แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดความรู้ด้านวรรณกรรมจีนสู่ประชาชน
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ชิดหทัย ปุยะติ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา :
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน
หัวหน้าโครงการ
นายเมชฌ สอดส่องกฤษ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ภาษาศาสตร์และนิรุกติศาสตร์จีน
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม วิจัย ปี งบประมาณ 2552 ถึง ปัจจุบัน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษาศาสตร์และวัฒนธรรมจีน ภาษาและวัฒนธรรมลุ่มน้ำโขง
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวประภาพร แก้วอมตวงศ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การสอนภาษาจีนเป็นภาษาต่างประเทศ
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการ 1.การบริการวิชาการเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง:การสร้างสื่อการเรียนการสอนภาษาจีนจากสื่อมัลติมีเดีย 2.การจัดทำสารานุกรมศาสนสถานจีนในภาคอีสานตอนล่าง 3.การจัดทำฐานข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศจีนตอนใต้ 4.การจัดทำพจนานุกรมคำศัพท์ร่วมเชื้อสายไทยถิ่นอีสานจีน
ความเชี่ยวชาญ : ภาษา วัฒนธรรมจีน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
นับย้อนขึ้นไปจากปัจจุบันราว 20 – 30 ปี เป็นยุคที่ภาพยนตร์จีนกำลังภายในเฟื่องฟูและได้รับความนิยมมาสำหรับผู้ชมชาวไทย มีการแพร่ภาพภาพยนตร์จีนทางโทรทัศน์ทุกช่อง ภาพยนตร์เหล่านี้บ้างสร้างขึ้นมาจากงานวรรณกรรมจีนเลื่องชื่อ บ้างแต่งขึ้นใหม่ บ้างอ้างอิงประวัติศาสตร์ แต่ผลงานที่ได้รับความสนใจและมีประโยชน์ต่อการศึกษาก็คือ ผลงานที่สร้างจากงานวรรณกรรมจีนนั่นเอง เช่น ไซอิ๋ว สามก๊ก นางพญางูขาว เป็นต้น ยังมีงานวรรณกรรมจีนอีกเป็นจำนวนมากที่นับว่าเป็นวรรณกรรมชิ้นเอกของจีน แต่ยังไม่เคยนำมาเผยแพร่ในเมืองไทย เช่น ความรักในหอแดง ม่านประเพณี สาวทอผ้ากับหนุ่มเลี้ยงวัว นางเมิ่งเจียงหนวี่ สุยหู่จ้วน สื่อจี้ มีเพียงวรรณกรรมฉบับแปลเป็นภาษาไทยที่ได้รับความนิยมในหมู่ผู้ศึกษาภาษาและวรรณคดีจีนเท่านั้น แต่ประชาชนชาวไทย โดยเฉพาะผู้สนใจศึกษาภาษาและวรรณคดีจีนยังไม่มีโอกาสได้รู้จักและสัมผัสอรรถรสความงามของวรรณกรรมจีนดังกล่าว หลักสูตรภาษาจีน คณะศิลปศาสตร์ ในฐานะที่รับผิดชอบการเรียนการสอนภาษาจีน โดยมีภาระกิจหลักคือพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและผู้มีความรู้ความสามารถภาษาและวัฒนธรรมจีนเพื่อตอบสนองความต้องการในพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง คณะกรรมการบริหารหลักสูตรมีความยินดีที่จะจัดโครงการเพื่อบริการความรู้ให้กับประชาชนในเรื่องดังกล่าว โดยจะจัดโครงการในลักษณะของการให้ความรู้คู่กับความบันเทิง กล่าวคือ หนังสือวรรณกรรมจีนคัดสรร และละครเวทีโดยเลือกมาจากวรรณกรรมเอกของจีน ถ่ายทอดและนำเสนอโดยนักศึกษาสาขาภาษาจีนของคณะศิลปศาสตร์ การเผยแพร่ความรู้ในครั้งนี้ ไม่เพียงเป็นการเสริมสร้างความรู้ด้านภาษาและวรรณกรรมจีนเท่านั้น หากแต่ยังตอบสนองความต้องการ การสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ การเผยแพร่ผลงาน การดำเนินงานเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีอีกด้วย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับภาษาและวรรณกรรมจีนสู่ประชาชน ผ่านบทวรรณกรรมคัดสรร และ การแสดงละครเวที

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ครูผู้สอนภาษาจีน นักเรียน นักศึกษา ประชาชนผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
200 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.การจัดทำหนังสือ รวบรวมบทวรรณกรรมจีนคัดสรร เพื่อแจกจ่ายให้กับผู้เข้าร่วมงาน และเผยแร่ให้กับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย โดยเฉพาะเขตพื้นที่ภาคอีสานตอนล่าง 2.การถ่ายทอดความรู้ด้านวรรณกรรมเอกของจีนผ่านการแสดงละครเวที โดยนักศึกษาหลักสูตรภาษาจีนและการสื่อสาร

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การวางแผนเตรียมงาน --- --- --- 0.00
2.การเรียบเรียงบทละครและจัดพิมพ์หนังสือ และการฝึกซ้อมการแสดงละครเวที -- --- --- 144,600.00
3.การเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน การแสดงละครเวที --- -- --- --- 25,000.00
4.การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน --- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
13.00-14.00 ลงทะเบียนและชมนิทรรศการ รับหนังสือบทวรรณกรรมจีนคัดสรร
8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
14.00-16.30 การแสดงละครเวที จาก ผลงานวรรณกรรมจีนคัดสรร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : -
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : เสริมสร้างความรู้ด้านภาษาและวรรณกรรมจีน ตอบสนองความต้องการ การสร้างโลกแห่งการเรียนรู้ การเผยแพร่ผลงาน การดำเนินงานเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
200
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วรรณคดีจีน
หลักสูตร ภาษาจีนและการสื่อสาร
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาจะต้องเลือกวรรณกรรมที่สนใจ และจัดการแสดงละครเวทีภาษาจีน 1 เรื่อง เพื่อเป็น ภาคนิพนธ์สำหรับวิชานี้
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ สรุปผลเป็นภาคนิพนธ์เรื่อง วรรณกรรมจีนกับการศึกษาภาษาและวัฒนธรรมจีนผ่านการแสดงละครเวที
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 56,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 16,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 16,500.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
10,500.00 บาท
2) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
6,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 40,000.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงาน (ฝึกซ้อมการแสดง )จำนวน 20 คน x จำนวน 20 ชม. x จำนวน 100.00 บาท/ชม.
=
40,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 43,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 43,500.00 บาท )
1) จ้างเหมาผู้กำกับการแสดง
=
9,500.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาเขียนบทละครจีนจากงานวรรณกรรมคัดสรรจำนวน1เรื่อง
=
9,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาตัดเย็บเครื่องแต่งกายนักแสดง พร้อมแต่งตัวแต่งหน้านักแสดง
=
10,000.00 บาท
4) ค่าจ้างเหมาการจัดทำฉากและอุปกรณ์ประกอบการแสดง
=
5,000.00 บาท
5) ค่าจ้างเหมาเช่า และควบคุมแสง สี เสียง และโสตทัศนูปกรณ์
=
5,000.00 บาท
6) ค่าจ้างเหมาจัดการประชาสัมพันธ์ หน้าที่ประสานงาน ประชาสัมพันธ์ วัสดุประชาสัมพันธ์ต่างๆจัดเตรียมอาคารส
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 0.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท