แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2558
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะภาษาอังกฤษแก่ผู้ประกอบการและพนักงานโรงแรมในจังหวัดอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้ประกอบการ SMEs / OTOP
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ชาญ อินทร์แต้ม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วท.บ.(เคมี) มหาวิทยาลัยขอนแก่น วท.ม.(เคมี) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Dr.rer.nat., Technical Univ. Munich, Germany
ประสบการณ์ : การจำลองแบบอนุภาคขนาดนาโนสำหรับใช้ในการเร่งปฏิกิริยาและการดูดซับ หัวหน้าโครงการ คณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2554-2556 การศึกษาเชิงทฤษฎีของการเร่งปฏิกิริยาการเสียน้ำของเอทานอลด้วยซีโอไลต์ธรรมชาติชนิดคลินอพทิลโอไลต์ หัวหน้าโครงการ สภาวิจัยแห่งชาติ 2551-2553 การศึกษาเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับการเพิ่มประสิทธิภาพการสะสมของอนุภาคนาโนของโลหะบนคาร์บอนนาโนทิวบ์ หัวหน้าโครงการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 2550-2552
ความเชี่ยวชาญ : Computational quantum chemistry Nanomaterials, Nanoparticles
หัวหน้าโครงการ
นางสาวนรา หัตถสิน คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การท่องเที่ยว บริหารธุรกิจ
ประสบการณ์ : สอน วิจัย
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยว การตลาดและการจัดการ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เป็นกลุ่มธุรกิจที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นกลไกหลักที่สนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมและการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ โดยเฉพาะ SMEs ในภาคบริการ เช่น ธุรกิจโรงแรม การท่องเที่ยว ร้านอาหาร รถเช่า ซึ่งเป็นแหล่งจ้างงานขนาดใหญ่ในระบบเศรษฐกิจ แรงงานในภาคบริการเช่นโรงแรมถือเป็นแรงงานทักษะ (Labor Skills) ที่จำเป็นต้องใช้ทักษะในการทำงานโดยเฉพาะทักษะด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและภาษาต่างประเทศ ทั้งนี้จากข้อมูลพบว่าความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยโดยเฉลี่ยจากคะแนน TOEFL iBT กับประเทศอื่นในอาเซียน (ยกเว้นบรูไน) พบว่าคะแนน TOEFL iBT เฉลี่ยของไทยในปี 2553 อยู่ที่ 75 คะแนน จากคะแนนเต็ม 120 คะแนน สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา สปป.ลาว พม่า และเวียดนามเท่านั้น แต่ยังต่ำกว่าประเทศคู่แข่งสำคัญในอาเซียนอย่างสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย สะท้อนให้เห็นว่าบุคลากรไทยยังมีความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษให้สูงขึ้น เพราะการที่แรงงานไทยมีทักษะในการใช้ภาษาอังกฤษสูงขึ้นนั้นไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันกับแรงงานจากชาติอาเซียนอื่นท่ามกลางการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานภายใต้ AEC เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาค SMEs ของประเทศในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย อีกทั้งข้อมูลกรมพัฒนาฝีมือแรงงานยังระบุว่า แรงงานไทยอ่อนด้านภาษาอังกฤษ ที่กำหนดให้เป็นภาษากลางในอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังเจอปัญหาขาดแคลนแรงงานทั้งด้านคุณภาพและปริมาณด้วย โดยเฉพาะแรงงานระดับล่างที่ในขณะนี้ต้องพึ่งพาแรงงานต่างด้าวมากจนเกินไป ปัญหานี้อาจส่งผลกระทบที่ต่อตลาดแรงงานในประเทศด้านการย้ายออกของแรงงานฝีมือของไทยโดยเฉพาะแรงงานที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อไปทำงานในประเทศที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าอย่างสิงคโปร์ และมาเลเซีย ขณะที่มีการย้ายเข้ามาทำงานในประเทศไทยของแรงงานต่างชาติจากประเทศที่มีค่าจ้างแรงงานต่ำกว่า ซึ่งจะทำให้การแข่งขันในตลาดแรงงานของไทยรุนแรงขึ้น ดังนั้นจึงถือได้ว่าความสามารถในการใช้ภาษาต่างประเทศเป็นทักษะที่แรงงานไทยที่ทำงานใน SMEs ภาคบริการต้องได้รับการพัฒนา จังหวัดอุบลราชธานีซึ่งมีบริเวณชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านนั้น คาดว่าจะมีความคึกคักมากขึ้น จากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะมีผล ณ วันที่ 1 มกราคม 2558 เนื่องจากจะมีการสัญจรไปมาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากการเป็นจุดขนส่งทั้งทางบกและทางอากาศและเป็นประตูสู่อีก 5 ประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong sub-region) และคาดว่าจะมีจำนวนผู้คนจากนานาประเทศเดินทางเข้าออกภายในภูมิภาคมากขึ้น ปรากฏการณ์นี้ส่งผลโดยตรงต่อผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในภาคบริการ เช่น ร้านอาหาร บริษัททัวร์ และธุรกิจโรงแรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ที่กำลังขยายตัวมากขึ้นในจังหวัดเพื่อรองรับการเปิดประชาคมอาเซียน จากการลงพื้นที่สำรวจความต้องการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ของลูกจ้างและผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการพบว่าต้องการได้รับการพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศมากที่สุดเนื่อง จากมีความจำเป็นต่อการปฏิบัติงาน จากปัญหาดังกล่าว คณะบริหารศาสตร์ในฐานะที่จัดการเรียนการสอนด้านการโรงแรม จึงเล็งเห็นความสำคัญของการเสริมทักษะแรงงานด้านภาษาต่างประเทศ ในภาคธุรกิจบริการ เช่นแรงงานระดับกลางและระดับล่างของโรงแรม ผู้ประกอบการบริษัททัวร์และลูกจ้าง ผู้ประกอบการร้านอาหารและลูกจ้างซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพในการทำงาน อันจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับอาเซียน และเป็นการเตรียมความพร้อมที่สำคัญให้กับแรงงานในโรงแรมของจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนเปิดประชาคมอาเซียนที่จะมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี (Free Flow of Skilled Labour) อีกทั้งช่วยพัฒนาแรงงานให้มีทักษะขั้นสูงในเชิงคุณภาพ ถือเป็นการเสริมความเข้มแข็งให้ภาคธุรกิจเอกชนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการอย่างธุรกิจโรงแรมอย่างแท้จริง อีกทั้งยังสอดคล้องกับพันธกิจมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีด้านการบริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือกับชุมชน สังคม ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงและนโยบายการให้บริการวิชาการตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้านการให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มผู้ประกอบการ SMEs และสอดคล้องตามเกณฑ์การประกันคุณภาพตัวบ่งชี้ที่ 5.3.2 การเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนหรือองค์กรภายนอกอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ให้แก่ผู้ประกอบการและพนักงานโรงแรม จังหวัดอุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
พนักงานโรงแรม/ผู้ประกอบการโรงแรม ไม่จำกัดเพศและอายุ สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายขึ้นไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
25 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
อบรมเชิงปฏิบัติการโดยเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน เน้นทักษะการฟังและการพูดสนทนาโต้ตอบ การฝึกอบรมจะมีวิทยากรประจำห้อง 2 คน (วิทยากรชาวต่างชาติ 1 คน และวิทยากรชาวไทย 1 คน) ทำหน้าที่ช่วยเหลือ แนะนำการฝึกทักษะแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม โดยจะมีการฝึกทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องทำข้อสอบ pre-test และ post-test เพื่อให้เห็นผลสัมฤทธิ์ของโครงการ โดยผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรจากโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2557
2558
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์โครงการ --- --- --- 1,000.00
2.จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรม ติดต่อสถานที่จัดโครงการ -- -- --- --- 2,000.00
3.จัดหาสถานที่จัดโครงการ --- -- --- --- 7,540.00
4.ดำเนินการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ --- - --- --- 78,960.00
5.ประเมินผลโครงการและรายงานผลโครงการ --- --- - --- 500.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557 - 30 กันยายน พ.ศ. 2558 รวมเวลา 365 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
8.00 ลงทะเบียนและรับเอกสารประกอบการอบรม
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
8.30 พิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง, ดร.นรา หัตถสิน Ms. Marilou Villas
7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 pre-test/ Greeting and introduction/The check-in ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง, Ms. Marilou Villas
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 The hotel bedroom/ Bathroom/ Services in the hotel ดร.นรา หัตถสิน, Ms. Marilou Villas
14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 Location of facilities/Room services ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง, Ms. Marilou Villas
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 Problems & Solutions /Using the phone ดร.นรา หัตถสิน, Ms. Marilou Villas
21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 In the restaurant/ In the kitchen words/ Taking bar order ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง, Ms. Marilou Villas
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
9.00-16.00 Places to visit / Enquires/ The check-out/ post-test ดร.นรา หัตถสิน, Ms. Marilou Villas
22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
16.00-17.00 พิธีมอบประกาศนียบัตรและปิดการฝึกอบรม ดร.สายรุ้ง ดินโคกสูง, ดร.นรา หัตถสิน Ms. Marilou Villas

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้ประกอบการ SMEs ภาคบริการมีรายได้เพิ่มขึ้นจากศักยภาพด้านภาษาต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นของลูกจ้าง
ด้านสังคม : ลดปัญหาการตกงานของแรงงานท้องถิ่นที่เกิดจากการจ้างแรงงานต่างด้าวที่มีทักษะด้านภาษาดีกว่า
ด้านสิ่งแวดล้อม : นักท่องเที่ยวต่างชาติปฏิบัติตนเหมาะสมจากการได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเพียงพอจากพนักงานที่สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดี จะช่วยลดปัญหาการทำลายสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ :

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
25
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
คุ้มค่า

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1705270
หลักสูตร การจัดการการโรงแรม
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาเห็นความสำคัญของภาษาต่างประเทศที่ต้องใช้ในการทำงานในภาคธุรกิจบริการ โดยการอาสาเข้ามาเป็นทีมงานช่วยอาจารย์ในการจัดโครงการ จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเสริมทักษะด้านภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานโรงแรม จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของจำนวนนักศึกษาทั้งหมด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการขาดทักษะด้านภาษาอังกฤษในการทำงานโรงแรม โดยจัดทำเป็นรายงานส่งอาจารย์ผู้สอน

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 43,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 43,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 43,200.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 44,100.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 1,200.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 1,200.00 บาท )
1) จำนวน 8 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 150.00 บาท
=
1,200.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 17,920.00 บาท )
1) จำนวน 16 มื้อ x มื้อละ 40.00 บาท x จำนวน 28 คน
=
17,920.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,080.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 60.00 บาท x จำนวน 28 คน
=
10,080.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 5,360.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,360.00 บาท
=
5,360.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 9,540.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำเอกสารประกอบการฝึกอบรม
=
2,000.00 บาท
2) ค่าเช่าห้องประชุม
=
7,540.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 2,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 2,700.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 90,000.00 บาท