แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเพื่อให้ความรู้ในหัวข้อ “สอนน้องออมเงินทองของมีค่า โดยสื่อมัลติมีเดียการ์ตูนเอนิเมชั่น”
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวภัทราจิตร แสงสว่าง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ผู้ตรวจสอบภายใน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ตรวจสอบภายใน
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Accounting Information Systems
ประสบการณ์ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ประสบการณ์ในการตรวจสอบหน่วยงานภาครัฐและเอกชนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 วิทยากรบรรยายด้านบัญชี ภาษีอากร และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : การสอบบัญชี การภาษีอากร การควบคุมภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.จักริน วชิรเมธิน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การเขียนโปรแกรม PHP & MySQL จัดโดย SIPA และสำนักคอมพิวเตอร์และเครือข่าย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556
ความเชี่ยวชาญ : - System Analysis and Design - Web Design and Development - Internet Marketing - Social Media Marketing - Data Mining - Parallel Programming - Database and Application Programming - Php Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education
ผู้ร่วมโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นายวิญญู วีระนันทาเวทย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Master of Business Administration
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำสขาการจัดการธุรกิจ
ความเชี่ยวชาญ : เศรษฐศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
นายคมทัศน์ ทัศวา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : MBA
ประสบการณ์ : Marketing officer at STA
ความเชี่ยวชาญ : Marketing in international business
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.อนิรุธ สืบสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาการคอมพิวเตอร์
ประสบการณ์ : - การพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้ประกอบการ จัดโดย Science Park มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2557 - การใช้งาน Google Apps for Education จัดโดย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี ปี 2557 - การพัฒนาเว็บไซต์ด้วยภาษา PHP จัดโดย SIPA ร่วมกับ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปี 2556 -วิทยากรรับเชิญ “การเตรียมตัวเข้าสู่ AEC ของภาคธุรกิจด้าน IT”
ความเชี่ยวชาญ : - Data Mining - Soft Computing - Information Retrieval - Network Systems - Parallel Programming - Database and Application Programming - Mobile Programming - Google Apps for Education - Internet Marketing
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐให้ดำเนินไปในทางสายกลาง เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งภายในสภาวการณ์ปัจจุบัน นักเรียนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้เงินอย่างไม่เห็นคุณค่า ไม่มีเหตุผล ฟุ่มเฟือย ลุ่มหลงในค่านิยมทางวัตถุ และเทคโนโลยีทั้งที่ยังไม่สามารถหารายได้ด้วยตนเอง จึงส่งผลให้พ่อแม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูมากขึ้น นอกจากนั้นนักเรียนขาดการเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต จึงทำให้เมื่อถึงเวลาจำเป็นที่จะต้องใช้เงินนักเรียนอาจไม่สามารถหาเงินได้ และส่งผลเป็นภาระให้ผู้ปกครองต่อไป จากความสำคัญดังกล่าว คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาด้วยการบูรณาการกับการเรียนการสอน โดยจัดให้มี โครงการบริการวิชาการ “สอนน้องออมเงินทองของมีค่า โดยการ์ตูนเอนิเมชั่น” เพื่อส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักบริหารจัดการการใช้เงิน มีทักษะและเป้าหมายที่ชัดเจนในการออม เห็นคุณค่าของการออม มีทักษะในการบริหารงบประมาณ รู้จักคุณค่าของเงินและสิ่งของ มีวิธีคิดที่จะพิจารณาในการใช้เงิน รู้จักการออม รู้จักกระบวนการออมเงิน สามารถนำกระบวนการต่างๆดังกล่าวข้างต้นไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสมกับวัย และรู้จักการใช้เงินให้เป็นประโยชน์มากที่สุด อันจะส่งผลให้การดำเนินชีวิตในอนาคตเป็นคนที่มีคุณภาพ และเนื่องจากการบริการวิชาการครั้งนี้มุ่งเน้นที่เยาวชนเป็นหลักจึงได้มีการนำสื่อการสอนผ่านการสร้างการ์ตูนแอนิเมชันด้วย Flash CS๔ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น ประกอบกับนักศึกษาในสาขา MIS และสาขาการบัญชีจะได้นำความรู้พื้นฐานจากการเรียนรายวิชาจริยธรรมทางธุรกิจ และพื้นฐานในการสร้างและออกแบบการ์ตูนแอนิเมชันด้วยโปรแกรม Flash CS๔ มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ รวมทั้งเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังของชาติต่อไป

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อให้นักศึกษา /นักเรียน เห็นความสำคัญ และมีความรู้ในเรื่องการรู้จักประหยัดและอดออม เห็นคุณค่าของเงิน และปลูกฝังนิสัยให้รู้จักการประหยัด
2.2. เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้จากการเรียนในรายวิชาหลักการบัญชีมาใช้ประโยชน์ โดยการถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการออมให้กับเยาวชน
3.3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการสร้างและออกแบบการ์ตูนแอนิเมชันด้วยโปรแกรม Flash CS๔ มาใช้เป็นสื่อในการรณรงค์การสอนน้องออมเงินทองของมีค่าแก่นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. นักเรียนในเขตพื้นที่บริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีจำนวน 3 โรงเรียน 2. โรงเรียนในเขตทุรกันดารจำนวน 20 โรงเรียน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
420 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การนำนักศึกษาเข้าร่วมให้บริการวิชาการแก่เป้าหมาย เพื่อให้นักศึกษาที่ลงเรียนในรายวิชาหลักการบัญชี สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจหลักการในการบันทึกบัญชีรับ จ่าย และยอดเงินออมในแต่ละวัน ตามเนื้อหาสาระวิชาที่ทำการสอน 2.ให้นักศึกษาสาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ออกแบบและสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น เกี่ยวกับการออมเงินทองของมีค่า และแจกแผ่น CD ให้กับนักเรียนในเขตพื้นที่ทุรกันดาร

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.ประชุมคณะกรรมการ ประชาสัมพันธ์โครงการ และรวบรวมผู้เข้าร่วมโครงการ --- --- --- 5,000.00
3.เตรียมเอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดเตรียมสื่อการ์ตูนแอนิเมชั่น --- --- --- 5,000.00
4.ดำเนินการอบรม และสรุปโครงการ --- --- --- 40,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.00-12.00 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออมเงินทองของมีค่า โดยสื่อการ์ตูน แอนิเมชั่น ด้วยโปรแกรม Flash CS นักศึกษาสาขาการบัญชี
15 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 จัดทำกิจกรรมรณรงค์การออมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น - เกมรณรงค์การออม - การแสดงละครโดยกลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ภัทราจิตร แสงสว่าง
17 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.00-12.00 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออมเงินทองของมีค่า โดยสื่อการ์ตูน แอนิเมชั่น ด้วยโปรแกรม Flash CS นักศึกษาสาขาการบัญชี
17 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 จัดทำกิจกรรมรณรงค์การออมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น - เกมรณรงค์การออม - การแสดงละครโดยกลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ภัทราจิตร แสงสว่าง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.00-12.00 ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการออมเงินทองของมีค่า โดยสื่อการ์ตูน แอนิเมชั่น ด้วยโปรแกรม Flash CS นักศึกษาสาขาการบัญชี
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 จัดทำกิจกรรมรณรงค์การออมกับกลุ่มเป้าหมาย เช่น - เกมรณรงค์การออม - การแสดงละครโดยกลุ่มเป้าหมาย อาจารย์ภัทราจิตร แสงสว่าง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. อาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในการพัฒนากิจกรรมการบริการวิชาการแก่สังคม โดยการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของชาติต่อไป 2. สร้างบรรยากาศด้านการอดออมให้กับชุมชน ซึ่งในอนาคตนักเรียนจะมีการวางแผนการใช้ชีวิตที่มีพื้นฐานจากการเห็นคุณค่าของเงิน
ด้านสังคม : 1. อาจารย์และนักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมการเสริมสร้างคุณลักษณะจิตสาธารณะให้กับชุมชน โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับการออมเงิน 2. อาจารย์สามารถบูรณาการโครงการเข้ากับการจัดการเรียนการสอน โดยการสอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับเห็นคุณค่าของเงินและการอดออม การวางแผนการใช้จ่ายเงินอย่างพอเพียงและเพียงพอ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
336
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
นักเรียน และนักศึกษามีจิตสำนึกที่ดีในการรู้จักการออม รู้จักเงินทองของมีค่า เพื่อทำให้เกิดจิตสำนึกที่ดี ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพภายใต้งบประมาณ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา หลักการบัญชี และ การออกแบบและพัฒนา Website
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต และ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ บริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 1และ 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน 1) ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านในหัวข้อการบันทึกรายการรับเงิน จ่ายเงิน ในสมุดรายวันรับ-จ่าย 2) คะแนนการออกแบบและสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาสามารถถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการเรียนวิชาหลักการบัญชีให้กับกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสามารถทำให้นักศึกษาเข้าใจหลักการในการออมตามเนื้อหาสาระวิชาที่ทำการสอน คะแนน Post test เรื่องความรู้ในการออมเพิ่มขึ้น
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ นักศึกษาออกแบบและสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น เกี่ยวกับการออมเงินทองของมีค่า จำนวนเรื่องการ์ตูนแอนิเมชั่นอย่างน้อย 2 เรื่อง

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 7,200.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 7,200.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 34,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 3,600.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) จำนวน 3 ครั้ง x จำนวน 4 คน x ครั้งละ 300.00 บาท
=
3,600.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 22,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 150 คน
=
22,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 3,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 3,400.00 บาท
=
3,400.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำหนังสือการ์ตูน
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 8,300.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 7,300.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
4,600 แผ่น x 0.50 บาท
=
2,300.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 1,000.00 บาท )
1) วัสดุโฆษณา แผ่นป้ายไวนิล
=
1,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 50,000.00 บาท