แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ โครงการอบรมเพื่อให้ความรู้ในหัวข้อ “คลินิกภาษีเคลื่อนที่” สำหรับนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ตรวจสอบบัญชี และการควบคุมภายใน
ความเชี่ยวชาญ : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
หัวหน้าโครงการ
นางสาวภัทราจิตร แสงสว่าง คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การบัญชี
ประสบการณ์ : ผู้ตรวจสอบภายใน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ตรวจสอบภายใน
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวศุภกัญญา จันทรุกขา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการธุรกิจ
ประสบการณ์ : ประธานหลักสูตรการจัดการธุรกิจ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริหาร ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา
ความเชี่ยวชาญ : หลักการจัดการ การจัดการทรัพยากรมนุษย์
ผู้ร่วมโครงการ
นายฐิติ ราศีกุล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : สถิติประยุกต์
ประสบการณ์ : - การส่งเสริมผู้ประกอบการด้านการจัดการ การตลาด บุคคล -การส่งเสริมผู้ประกอบการเพื่อทำการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching) กับประเทศในกลุ่ม AEC ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม - การวิจัยในประเทศกัมพูชา - การจัดงาน เปิดบ้านบริหารศาสตร์ ณ เซนทรัลพลาซา อุบลราชธานี ปี 2559 , 2560
ความเชี่ยวชาญ : - การบริหารจัดการโครงการ (Project Management) - การวิจัยเชิงพื้นที่ - การวิจัยตลาด
ผู้ร่วมโครงการ
นายวิญญู วีระนันทาเวทย์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : Master of Business Administration
ประสบการณ์ : อาจารย์ประจำสขาการจัดการธุรกิจ
ความเชี่ยวชาญ : เศรษฐศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
บุคคลธรรมดาส่วนใหญ่ไม่ได้ให้ความสำคัญต่อภาษีอากร อาจจะเป็นเพราะเงินได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ ไม่มีประสบการณ์ในการได้รับเงินได้พึงประเมินประเภทต่างๆอย่างครบถ้วน เช่น การถูกรางวัลชิงโชค หรือการได้รับรางวัลพิเศษ เป็นต้น รวมทั้งอาจยังขาดความรู้ทางด้านภาษีที่รอบด้าน หลายคนอาจยังเข้าใจว่าเรื่องภาษีอากรเป็นเรื่องไกลตัว และเป็นเรื่องของผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงิน หัวหน้างาน หรือเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร เป็นต้น ในปัจจุบันภาษีอากรได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงค่อนข้างบ่อยและรวดเร็ว บุคคลธรรมดาทุกคนจะต้องติดตามข้อมูลข่าวสารให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อให้การเสียภาษีอากรถูกต้องครบถ้วนและประหยัด อีกทั้งยังเป็นการป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตในเรื่องเบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือโทษทางอาญาอีกด้วย ภาษีอากรถือเป็นต้นทุนอย่างหนึ่งในการดำรงชีวิตของบุคคลธรรมดาผู้ซึ่งมีเงินได้พึงประเมิน จึงไม่แปลกใจว่าทำไมหลายคนจึงไม่อยากจะเสียภาษี จนถึงขั้นหนีภาษี หรือไม่เสียภาษีเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ จากการที่รัฐบาลไทยได้สนับสนุนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการประเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคม การแก้ไขปัญหาความยากจนและยกระดับคุณภาพชีวิต อันหมายความถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการด้านการเงินและการดำรงชีพในชีวิตประจำวัน ดังนั้น การสื่อสารให้บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้เข้าใจถึงสิทธิและหน้าที่ของตนเองที่เกี่ยวภาษีอากร และปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาที่อาจจะตามมาในอนาคต ก็ถือเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับบุคลการได้ด้วยเช่นเดียวกัน คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการแก่ชุมชนมาโดยตลอด เช่น โครงการวางแผนภาษีให้กับผู้ประกอบการทั่วไป โครงการอบรมให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีให้สอดคล้องกับหลักภาษีอากรให้กับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งการให้บริการคลินิกธุรกิจเคลื่อนที่กับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ซึ่งแต่ละกลุ่มเป้าหมายล้วนแล้วแต่มีปัญหาในการบริหารจัดการภาษีอากรที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม เรายังไม่เคยหันกลับมามองบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา เจ้าหน้าที่ หรืออาจารย์ ว่าบุคคลเหล่านี้มีปัญหาเกี่ยวกับภาษีอากรกันบ้างหรือไม่ และมีวิธีการบริหารจัดการกันอย่างไร โครงการคลินิกภาษีเคลื่อนที่สำหรับนักศึกษาและบุคลากรในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงน่าจะเป็นทางออกหนึ่งในการยกระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษาและบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีให้ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยตื่นตัว เห็นความสำคัญ และมีความรู้เพิ่มเติมในการวางแผนภาษีเพื่อการดำรงชีพ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว
2. เพื่อให้นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสามารถเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดภาษี หรือลดค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มต่างๆ เนื่องจากการจ่ายชำระภาษีที่ไม่ถูกต้องได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
ให้การอบรมบริการวิชาการเชิงปฏิบัติการด้านการภาษีอากร

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.เสนอโครงการ -- --- --- --- 0.00
2.1. ประชุมคณะกรรมการ 2. ประชาสัมพันธ์โครงการ 3. รวบรวมผู้เข้าร่วมโครงการ --- --- --- 5,000.00
3.เตรียมเอกสารการอบรมเชิงปฏิบัติการ --- --- -- --- 5,000.00
4.1.ดำเนินการอบรม 2. สรุปโครงการฯ --- --- --- 40,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 - 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 12 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 1
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00 – 10.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.30 – 12.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 2
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 14.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
18 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.30 – 16.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.30 – 16.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 14.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 4
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.30 – 12.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00 – 10.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
19 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 3
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
08.30 – 09.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 5
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
09.00 – 10.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
10.30 – 12.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
12.30 – 13.00 น. ลงทะเบียน ณ คณะที่ 6
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
13.00 – 14.30 น. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
14.30 – 16.00 น. วีธีการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และกรณีศึกษา ผศ.ศิริรัตน์ เจนศิริศักดิ์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : 1. นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยสามารถเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน ซึ่งจะทำให้สามารถประหยัดภาษี หรือลดค่าใช้จ่ายเบี้ยปรับเงินเพิ่มต่างๆ เนื่องจากการจ่ายชำระภาษีที่ไม่ถูกต้องได้
ด้านสังคม : 2. นักศึกษา และบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยตื่นตัว เห็นความสำคัญ และมีความรู้เพิ่มเติมในการวางแผนภาษีเพื่อการดำรงชีพ อันนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของตนเองและครอบครัว
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
100
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้งบประมาณ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การภาษีอากร
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต และบริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2 และ 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านในหัวข้อภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 70
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การภาษีอากร
หลักสูตร บัญชีบัณฑิต และบริหารธุรกิจบัณฑิต
นักศึกษาชั้นปี : 2 และ 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่สอบผ่านในหัวข้อภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาไม่น้อยกว่า 70
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 16,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 10,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 10,800.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
10,800.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,400.00 บาท )
1) จำนวน 7 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,400.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,100.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 2,100.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยงานจำนวน 2 คน x จำนวน 42 ชม. x จำนวน 25.00 บาท/ชม.
=
2,100.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 4,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 4,000.00 บาท
=
4,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 9,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 4,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
6,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
3,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,600.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
5,300.00 บาท
2) ค่าล้างอัดรูป แผ่นป้ายไวนิล
=
300.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 50,000.00 บาท