แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะและบริการสุขภาพ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้แก่เด็ก เยาวชนและชุมชน โดยยึดแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในพื้นที่ทุรกันดาร
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ผศ.มินตรา สาระรักษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การส่งเสริมสุขภาพ
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการบริการวิชาการ : : 1) การสร้างเสริมสุขภาพ : ทางเลือกใหม่ของคุณ 2) โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำต้นแบบด้านพฤติกรรมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่22 อุบลราชธานี 3)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ปีที่ 1. และ 2) 4) โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน สำหรับครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราธานี 5)โครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องปีที่ 3.)
ความเชี่ยวชาญ : การสร้างเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพ อาหารและโภชนาการ
หัวหน้าโครงการ
นางพัจนภา ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต พิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ
ประสบการณ์ : ร่วมโครงการสัปดาห์วิทยาศาสตร์ เปิดโลกการเรียนรู้ สู่ร่างอาจารย์ใหญ่ งบประมาณ 2556 ผู้ร่วมโครงการบริการวิชาการแก่สังคมปีงบประมาณ 2555-2557 หัวหน้าโครงการวิจัยทางด้านโภชนการชุมชน ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ปี 2555
ความเชี่ยวชาญ : -อาหารและโภชนาการชุมชน -พฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.กิตติ เหลาสุภาพ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : สาธารณสุขศาสตร์
ประสบการณ์ : รับราชการ ตำหน่งนักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ปฏิบัติงานในภาครัฐและชุมชนกว่า 25 ปี
ความเชี่ยวชาญ : สาธารณสุขชุมชน วิทยาการระบาด พฤติกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ผู้ร่วมโครงการ
นางนิภาพรรณ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : วท.บ เกษตรศาสตร์
ประสบการณ์ : การทำงานในห้องปฏิบัติการงานอุตสาหกรรมเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : การตรวจคุณภาพทางห้องปฏิบัติการ
เหรัญญิก
ผศ.สมเจตน์ ทองดำ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : อนามัยสิ่งแวดล้อม
ประสบการณ์ : หัวหน้าโครงการวิจัยปี 56 1 โครงการ นักวิจัยร่วม 1 โครงการ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการขยะ ระบบบำบัดน้ำเสีย อนามัยสิ่งแวดล้อม
เลขานุการ

หลักการและเหตุผล
เด็กวัยเรียนเป็นวัยแห่งการเตรียมพร้อมทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ถ้าเด็กได้รับสิ่งแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุก ๆ ด้าน เด็กก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับประสบการณ์ใหม่หรือสิ่งแวดล้อมใหม่ได้อย่างราบรื่น ในขณะเดียวกันเด็กวัยเรียนยังเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงหลายด้านทั้งทางร่างกาย อารมณ์และสังคม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวล้วนมีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กอย่างมาก จึงพบว่าเด็กช่วงวัยนี้มีปัญหาทั้งการขาดสารอาหารและภาวะโภชนาการเกิน ปัญหาการขาดสารอาหารที่พบบ่อยในเด็กวัยเรียน คือ ภาวะการขาดโปรตีนและพลังงาน โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และโรคขาดสารไอโอดีน ปัญหาดังกล่าวจะทำให้เด็กเจริญเติบโตช้า เจ็บป่วยบ่อย ความสามารถในการเรียนรู้ด้อย ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนต่ำ และสมรรถภาพในการทำกิจกรรมและการเล่นกีฬาต่ำ ในขณะเดียวกันปัญหาโภชนาการเกินก็ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้เด็กวัยเรียนได้กินอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ ในปริมาณและสัดส่วนที่พอเหมาะกับความต้องการของร่างกายและการประกอบกิจกรรม รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายเป็นประจำ และพักผ่อนอย่างเพียงพอ การที่เด็กมีภาวะโภชนาการที่ดี นอกจากจะส่งเสริมการเจริญเติบโตและสุขภาพที่ดีให้แก่เด็กในปัจจุบันแล้ว ยังจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังต่างๆ ในวัยผู้ใหญ่ เช่น ภาวะไขมันสูงในเลือด โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคกระดูกพรุน จากการที่วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ได้เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนสังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน และพบว่า เด็กนักเรียนบางส่วนยังมีปัญหาด้านโภชนาการและสุขอนามัยที่ดี นักเรียนยังคงมีภาวะ เตี้ยแคระ ผอม และบางส่วนก็มีภาวะท้วม น้ำหนักเกิน จึงได้ได้จัดทำโครงการบริการวิชาการเพื่อสนองพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ด้านการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยเด็กนักเรียน ของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี ซึ่งมีทั้งการดำเนินการต่อเนื่องในบางโรงเรียน (2 โรงเรียน) และมีการขยายผลการดำเนินการไปยังโรงเรียนใหม่ ( 2 โรงเรียน) ซึ่งผลการดำเนินการยังไม่ครอบคลุมพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนที่พื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดใกล้เคียง เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียนตามพระราชดำริฯ และวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข ได้จัดการเรียนการสอนในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์) ซึ่งจะต้องเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้านการดูแลส่งเสริมสุขภาพเด็กวัยเรียน โภชนาการ รวมถึงการดูแลอนามัยสิ่งแวดล้อม จากนอกชั้นเรียนด้วย และในการดำเนินโครงการในครั้งนี้จะมีการบูรณาการความรู้ในวิชาต่างๆ และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาทางโภชนาการ และสุขอนามัยอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในระยะยาวรวมทั้งยังเป็นกระตุ้นการส่งเสริม และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง และเป็นการขยายพื้นที่การดำเนินโครงการให้ครอบคลุมมากขึ้น วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข จึงได้จัดทำโครงการการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี (ขยายผลต่อเนื่องเป็นปีที่ 3) เพื่อให้ความรู้แก่ แกนนำนักเรียน ครูอนามัยโรงเรียน ครูโภชนาการ แกนนำผู้ปกครอง แกนนำชุมชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ให้มีการกระตุ้นให้นักเรียนปฏิบัติตนด้านการดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่องและเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตแก่นักเรียนในถิ่นทุรกันดารและป้องกันปัญหาสุขภาพรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.1. เพื่อจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านการบริหารจัดการการดูแลสร้างเสริมสุขภาพเด็กนักเรียน โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี ของผู้บริหารและคุณครูที่รับผิดชอบด้านอาหาร และสุขภาพที่ผ่านการเข้าร่วมโครงการฯและคณะครูที่เข้าร่วมโครงการใหม่ 2. เพื่อจัดกิจกรรมฐานให้ความรู้ด้าน โภชนาการ และการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ แก่แกนนำนักเรียน และผู้รับผิดชอบทางด้านอาหาร โภชนาการของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนกองกำกับการตรวจตระเวรชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี 3. เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัย นักเรียนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 22 อุบลราชธานี

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
แกนนำนักเรียน (ชั้นป.4 - ป 6.) เด็กนักเรียนที่มีปัญหาภาวะโภชนาการ อ้วน ผอม และเตี้ย ครูอนามัยโรงเรียน ครูโภชนาการ แกนนำผู้ปกครอง ในพื้นที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน กองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน ที่ 22 อุบลราชธานี จำนวน 4 โรงเรียน (ดำเนินการต่อเนื่อง 2 โรงเรียน และขยายผลโรงเรียนใหม่ 2 โรงเรียน)
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
74 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1.1 จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบของโรงเรียนที่ได้เข้าร่วมโครงการฯในปีงบประมาณ 2558 กับผู้บริหารและผู้รับผิดชอบของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการในปีงบประมาณ 2559 ระยะเวลา 1/2 วัน (ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนสิงหาคม 2559 ) 1.2 จัดกิจกรรมฐานให้ความรู้ เกี่ยวกับอาหาร โภชนาการ สุขาภิบาลอาหารและการส่งเสริมสุขอนามัยอื่นๆ รวมทั้งกิจกรรมสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาทางด้านภาวะโภชนาการและการเขียนโครงงานเพื่อแก้ไขและส่งเสริมภาวะโภชนาการ และปัญหาด้านสุขอนามัยอื่นๆที่จะนำไปดำเนินการจริงในแต่ละโรงเรียนและนำเสนอโครงงาน ระยะเวลา 2 วัน (ประมาณสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนของเดือนสิงหาคม 2559) 1.3 แกนนำนักเรียน ผู้ปกครอง ครูผู้รับผิดชอบ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข กลับไปดำเนินโครงการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยอื่นๆในโรงเรียนที่รับผิดชอบตามที่ได้นำเสนอโครงงานในช่วงเข้าร่วมกิจกรรม (ประมาณปลายเดือนสิงหาคม – กลางเดือนกันยายน 2559) 1.4 คณะทำงานติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการในพื้นที่จริง จำนวน 4 โรงเรียน (สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกันยายน 2559) 1.5 สรุปและประเมินผลโครงการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.1. ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนเพื่อจัดโครงการบริการวิชาการ -- --- --- --- 0.00
2.2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน -- --- --- --- 0.00
3.3. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 1. --- -- --- --- 1,500.00
4.4. ติดต่อสถานที่จัดกิจกรรม --- -- --- --- 0.00
5.5. คณะทำงานจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับจัดกิจกรรม --- --- -- -- 30,000.00
6.6. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 2. --- --- -- --- 1,500.00
7.7. ประสานงานผู้รับผิดชอบโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดกิจกรรม --- --- -- --- 0.00
8.8. ดำเนินกิจกรรมอบรม ระยะเวลา 2 วัน --- --- --- -- 100,000.00
9.9. ประชุมคณะกรรมการดำเนินงานครั้งที่ 3. เพื่อสรุปผลการดำเนินกิจกรรมฯ --- --- --- -- 1,500.00
10.10. ผู้เข้าอบรมดำเนินกิจกรรมโครงการที่โรงเรียนต้นสังกัด --- --- --- -- 0.00
11.11. คณะทำงานเดินทางไปติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่จริง --- --- --- -- 22,000.00
12.12. ประชุมสรุปประเมินผลโครงการ --- --- --- -- 1,500.00
13.13. จัดทำสรุปรายงานผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์ --- --- --- -- 5,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 - 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 2 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
8.00 – 08.45 น. ลงทะเบียน ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง เวลา
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
14.15-14.30 น. รับประทานอาหารว่าง
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
17.30 -18.30 น. รับประทานอาหารเย็น
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
15.00-16.00 น. กลุ่มเด็กนักเรียนและแกนนำ -แต่ละกลุ่มสรุปความรู้ที่ได้รับจากการเข้าฐานต่างๆและออกมานำเสนอผลงาน อ.พัจนภา วงษาพรหม อ. สมเจตน์ ทองดำ ดร.กิตติ เหล่าสุภาพ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อ. จิราภรณ์ หล
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
15.00-16.00 น. กลุ่มผู้ใหญ่ ตัวแทนแต่ละโรงเรียนสรุปแนวทางการดำเนินงานและออกมานำเสนอผลงาน ผศ. มินตรา สาระรักษ์
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. กลุ่มเด็กนักเรียนและแกนนำ จัดกิจกรรมฐานให้ความรู้ เกี่ยวกับอาหารโภชนาการ และการดูแลสุขอนามัยอื่นๆ จ อ.พัจนภา วงษาพรหม อ. สมเจตน์ ทองดำ ดร.กิตติ เหล่าสุภาพ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อ. จิราภรณ์ หล
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. กลุ่มผู้ใหญ่ บรรยาย และอภิปรายแนวทางการดำเนินการแก้ไชปัญหาโภชนาการ และสุขอนามัยอื่นๆของเด็กวัยเรียน ผศ. มินตรา สาระรักษ์
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
12.00 – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
8.45 - 9.00 น. -พิธีเปิดการอบรม ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.00-9.30 น. -Pre-Test ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และคณะ
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.30-10.00 น. กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ นศ. วทบ.(สาธารณสุขศาสตร์)
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10.00 – 12.00 น. กลุ่มผู้ใหญ่ - จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบของโรงเรียนที่ได้เข้าร ผศ.มินตรา สาระรักษ์ และ นศ. วทบ.(สาธารณสุขศาสตร์)
18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10.00 – 12.00 น. กลุ่มเด็กนักเรียนและแกนนำ -จัดกิจกรรมฐานให้ความรู้เกี่ยวกับอาหารโภชนาการ และการดูแลสุขอนามัยอื่นๆ จ อ.พัจนภา วงษาพรหม อ. สมเจตน์ ทองดำ ดร.กิตติ เหล่าสุภาพ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิพัฒนา อ.จิราภรณ์ หลาบ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10.30-10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
15.30-16.30 น. มอบของที่ระลึก พิธีมอบเกียรติบัตรและปิดโครงการอบรม ผศ.มินตรา สาระรักษ์และคณะ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
14.30-15.30 น. ตัวแทนแต่ละโรงเรียนนำเสนอโครงการที่จะนำไปดำเนินการจริงในพื้นที่ ผศ.มินตรา สาระรักษ์และคณะ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
14.00-14.30 น. Post Test ผศ.มินตรา สาระรักษ์และคณะ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. แต่ละโรงเรียนประชุมกลุ่มตรวจสอบความสมบูรณ์ของ โครงการ ผศ. มินตรา สาระรักษ์ และ คณะ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
10.00 -12.00 น. กิจกรรมกลุ่มระดมสมองสร้างพลังกลุ่มสะท้อนปัญหาและเขียนโครงการเพื่อแก้ปัญหาที่จะนำไปใช้ดำเนินการจริงใน ผศ. มินตรา สาระรักษ์ อ. พัจนภา วงษาพรหม อ.ดร.กิตติ เหลาสุภาพ อ.สมเจตน์ ทองดำ อ.จินตนา ศิริบูรณ์พิ
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
9.00-10.00 น. - บรรยายแนวทางการเขียนโครงการด้านสุขภาพ ผศ.มินตรา สาระรักษ์
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
8.30 – 9.00 น. -ลงทะเบียน
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
7.30 - 8.30 น. รับประทานอาหารเช้า
19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
14.15-14.30 น. รับประทานอาหารว่าง

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : -
ด้านสังคม : 1. คณะผู้บริหารและครูผู้รับผิดชอบของแต่ละโรงเรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และหาแนวทางในการดำเนินงานการส่งเสริมภาวะโภชนาการและสุขอนามัยของเด็กวัยเรียนร่วมกัน 2. แกนนำนักเรียนและผู้ปกครองได้รับความรู้เพิ่มเติมในด้าน อาหาร โภชนาการ และการดูแลสุขอนามัยอื่นๆและเป็นแบบอย่างที่ดีได้ 3. มีการดำเนินโครงงานเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านโภชนาการและ สุขอนามัยอื่นๆที่เกิดขึ้นจริงในพื้นที่ 4. สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และทำให้นักเรียนมีภาวะโภชนาการ รวมทั้งสุขอนามัยอื่นๆที่ดีขึ้น
ด้านสิ่งแวดล้อม : มีการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและในชุมชนดีขึ้น
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
60
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
-

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา โภชนศาสตร์
หลักสูตร วิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์)
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ -

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 31,880.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 20,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 20,400.00 บาท )
1) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
7,200.00 บาท
2) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 6 คน
=
10,800.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
1,200.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 11,480.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 5,600.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
5,600.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 5,880.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 7 คน
=
5,880.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 105,200.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 12,360.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 74 คน
=
8,880.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 14 คน
=
2,520.00 บาท
3) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
960.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 25,840.00 บาท )
1) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 74 คน
=
11,840.00 บาท
2) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 14 คน
=
6,720.00 บาท
3) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
1,280.00 บาท
4) จำนวน 2 มื้อ x มื้อละ 50.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 21,600.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 12 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
21,600.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 45,400.00 บาท )
1) - - ค่าจ้างเหมากระเป๋าใส่เอกสารผู้อบรมและผู้ประสานงานโครงการ 80 คน x 150 บ.
=
12,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาการจัดนิทรรศการและสื่อสุขศึกษาเพื่อแก้ไขปัญหาโภชนาการในโรงเรียน 2000 บาท x 4 โรงเรียน
=
8,000.00 บาท
3) ค่าที่พักของแกนนำมาอบรม 200 บ./ คืน x 52 คน
=
10,400.00 บาท
4) - ค่าของที่ระลึกโรงเรียนที่ร่วมกิจกรรม 500 บาท x 4 โรงเรียน
=
2,000.00 บาท
5) - ค่าบำรุงสถานที่ สาธารณูปโภคสถานที่ดำเนินกิจกรรม 2000 บาท x 2 วัน
=
4,000.00 บาท
6) - ค่าจ้างเหมาแรงงาน 15 คน x 200 บ.x 1 วัน
=
3,000.00 บาท
7) - ค่าจ้างเหมาบันทึกภาพและวิดิโอ
=
1,000.00 บาท
8) - ค่าจ้างเหมาทำวุฒิบัตร
=
1,000.00 บาท
9) - ค่าจ้างเหมาจัดทำซุ้มดอกไม้สดพิธีเปิดและปิดการอบรม
=
1,000.00 บาท
10) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานฉบับสมบูร์
=
3,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 25,920.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 25,920.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
10,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
5,000.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
6,620.00 บาท
=
6,620.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
52 คน x 25.00 บาท
=
1,300.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
12,000.00 บาท
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 163,000.00 บาท