แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ ส่งเสริมความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการทำงาน
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.กติกา สระมณีอินทร์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Biomedical Engineering University of Strathclyde, Glasgow, UK
ประสบการณ์ : * Lecturer: Occupational Health and Safety, Faculty of Science, Ubon Ratchathani University * Special lecturer: Safety and Health at Work Promotion Association (Thailand) * Special lecturer: All is One Co.,Ltd Special Lecturer: Safety Science, Faculty of Science Technology, Bansomdejchaopraya Rajabhat University * Engineer: National Electronics and Computer Technology Centre * Safety Officer: Wongpin Co.,Ltd
ความเชี่ยวชาญ : Biomechanics, Human Factors, Gait and Motion Analysis, Health Promotion, Safety for Vulnerable Populations
หัวหน้าโครงการ
นายรัชวุฒิ โคตรลาคำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : - ผู้ควบคุมมลพิษสิ่งแวดล้อมด้าน น้ำ อากาศ และกากของเสียอันตรายที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อมภาคโรงงานอุตสาหกรรม
ความเชี่ยวชาญ : ผู้ควบคุมด้านมลพิษสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มีพันธกิจในการผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสำนึก และความรับผิดชอบ สามารถพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ประสบผลสำเร็จในการประกอบอาชีพ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บริการวิชาการและถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม และเชื่อมโยงกลับสู่การเรียนการสอน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เป็นหนึ่งในสาขาวิชาที่เปิดการเรียนการสอนในคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมุ่งเน้นการผลิตบัณฑิตที่มีองค์ความรู้ ความสามารถ และทักษะทางด้าน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย และการส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ประกอบอาชีพตลอดจนประชาชนทั่วไป รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมโดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งปัจจุบันปัญหาทางด้าน อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นปัญหาสำคัญที่ในลำดับต้นๆของผู้ประกอบอาชีพ เช่น ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงาน ดังนั้น การป้องกันการเกิดปัญหาทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยต้องอาศัยความร่วมมือ องค์ความรู้และบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพเฉพาะทำหน้าที่ในการควบคุมป้องกันเพื่อให้ผู้ประกอบอาชีพมีความปลอดภัยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีในการทำงาน ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกิจของคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย จึงได้จัดโครงการส่งเสริมความปลอดภัยและลดความเสี่ยงจากการทำงานขึ้น โดยประสานงานร่วมกับสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อส่งเสริมให้แรงงานนอกระบบกลุ่มเกษตรกร และหัตถกรรมชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวัน รวมทั้งนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมกับชุมชนในการถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยี เพื่อการจัดการสุขภาวะและสิ่งแวดล้อม โดยเชื่อมโยงกับการเรียน การวิจัย และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชุมชน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ความรู้ในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงานให้แก่แรงงานนอกระบบกลุ่มเกษตรกร และหัตถกรรมชุมชน
2. เพื่อส่งเสริมให้เกิดสุขภาพที่ดี มีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวันในชุมชน
3. เพื่อให้นักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในชุมชน
4.เพื่อสร้างเสริมคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพให้กับนักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
5.เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานระหว่างสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยและชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1. แรงงานนอกระบบกลุ่มเกษตรกร และหัตถกรรมชุมชน 2. นักศึกษาสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
120 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1) ให้ความรู้เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยงในการประกอบอาชีพและการป้องกัน และการดูแลสุขภาพให้กับคนในชุมชนโดยมุ่งเน้นการทำงานในด้านเกษตรกรรมและหัตถกรรมชุมชน 2) ตรวจสุขภาพเบื้องต้นตามปัจจัยเสี่ยงให้กับคนในชุมชน เช่น การตรวจสมรรถภาพปอด การตรวจวัดสายตา การประเมินสภาวะการได้ยิน การตรวจสมรรถภาพกล้ามเนื้อ เป็นต้น 3) จัดกิจกรรมออกกำลังกาย ยืดคลายกล้ามเนื้อร่วมกันกับชุมชน 4) จัดกิจกรรมการบำเพ็ญประโยชน์ โดยการตรวจความปลอดภัยเบื้องต้น (Walk through survey) และนำปัญหาที่ได้จากการสำรวจมาดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เช่น การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมภายในที่ทำงานให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ และเกิดความปลอดภัย

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประสานงานกับสำนักงานประกันสังคมจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อกำหนดชุมชนเป้าหมาย -- --- --- --- 0.00
2.จัดทำแผนงานและรายละเอียดกิจกรรม --- - --- 17,200.00
3.ประสานงานผู้นำชุมชนเพื่อนัดหมายวันเวลาเพื่อเข้าไปทำกิจกรรม -- --- --- --- 0.00
4.เตรียมความรู้บุคลากร และนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม --- --- --- 9,000.00
5.จัดกิจกรรมลงชุมชน --- - --- 73,800.00
6.ประเมิน และสรุปผลโครงการ -- -- -- -- 0.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน 1 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
25 มีนาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน 2 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
29 เมษายน พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน 3 ดร.กติกา สระมณีอินทร์
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
9.00-16.00 ส่งเสริมความปลอดภัยในชุมชน 4 ดร.กติกา สระมณีอินทร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : - กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในด้านการป้องกันอุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน สามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้มีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวันในชุมชน
ด้านสังคม : - กลุ่มแรงงานนอกระบบตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง - นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสามารถบูรณาการองค์ความรู้ ให้สอดคล้องกับชุมชน และการเปลี่ยนแปลงของสังคม -นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้ฝึกปฏิบัติงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในชุมชน เรียนรู้ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพของชาวบ้าน
ด้านสิ่งแวดล้อม : - กลุ่มแรงงานนอกระบบตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญของการดูแลสุขภาพของตนเอง และดูแลสิ่งแวดล้อมในชุมชน
ด้านอื่นๆ : -นักศึกษาสาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตระหนักในเรื่องคุณธรรม และจริยธรรมของการเป็นนักอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถดูแลตนเองและครอบครัวให้มีความปลอดภัยในการประกอบอาชีพและการใช้ชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1108321
หลักสูตร อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน จำนวนโครงการจากปัญหาที่พบในชุมชนจำนวน 4 โครงการ พร้อมบูรณาการความรู้เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาของแต่ละโครงการ
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด จำนวนนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงาน 80% ของนักศึกษาทั้งชั้นปี
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ จำนวนโครงการจากปัญหาที่พบในชุมชนจำนวน 4 โครงการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 35,800.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 28,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 28,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 4 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 7,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 7,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 1 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
7,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 47,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 10,800.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 ครั้ง x จำนวน 3 คน x ครั้งละ 500.00 บาท
=
6,000.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 4,800.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
4,800.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,200.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 120 คน
=
7,200.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
20,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 9,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 1,500.00 บาท
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 17,200.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 14,200.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,200 แผ่น x 0.50 บาท
=
600.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
5,000.00 บาท
=
5,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
120 คน x 30.00 บาท
=
3,600.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าของที่ระลึกแก่ผู้นำชุมชนและผู้ประสานงาน
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท