แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยขยายผล
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : เสริมสร้างความเข้มแข็งของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตพื้นที่เป้าหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของเด็ก เยาวชนและชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลา คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ความเชี่ยวชาญ : ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
หัวหน้าโครงการ
ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีศึกษา
ประสบการณ์ : สอน 6 ปี
ความเชี่ยวชาญ : วิทยากรโครงงานวิทยาศาสตร์ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวลภัทร ยิ่งยืน คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : สังคมศึกษา
ประสบการณ์ : รักษาการตำแหน่งหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็ก วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การบริหารจัดการศูนย์เด็ก 10 ปี
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวเสาวนีย์ เหล่าสิงห์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : เคมี
ประสบการณ์ : สอนปฏิบัติการเคมีอินทรีย์ 10 ปี
ความเชี่ยวชาญ : ปฏิบัติการเคมีอินทรีย์
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทยเป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาพระราชทานพระราชดำริให้คณะกรรมการนำไปพิจารณาริเริ่มดำเนินการนำร่องในประเทศไทย โดยได้ทอดพระเนตรตัวอย่างโครงการนี้ คราวเสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศเยอรมนี เมื่อปี พ.ศ. 2552 คณะกรรมการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย จึงได้ติดต่อกับมูลนิธิ Haus der kleinen Forscher โดยการประสานงานของ Mr. Thomas Tillmann เพื่อขออนุญาตนำกิจกรรมนี้มาทดลองทำในประเทศไทย บัดนี้ทั้งสองฝ่ายได้ทำความตกลงร่วมกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากการประเมินผลนานาชาติของโครงการ Programme for International Student Assessment (PISA) พบว่า ความรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กไทย ยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ย (Walker, 2011) อีกทั้งยังขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรที่จะร่วมมือขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศ ดังนั้นเพื่อสร้างทัศนคติที่ดีด้านการเรียนรู้ทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กตั้งแต่ระดับปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีความสามารถในการเรียนรู้และจดจำมากที่สุด (Blachman, 1984) มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ร่วมกับ นานมีบุ๊คส์ พร้อมด้วยเครือข่ายความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน จึงได้ดำเนินโครงการ บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย โดยมุ่งวางรากฐานวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัย ส่งเสริมให้เด็กกระตือรือร้น กล้าคิด ช่างสังเกต รู้จักตั้งคำถามพร้อมกับค้นหาคำตอบ ตลอดจนมีทักษะการสื่อสาร และสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่มได้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเครือข่ายท้องถิ่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีนั้น มีโรงเรียนในเครือข่ายประมาณ 100 โรงเรียนตั้งแต่ปี 2554 – 2558 โดยมีผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น 2 คนคือ ผศ.ดร.กานต์ตะรัตน์ วุฒิเสลาและ ผศ.ดร.สุระ วุฒิพรหม ในปีงบประมาณ 2556 ได้ดำเนินการจัดการอบรมเรื่องน้ำ อากาศและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทำให้โรงเรียนวัดบ้านค้อหวางได้รับตราพระราชทาน 1 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2557 ได้ดำเนินการจัดการอบรมเรื่องน้ำ อากาศ และโครงงานวิทยาศาสตร์ มีการจัดประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ของเด็กอนุบาล ทำให้โรงเรียนได้รับตราพระราชทานถึง 9 โรงเรียน ในปีงบประมาณ 2558 เป็นการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสัญจรที่โรงเรียน เพื่อให้ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น ได้เห็นสภาพจริงในการดำเนินงานของครู รับทราบปัญหาและอุปสรรคเพื่อช่วยกันหาแนวทางแก้ไข ได้ทำงานร่วมกับครูและนักเรียน สำหรับในปีงบประมาณ 2559 กิจกรรมจะมุ่งเน้นการขยายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยโดยการอบรมขั้นพื้นฐานเรื่องน้ำและอากาศให้กับโรงเรียนเทศบาลและศูนย์เด็กของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ สพฐ. เพื่อขยายโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยให้ทั่วจังหวัดอุบลราชธานี โดยสร้างความร่วมมือกับศูนย์พัฒนาเด็ก วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีโดยจะเปิดโอกาสให้ครูที่ศูนย์พัฒนาเด็กฯ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กฯ ในระยะยาวสู่การขอรับตราพระราชทาน

วัตถุประสงค์
1.พัฒนาคุณภาพครูด้านเทคนิคการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
2.ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้เด็กปฐมวัย ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
3.เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อโครงการของครูที่เข้ารับการอบรม

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.โรงเรียนอนุบาลในสังกัดเทศบาลและศูนย์เด็กของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งโรงเรียนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของ สพฐ. 2.โรงเรียนอนุบาลในสังกัด อบต.คำขวาง อบต.ธาตุ อบต.โพธิ์ใหญ่ อบต.ศรีไค
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
การดำเนินการ แบ่งเป็น 4 ขั้นดังต่อไปนี้ 1. ขั้นถ่ายทอดความรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ 2. ขั้นถ่ายทอดความรู้ การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 3. ขั้นขอรับตราพระราชทาน ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นรวบรวมสมุดบันทึกกิจกรรมการทดลองและโครงงานวิทยาศาสตร์เพื่อประเมินการรับตราพระราชทาน 4.ขั้นการจัดทำรายงานโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำและอากาศ --- --- --- 100,000.00
2.การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย --- --- --- 60,000.00
3.ขั้นการประเมินเพื่อขอรับตราพระราชทาน --- --- --- 0.00
4.ขั้นการจัดทำรายงานโครงการ --- --- --- 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 - 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
9 - 16 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องน้ำ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและคณะ
12 ธันวาคม พ.ศ. 2558
9 - 16 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องอากาศ ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและคณะ
16 มกราคม พ.ศ. 2559
9 - 16 น. การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องโครงงานวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : เพิ่มจำนวนนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต
ด้านสังคม : สร้างสังคมวิทยาศาสตร์ของครูและนักเรียนในระดับปฐมวัย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ครูใช้ สิ่งต่างๆ รอบตัว เป็นสื่อในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้
ด้านอื่นๆ : 1.สร้างทีมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น นักศึกษามหาวิทยาลัยอุบลราชธานีและครูปฐมวัยในการจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 2.เพิ่มปริมาณโรงเรียนที่ได้รับตราพระราชทานโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
100
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
งบประมาณต่อหัวของผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 3 ครั้ง ๆ ละ 100 คนคิดเป็น 567 บาทต่อคน

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา เคมี 1
หลักสูตร เภสัชศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 1
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ความพึงพอใจในการสอนของนักศึกษา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 50,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 46,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 46,800.00 บาท )
1) จำนวน 6 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
43,200.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 300.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
3,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 3,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างนักศึกษาช่วยงาน อัตรา 25 บาท ต่อชั่วโมงจำนวน 4 คน x จำนวน 3 ชม. x จำนวน 300.00 บาท/ชม.
=
3,600.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 77,600.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 10,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 5,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 19,600.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาแม่บ้านทำความสะอาดจำนวน 3 ครั้งๆ ละ 2 วันๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน/วัน
=
3,600.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพนิ่งและวีดีโอจำนวน 3 ครั้งๆ ละ 2000 บาท
=
6,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดชุดอุปกรณ์การทดลอง 20 กิจกรรม 10 ชุด ๆ ละ 50 บาท
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 42,000.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 19,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
15,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
7,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
10,000.00 บาท
=
10,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 22,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุการศึกษา
=
10,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์
=
10,000.00 บาท
3) เสื้อมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา
=
2,500.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 170,000.00 บาท