แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เปิดโลกการเรียนรู้เทศกาลภาษาและวัฒนธรรมจีน
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวประภาพร แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการ 1.การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง:การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย 2.การจัดทำสารานุกรมศาสนสถานจีนในภาคอีสานตอนล่าง 3.การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ 4.การจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสานจีน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษา วัฒนธรรมจีน
หัวหน้าโครงการ
นายเมชฌ สอดส่องกฤษ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์จีน
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิจัย ปี งบประมาณ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.ชิดหทัย ปุยะติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Chinese Literature
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการสอนภาษาจีน ปี 2553 ถึงปัจจุบัน หัวหน้าโครงการและกรรมการโครงการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร ปี 2553 ถึงปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาวัฒนธรรมและวรรณคดีจีน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นมหาวิทยาลัยหลักในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่เปิดสอนหลักสูตรภาษาจีนในระดับปริญญาตรี และมีแผนที่จะเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคต มีจุดมุ่งหมายในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งด้านภาษาและการสอนภาษาจีน เพื่อรองรับความต้องการของโรงเรียนในเขตพื้นที่ในเขตอีสานใต้ทั้งหมด พันธกิจของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอย่างหนึ่งคือ พัฒนาและให้บริการทางวิชาการครอบคลุมจังหวัดในเขตอีสานใต้รวม 5 จังหวัดได้แก่ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ สุรินทร์ และนครราชสีมา นักเรียนที่สมัครเข้าเรียนหลักสูตรปริญญาตรีสาขาภาษาจีนที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ร้อยละ 90 มาจากโรงเรียนในพื้นที่บริการ การจัดโครงการบริการวิชาการจึงเกิดประโยชน์โดยตรงกับผู้รับบริการ และ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี แม้ว่าประเทศจีนไม่ได้เป็นสมาชิกในกลุ่มอาเซียนอย่างแท้จริง แต่ภาษาจีนไม่ใช่ภาษาของประเทศจีน หากแต่เป็นภาษาสำคัญของโลกและของกลุ่มสมาชิกอาเซียนด้วย ดังจะได้ว่าทั่วโลกเร่งพัฒนาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านภาษาจีนกันอย่างกว้างขวาง ประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน ในช่วงระหว่างการพัฒนาบุคลากรนี้ สิ่งสำคัญคือการสร้างแหล่งเรียนรู้ การผลิตสื่อการสอน ซึ่งคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีก็เป็นหน่วยงานสำคัญหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างที่จัดการเรียนการสอน และพัฒนาบุคลากรด้านภาษาจีนมาตั้งแต่ปี 2547 นับถึงปัจจุบันครบรอบ 1 ทศวรรษแล้ว แต่จากการสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีหลายปีที่ผ่านมาพบว่า นักเรียนเรียนภาษาจีนโดยขาดความสนใจอย่างแท้จริง เรียนเนื่องจากโรงเรียนจัดให้เรียน ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ เหตุเพราะไร้จุดหมายและแรงบันดาลใจที่แท้จริง ทางหนึ่งที่จะพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดความสนใจคือการได้พบได้สัมผัสกับโลกแห่งการเรียนรู้ การได้เห็นแนวทางในการเรียน ทิศทางการเรียน และการประกอบอาชีพในอนาคต สิ่งเหล่านี้จะเป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญมากที่จะพัฒนาผู้เรียนไปพร้อมๆกับการพัฒนาผู้สอน หลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ ในฐานะที่รับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาจีน โดยมีภาระกิจหลักคือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีความรู้ความสามารถภาษาและวัฒนธรรมจีนเพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง จึงจะจัดโครงการบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมและเปิดโลกการเรียนรู้ดังกล่าว โดยจะจัดนิทรรศการ “เปิดโลกการเรียนรู้เทศกาลภาษาและวัฒนธรรมจีน” ขึ้น ทั้งนี้เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ดังนี้ 1.การนำเสนอผลงานทางภาษาและวัฒนธรรมของนักศึกษาในหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ภาษาจีน การขับร้องเพลงจีน การโต้วาทีภาษาจีน การอ่านลำนำกลอนจีน เล่านิทานภาษาจีน เป็นต้น 2.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา 3.ค่ายภาษาและวัฒนธรรมจีนสำหรับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา เช่น กิจกรรมสนุกกับภาษาจีน กีฬาจีน การละเล่นของจีน เป็นต้น จากการจัดกิจกรรมดังกล่าว จะสามารถสร้างแรงจูงใจ และปูพื้นฐานความรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีนให้กับผู้เข้าร่วมทั้งผู้ให้บริการที่เป็นคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรภาษาจีน และผู้รับบริการที่เป็นนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษาอย่างได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจีน สร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของผู้ให้บริการทางวิชาการและผู้รับบริการได้อย่างยั่งยืน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ผู้ให้บริการเป็นคณาจารย์และนักศึกษาในหลักสูตรภาษาจีน และผู้รับบริการที่เป็นนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
500 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
จัดนิทรรศการ “เปิดโลกการเรียนรู้เทศกาลภาษาและวัฒนธรรมจีน” เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง ภายในงานมีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ดังนี้ 1.การนำเสนอผลงานทางภาษาและวัฒนธรรมของนักศึกษาในหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ภาษาจีน การขับร้องเพลงจีน การโต้วาทีภาษาจีน การอ่านลำนำกลอนจีน เล่านิทานภาษาจีน เป็นต้น 2.การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา 3.ค่ายภาษาและวัฒนธรรมจีนสำหรับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา เช่น กิจกรรมสนุกกับภาษาจีน กีฬาจีน การละเล่นของจีน เป็นต้น

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การวางแผนและเตรียมการข้อมูลและกิจกรรมสำหรับจัดโครงการ --- --- --- 0.00
2.การจัดเตรียมผลงานและการอบรมนักศึกษาในฐานะผู้ให้บริการ --- --- --- 53,600.00
3.การจัดกิจกรรม --- --- --- 76,000.00
4.สรุปผลการดำเนินโครงการและจัดทำรายงาน --- --- --- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
8.00-16.00 กำหนดการ 8.00 – 9.00 ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
9.00 -12.00 การเสวนาภาษาและวัฒนธรรมจีน ห้อง 1 วิทยากร 5 คน คณาจารหลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
13.00-14.00 การนำเสนอผลงานทางภาษาและวัฒนธรรมของนักศึกษาในหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร เช่น การกล่าวสุนทรพจน์ภาษา
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
14.00-15.00 กิจกรรมการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ระหว่างนักศึกษาระดับอุดมศึกษากับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
15.00-16.00 กิจกรรมค่ายภาษาและวัฒนธรรมจีนสำหรับนักเรียนระดับก่อนอุดมศึกษา เช่น กิจกรรมสนุกกับภาษาจีน กีฬาจีน การ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ :
ด้านสังคม :
ด้านสิ่งแวดล้อม :
ด้านอื่นๆ : สามารถพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของผู้ให้บริการทางวิชาการและผู้รับบริการได้อย่างยั่งยืน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ไม่มีข้อมูล

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ปริทรรศน์วัฒนธรรมจีน
หลักสูตร ภาษาจีนและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : ปี 2
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาวิชาวัฒนธรรมจีน นำเสนอโครงงานทางวัฒนธรรมอย่างน้อย 2 เรื่อง
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ส่งรายงานการจัดกิจกรรม ระบุผลที่ได้รับจากการถ่ายทอดความรู้ และผลกระทบที่มีต่อผู้รับบริการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 63,600.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 9,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 24,600.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 20 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
12,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 12,600.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
12,600.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานเพื่อฝึกอบรมเป็นหัวหน้าทีมเพื่อการจัดกิจกรรม)จำนวน 10 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
30,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 36,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 28,400.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมแสดงผลงานประเภทนิทรรศการ (5 * 1000 บ.)
=
5,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมประเภทภาษาและวัฒนธรรม (5 กิจกรรม * 5000 บ.)
=
5,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดกิจกรรมค่าย (5 กิจกรรม * 1680 บ.)
=
8,400.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาการจัดการ ทำหน้าที่ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ ต้อนรับ จัดสถานที่ก่อนและหลัง
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท