แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 5
ลักษณะโครงการ การประชุมวิชาการ สัมมนาเชิงวิชาการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็ง ความมั่นคงด้านอาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.ภาวนา พนมเขต คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : จุลชีววิทยา
ประสบการณ์ : ผู้ร่วมโครงการคัดกรองโรคธาลัสซีเมี ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่มโครงการตรวจวัดระดับความเครียดนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดอุบลราชธานี ปี 2554
ความเชี่ยวชาญ : จุลชีววิทยา เมลิออย์โดสิส
หัวหน้าโครงการ
นายวัชรพงษ์ แสงนิล คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเกษตรและพัฒนาชนบท
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : -
ผู้ร่วมโครงการ
นายปรีดา ปราการกมานันท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์ (biomedical sciences)
ประสบการณ์ : การตรวจทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์
ความเชี่ยวชาญ : Biosensor technology Cervical cancer
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.รสริน การเพียร คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : 1. ทำงานวิจัยเกี่ยวกับธาลัสซีเมีย 2. เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชนและครอบครัว 2และวิชาการส่งเสริมสุขภาพและประสบการณ์วิชาชีพแพทย์
ความเชี่ยวชาญ : ธาลัสซีเมีย โลหิตวิทยา
ผู้ร่วมโครงการ
นางศุทธินี ธิราช คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : กุมารเวชศาสตร์ โรคระบบหายใจและเวชบำบัดวิกฤต
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการ ค่ายฉันอยากเป็นหมอ...มอทราย ครั้งที่ 5 หัวหน้าโครงการ ค่ายฉันอยากเป็นหมอ...มอทราย ครั้งที่ 6
ความเชี่ยวชาญ : กุมารเวชศาสตร์
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุรศักดิ์ แว่นรัมย์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ชีวเวชศาสตร์
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ปี 2553 และ 2554 ผู้ร่วมโครงการประชุมวิชาการวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ครั้งที่ 2, 3, 4 หัวหน้าโครงการบริการวิชาการตระหนักรู้และใส่ใจ เยาวชนรุ่นใหม่ ห่างไกลโรคมะเร็งตับและท่อน้ำดี ปี 2558 และ ปี 2559
ความเชี่ยวชาญ : ชีวเวชศาสตร์: โรคติดเชื้อและโรคมะเร็ง
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เริ่มก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2549 โดยมีภารกิจที่จะต้องผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรม สร้างงานวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิต ให้บริการชุมชนด้านสุขภาพแบบองค์รวมและบูรณการ รวมทั้งการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่นและประเทศชาติ โดยเฉพาะประชาชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ดังนั้นจึงได้มีนโยบายในการสนับสนุนให้จัดกิจกรรมเพื่อบริการวิชาการประจำปีขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2559 นี้จะจัดในหัวข้อเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อมุ่งให้ผู้เรียนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพ สร้างเสริมสุขภาพ โดยกระบวนการระดมทรัพยากรต่างๆ เพื่อเอื้อให้ประชาชนมีขีดความสามารถในการควบคุมปัจจัยที่จะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บและพัฒนาให้มีสุขภาพที่ดีทั้งกาย ใจและสังคม เพื่อใช้ความมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนในการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดไป ซึ่งสำนักส่งเสริมอนามัย กรมอนามัย ได้ให้คำจำกัดความว่า คือ กระบวนการเพิ่มความสามารถของตนเองในการพัฒนาสุขภาพของตนเองให้บรรลุความสมบูรณ์ทางกาย อารมณ์และจิตใจ การส่งเสริมสุขภาพจะประสบความสำเร็จได้ กลุ่มชนและบุคคลต้องเข้าใจ รู้ปัญหา ความอยากได้ ความต้องการและการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของสังคม โดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok charter) ได้กำหนดว่าการส่งเสริมสุขภาพเป็นกระบวนการชี้นำเพื่อสุขภาพโดยตั้งบนพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนและภารดรภาพ เป็นการลงทุนเพื่อการพัฒนานโยบายที่ยั่งยืนและเพื่อการดำเนินตลอดจนการจัดโครงสร้างพื้นฐานที่จะจัดการกับปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดด้านสุขภาพ การสร้างศักยภาพเพื่อการพัฒนานโยบาย สร้างภาวะผู้นำ พัฒนาทักษะส่งเสริมสุขภาพ การถ่ายทอดความรู้และศึกษาวิจัย การออกระเบียบ กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองจากอันตรายและมีโอกาสที่จะมีสุขภาพดีเท่าเทียมกัน การสร้างภาคีเครือข่ายและพันธมิตร ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาสังคมและองค์การระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่ยั่งยืน ซึ่งลักษณะพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้ คือ สุขอนามัยส่วนบุคคล การบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับ การจัดการกับความเครียด การงดสูบบุหรี่ การงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การป้องกันอุบัติภัย การตรวจสุขภาพประจำปีและการควบคุมสิ่งแวดล้อม วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของชุมชนอีสานใต้ ตามวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยฯ ได้เห็นความสำคัญในด้านการแพทย์และสาธารณสุขในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างเสริมสุขภาพ การสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่จะสนับสนุนให้กับงานส่งเสริม ควบคุม ป้องกันและรักษาโรคและภัยสุขภาพให้มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข การเผยแพร่องค์ความรู้ นวัตกรรมสุขภาพ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อเป็นเวทีสร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายวิจัย บริการวิชาการ ดำเนินงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข ระหว่างโรงเรียนแพทย์ร่วมผลิตกับวิทยาลัยฯ 2. เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถ่ายทอดประสบการณ์วิจัย องค์ความรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านการแพทย์และสาธารณสุข จากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย อย่างเป็นรูปธรรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- คณาจารย์นักวิจัยศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพภายในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและเครือข่ายวิจัยภายนอกมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข อาทิเช่น แพทย์ เภสัชกร พยาบาล นักเทคนิคการแพทย์ นักวิชาการ นักวิจัยประจำโรงพยาบาล ศูนย์สุขภาพ ศูนย์อนามัย ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และหน่วยงานที่สังกัดกระทรวงสาธารณสุข -บุคลากรที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น -นักวิชาการในสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัย โรงเรียน -เครือข่ายภาคประชาชนด้านการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
300 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ 1.1 ตั้งคณะทำงาน ประสานงาน ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการและสมาชิกเครือข่าย 1.2 จัดเตรียมวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จัดหาสื่อ และเอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการด้านนวัตกรรมสุขภาพกับการสร้างเสริมสุขภาพ 1.3 จัดเตรียมสถานที่ ห้องประชุมในการประชุมวิชาการและจัดแสดงนิทรรศการกับผลงานด้านองค์ความรู้ด้านการแพทย์และสาธารณสุข นวัตกรรมสุขภาพและกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ 1.4 จัดประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ตรงโดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่จะนำเสนอผลงานมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ 1.5 สรุปการดำเนินงาน ประเมินผลและจัดพิมพ์องค์ความรู้ที่เกิดขึ้นเพื่อเผยแพร่แก่ผู้เข้าร่วม สัมมนาและผู้ที่สนใจ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผนประสานงานประชาสัมพันธ์และเตรียมการ --- --- --- 59,000.00
2.2.จัดประชุมและกิจกรรมต่างๆ --- --- --- 92,000.00
3.ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการ --- --- - --- 278,000.00
4.จัดทำสรุปผลการประชุมและจัดพิมพ์ --- --- --- - 2,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
24 มีนาคม พ.ศ. 2559
08.00-12.00 การจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนแพทย์ระดับโลก ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
24 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม รศ.นพ.ป่วน ศุทธิพินิจธรรม
25 มีนาคม พ.ศ. 2559
09.00-12.00 สุขภาพดีไม่มีขาย พญ.ชลดา
25 มีนาคม พ.ศ. 2559
13.00-16.00 นำเสนอผลงานแบบบรรยาย ผู้ที่ผลงานผ่านการพิจารณาจากวารสาร จพสท

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1.ผู้เข้าร่วมโครงการได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัย 2.เกิดความร่วมมือและภาคีเครือข่ายการดำเนินงานด้านการวิจัยในระดับท้องถิ่น ระดับภาคและระดับประเทศ
ด้านสิ่งแวดล้อม : -
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
300
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
50
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้เข้าร่วมประชุมได้รับความรู้ที่ทันสมัย นำไปใช้ในการปฏิบัติงานในสายวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เวชศาตร์ชุมชน 2
หลักสูตร หลักสูตรแพทยศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ผลงานจากการทำวิจัยในรายวิชาเวชศาสตร์ชุมชน นักศึกษาจะนำมาเข้าร่วมแสดงในงานประชุมวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ
ดาวโหลดไฟล์ มคอ./แผนการสอน :ดาวโหลด

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 41,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 38,700.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 36,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 5 คน
=
36,000.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 2,700.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,700.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 1,500.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 1,500.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 15 คน
=
1,500.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 1,600.00 บาท )
1) เจ้าหน้าที่จัดและเก็บสถานที่ นอกเวลาราชการจำนวน 4 คน x จำนวน 2 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
1,600.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 84,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 33,000.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 5,000.00 บาท
=
30,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 3,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คืน x จำนวน 3 ห้อง x ห้องละ 1,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท
2) จำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 150.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 1,200.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 1 วัน x ราคา 1,200 บาท/คัน/วัน
=
1,200.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 283,700.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 5,700.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
8,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
4,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
500.00 บาท
=
500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,200.00 บาท
=
1,200.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 278,000.00 บาท )
1) ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ลงวารสาร จพสท
=
278,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 409,700.00 บาท