แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีแก่ชุมชน ให้ความสำคัญในการสร้างเสริมความเข้มแข็งด้านสุขภาพอนามัย
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
หัวหน้าโครงการ
นางสาวจินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการสำหรับนักบริหาร
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ 2 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารงานสาธารณสุข กฏหมายด้านสาธารณสุข การพยาบาล
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวจิราภรณ์ หลาบคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์ (อนามัยสิ่งแวดล้อม)
ประสบการณ์ : ด้านบริการวิชาการ 1) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนปลอดภัยอนามัยสิ่งแวดล้อมดี ปี 2556 2) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ สานฝันต้นกล้าสาธารณสุข ปี 2557 3) ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการ โรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมดี ปี 2557 4) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 2 พ.ศ. 2558 5) หัวหน้าโครงการโรงเรียนต้นแบบด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมปี 3 พ.ศ. 2559
ความเชี่ยวชาญ : การสุขาภิบาลอาหาร การจัดการคุณภาพน้ำ งานอนามัยสิ่งแวดล้อม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้ ถึงแม้ว่าความเจริญทางด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดีขึ้น การเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายลดลง เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ และโรคทึ่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน เป็นต้น แต่ในขณะเดียวกันโรคที่เรื้อรังเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดีของประชาชนกลับเป็นปัญหาที่สำคัญที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคขาดสารอาหารหรือการมีโภชนาการที่ไม่ได้ตามเกณฑ์ รวมถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมในเด็กวัยเรียนก็อาจก่อให้เกิดปัญหาทางด้านสุขภาพอื่นๆตามมาซึ่งยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่สามารถพบได้ในเด็กวัยเรียนในท้องถิ่นทุรกันดาร เช่น โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ซึ่งปญหาดังกล่าวจะสงผลใหเด็กวัยเรียนมีสุขภาพออนแอ เจ็บปวยไดงายและขาดเรียนบอย ขาดความกระตือรือรนและไมมีสมาธิในการเรียน ทําใหมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เมื่อเด็กเติบโตเป็นผูใหญจะเปนผูใหญที่ดอยคุณภาพเปนผลทําใหการพัฒนาประเทศเปนไปไดชา เด็กวัยเรียนนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในอนาคต ดังนั้น ภาวะสุขภาพที่ดี ความเป็นอยู่ที่ดีจะเป็นตัวบ่งชี้ให้เห็นถึงศักยภาพความเป็นอยู่และเป็นตัวกำหนดอนาคตของประเทศชาติ ถ้าเด็กนักเรียนมีสุขภาพอนามัยไม่สมบูรณ์แข็งแรง มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน หรือขาดสุขนิสัยที่ดีย่อมเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ การพัฒนาสุขภาพอนามัยของนักเรียนจึงเป็นเรื่องสำคัญและถือเป็นปัจจัยพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาศักยภาพของคนให้เป็นประชากรที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ คุณครูเป็นบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสำคัญยิ่งในการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆให้กับเด็กนักเรียน เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ในการนำเอาความรู้ไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านด้านต่างๆเป็นไปในทางที่ดีขึ้น โดยเฉพาะด้านการสร้างเสริมสุขภาพอนามัยของตนเอง คุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน มีภาระหน้าที่คือการสอนให้ความรู้แก่เด็กนักเรียน จำเป็นต้องมีการพัฒนาตนเองและได้รับทราบองค์ความรู้ต่างๆที่ทันสมัยและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน ประกอบกับนักเรียนส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่ค่อนข้างยากจนเป็นเหตุให้ขาดความตระหนักในเรื่องของการดูแลสุขภาพของตนเอง นักเรียนส่วนใหญ่มีปัญหาด้านพฤติกรรมสุขภาพค่อนข้างมาก เช่น ด้านทุพโภชนาการ ได้แก่ นักเรียนตัวเตี้ย และผอม ด้านสุขภาพช่องปาก การแปรงฟันไม่ถูกวิธี ฟันผุ เหงือกอักเสบ และยังขาดการดูแลสุขภาพตนเองอื่นๆ เช่น การไม่ล้างมือด้วยสบู่ก่อนการรับประทานอาหาร เป็นต้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) ซึ่งจะต้องเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และสุขอนามัยให้นักศึกษาจากนอกชั้นเรียนด้วย และในการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะมีการบูรณาการความรู้ในวิชาหลักการสร้างเสริมสุขภาพ ในหัวข้อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนและการดำเนินการของโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ ในการจัดการเรียนการสอน ดังนั้นจึงได้จัดทำโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี เพื่อฟื้นฟูความรู้และให้ความรู้ ด้านการสร้างเสริมสุขภาพในโรงเรียน แก่คุณครู และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ให้มีการกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติตนด้านการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่นักเรียนในถิ่นทุรกันดารและป้องกันปัญหาสุขภาพรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัย แก่ คุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตรวจตระเวรชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี 2. เพื่อร่วมกันพัฒนาการจัดการเรียนทางด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัยของเด็กวัยเรียนร่วมกับคุณครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูอนามัยโรงเรียน ครูโภชนาการ และอื่นๆที่เกี่ยวข้องในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราชธานี จำนวน 12 โรงเรียน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
70 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1.1 จัดกิจกรรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัย ของเด็กวัยเรียนรวมทั้งกิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาทางด้านการจัดการเรียนการสอน และปัญหาด้านสุขอนามัยอื่นๆที่จะนำไปดำเนินการจริงในแต่ละโรงเรียนและนำเสนอโครงการ ระยะเวลา 2 วัน (ประมาณเดือนสิงหาคม พ.ศ 2558 ) 2.1.2 คุณครูผู้รับผิดชอบโรงเรียนในพื้นที่ทั้ง 12 แห่ง กลับไปดำเนินโครงการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนที่รับผิดชอบตามที่ได้นำเสนอโครงการในช่วงเข้าร่วมกิจกรรม (ประมาณเดือนกันยายน พ.ศ 2558 ) 3. 1.3 คณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการในพื้นที่จริง จำนวน 12 โรงเรียน (ปลาย เดือนกันยายน พ.ศ 2558 ) 4.1.4 สรุปและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนเพื่อจัดโครงการบริการวิชาการ -- --- --- --- 0.00
2.แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00
3.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 1. --- -- --- --- 800.00
4.. ติดต่อสถานที่จัดกิจกรรม --- -- --- --- 0.00
5.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 2. --- --- -- --- 800.00
6.ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดกิจกรรม --- --- -- --- 0.00
7.คณะทำงานจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรม --- --- -- -- 30,000.00
8.ดำเนินกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ระยะเวลา 2 วัน --- --- --- -- 70,000.00
9.ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 3. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมฯ --- --- --- -- 800.00
10.ผู้เข้าอบรมดำเนินกิจกรรมโครงการที่โรงเรียนต้นสังกัด --- --- --- -- 0.00
11.คณะทำงานเดินทางไปติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่จริง --- --- --- -- 15,800.00
12.ประชุมสรุปประเมินผลโครงการ --- --- --- -- 800.00
13.จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 1,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 40 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
8.30 – 9.00 น. ลงทะเบียน ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
9.00 - 9.30 น. พิธีเปิด ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
09.30 - 12.00 น บรรยายเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัยเด็กวัยเรียน ผศ.มินตรา สาระรักษ์
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
13.00 - 16.30 น. บรรยาย เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ สุขอนามัยเด็กวัยเรียน และการดำเนินงานโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพ (ต ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และ นางปนัดดา เหมือนมาตย์
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
22 สิงหาคม พ.ศ. 2558
10.30-10.45 และ 14.15-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
10.30-10.45 น.และ 14.15-14.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
16.00 - 16.300 น. พิธีมอบเกียรติบัตรและปิดโครงการ
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
15.00-16.00 น. ตัวแทนแต่ละโรงเรียนนำเสนอแผนการสอนที่จะนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
13.00-15.00 กิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาและพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน แ ผศ.มินตรา สาระรักษ์ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อ.สมเจตน์ ทองดำ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ นางปนัดา เหมือนมาตย
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
10.00 – 12.00 น. กิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาและพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนด้านการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน แ ผศ.มินตรา สาระรักษ์ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อ.สมเจตน์ ทองดำ อ.จิราภรณ์ หลาบคำ นางปนัดา เหมือนมาตย
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
9.00 – 10.00 น. บรรยายแนวทางพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอน ผศ.มินตรา สาระรักษ์
23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม : 1. คุณครูในสังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในพื้นที่ได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้านการสร้างเสริมสุขภาพและสุขอนามัยเด็กวัยเรียน รวมถึงการดำเนินการโรงเรียนสร้างเสริมสุขภาพเพื่อนำไปพัฒนาการดำเนินงานต่อไป 2. มีการดำเนินโครงการพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอนเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านพฤติกรรมสุขภาพและสุขอนามัยอื่นๆของเด็กนักเรียนที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ 3. ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และทำให้นักเรียนมีสุขอนามัยที่ดีขึ้น 4. มีการติดตามประเมินผลและสามารถต่อยอดและขยายพื้นที่การดำเนินโครงการเพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้นในทุกปี
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการสร้างเสริมสุขภาพ
หลักสูตร วิทยาศาตรบัณฑิต(สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 16,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 2,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 13,800.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
600.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 8,300.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
2,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 75,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
7,000.00 บาท
2) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 12 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
1,800.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 22,400.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 12 คน
=
4,800.00 บาท
2) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 70 คน
=
14,000.00 บาท
3) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 10,800.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 6 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 32,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาการดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนการสอน 1,000 บ. X 12 โรงเรียน
=
12,000.00 บาท
2) - ค่าจ้างเหมาทำเสื้อผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ประสานงาน 80 คน x 150 บ. :
=
12,000.00 บาท
3) - ค่าบำรุงสถานที่ สาธารณูปโภคสถานที่ดำเนินกิจกรรม 2 วันๆละ 1500 บาท
=
3,000.00 บาท
4) - ค่าจ้างเหมาซุ้มดอกไม้สด วันเปิดอบรม
=
1,000.00 บาท
5) - ค่าจ้างเหมาทำวุฒิบัตร
=
500.00 บาท
6) - ค่าจ้างเหมาถ่ายภาพและบันทึกวิดิโอ 2 วัน
=
1,000.00 บาท
7) - ค่าจ้างเหมาแรงงาน 10 คน x 200 บ.x 1 วัน
=
2,000.00 บาท
8) - ค่าจ้างเหมาจัดทำรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
=
900.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 19,900.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 19,900.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
4,900.00 บาท
=
4,900.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท