้ยา แก่นักเรียน --- - --- --- 23,775.00
9.ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน --- --- - --- 1,500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554 - 30 กันยายน พ.ศ. 2555 รวมเวลา 1 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 สิงหาคม พ.ศ. 2555
0800-1645 - การแสดง - เวที แสดงการสร้างเสริมสุขภาพ โดยนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ ตลอดวัน ซุ้มนิทรรศกา

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -๑. นักเรียนโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ในการดูแลและการสร้างเสริมสุขภาพ ๒. ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณรอบโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้รับความรู้ด้านสุขภาพ มีส่วนร่วมในการแสดงความเห็น และสอบถามปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพและการใช้ยา ๓. นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ ๓ ได้เรียนรู้สภาพปัญหาที่แท้จริงในชุมชนและสามารถวางแผนแก้ไขได้ ๔. อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีแนวคิดและทักษะการสร้างเสริมสุขภาพแก่เด็กวัยเรียน ๕. เกิดเครือข่ายทางวิชาการระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี กับโรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และศูนย์ส่งเสริมสุขภาพชุมชนในจังหวัดอุบลราชธานี
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
0
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
60
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
-0
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา สัมนาทางเภสัชวิทยา 1 หรือ 2
หลักสูตร เภสัชศาสตรบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีผู้ร่วมโครงการ ร้อยละ ๖๐ มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรม ในระดับพึงพอใจมาก และมีความเห็นว่าสมควรให้จัดกิจกรรมนี้ต่อไป
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 4,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 4,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 8 คน
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 70,425.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,975.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 173 คน
=
8,650.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 253 คน
=
6,325.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 29,950.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 173 คน
=
17,300.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 253 คน
=
12,650.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 25,500.00 บาท )
1) - ค่าจ้างเหมาจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ สื่อสร้างเสริมสุขภาพและจัดนิทรรศการ
=
24,000.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมาจัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินงาน
=
1,500.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 4,775.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 4,775.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
2,550 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,275.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,500.00 บาท
=
3,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 5,000.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 80,000.00 บาท