แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
รศ.ดร.กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว
ประสบการณ์ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้
ความเชี่ยวชาญ : การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช กล้วยไม้ เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวดอกไม้
หัวหน้าโครงการ
ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน)
ประสบการณ์ : การออกแบบภูมิทัศน์ การจัดการสนามหญ้า
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบภูมิทัศน์ การขุดล้อมต้นไม้และ พันธุ์ไม้ในงานภูมิทัศน์
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.วรงศ์ นัยวินิจ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เทคโนโลยีทางการเกษตร
ประสบการณ์ : การออกแบบตกแต่งสถานที่
ความเชี่ยวชาญ : งานภูมิสถาปัตยกรรม
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
กล้วยไม้เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งของประเทศไทย ทำรายได้จากการส่งออกสูงที่สุดในบรรดาไม้ดอกไม้ประดับด้วยกัน โดยในปี พ.ศ. 2556 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 3,000 ล้านบาท (สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2557) แนวโน้มการส่งออกกล้วยไม้มีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของการส่งออกกล้วยไม้และกำหนดยุทธศาสตร์โดยมีเป้าหมายที่จะเพิ่มมูลค่าการส่งออกกล้วยไม้เป็น 100,000 ล้านบาท การส่งออกกล้วยไม้มีด้วยกันหลายรูปแบบ เช่น กล้วยไม้ตัดดอก ต้นพันธุ์กล้วยไม้ลูกผสม ต้นพันธุ์กล้วยไม้สายพันธุ์แท้ และพันธุ์กล้วยไม้ชนิดต่างๆในสภาพปลอดเชื้อ จากการที่จังหวัดอุบลราชธานีมีพื้นที่ติดชายแดนสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา โดยมีเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาพนมดงรักกั้นอาณาเขต ทำให้มีทรัพยากรป่าไม้และกล้วยไม้จำนวนมาก มีชาวบ้านจำนวนมากตามแนวชายแดนทำลายป่าและเก็บกล้วยไม้จากป่ามาขายและส่งออก ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ หมดไป เพื่อเป็นการแก้ปัญหาการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ สามารถอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ลดการเก็บกล้วยไม้ป่าและขยายพันธุ์กล้วยไม้ได้เอง จึงควรมีการพัฒนาอาชีพและความเป็นอยู่ของชุมชน เพื่อเป็นการสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่ชุมชน สอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีที่ให้บริการวิชาการแก่ชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้น จึงมีความเห็นว่าการถ่ายทอดเทคโนโลยีการขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อให้กับชุมชนตามแนวชายแดน น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งให้ชุมชนได้มีโอกาสในการเลือกเส้นทางประกอบอาชีพ หรือเป็นอาชีพเสริม โดยกล้วยไม้เป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เนื่องจากดอกมีสีสันสวยงามและมีความคงทน มีอายุการใช้งานนาน และมีความหลากหลายของสายพันธุ์ แต่การจำหน่ายกล้วยไม้ให้ถูกต้องตามกฎหมายต้องมีการขยายพันธุ์เพิ่มจำนวนโดยผู้ปลูกเลี้ยงมิใช่การเก็บจากป่า ด้วยเหตุนี้การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้จึงมีความจำเป็นสำหรับชุมชนที่ต้องการผลิตกล้วยไม้จำนวนมาก เพียงพอต่อความต้องการของตลาดและจำหน่ายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ความรู้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้ให้แก่ชุมชนตามแนวชายแดน
2.เพื่อให้ชุมชนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
3.สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
ชุมชนบ้านหนองแวง ชุมชนบ้านหนองครก อ. น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ชุมชนบ้านท่าล้ง อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
30 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. ขออนุมัติดำเนินโครงการ 2. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาสัมพันธ์โครงการ 3. ติดต่อวิทยากร 4. การวางแผนการทำงาน 5. จัดเตรียมเอกสารประกอบการอบรมและเตรียมวัสดุอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติ 6. กำหนดการฝึกอบรม เดือนมีนาคม 2559 ระยะเวลาจัดฝึกอบรม 3 วัน โดยการบรรยายและฝึกปฏิบัติ 7. ติดตามและประเมินผลโครงการ ภายหลังจากฝึกอบรมไปแล้ว 8. สรุปและเขียนรายงาน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ขออนุมัติดำเนินโครงการ -- --- --- --- 1,000.00
2.ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ - - --- --- 5,000.00
3.ติดต่อวิทยากร --- -- --- --- 5,000.00
4.วางแผนงานการจัดอบรม - --- --- --- 5,000.00
5.จัดเตรียมเอกสารและวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม -- - --- --- 40,000.00
6.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ --- -- --- --- 50,000.00
7.ติดตามประเมิลผล --- --- -- -- 5,000.00
8.สรุปและเขียนรายงาน --- --- --- -- 5,000.00
9.รายงานผล -- -- -- -- 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
9.00 -12.00 น เทคนิคการนึ่งฆ่าเชื้อ การเตรียมอุปกรณ์เพาะเมล็ดและถ่ายเนื้อเยื่อ และองค์ประกอบอาหารเพาะเลี้ยงกล้วยไม รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และคณะ
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
12.00 -13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการเตรียมสารละลายเข้มข้นและอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
13.00 - 16.00 น. ปฏิบัติการ เพาะเมล็ดกล้วยไม้ฝักแก่ และฝักอ่อน รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
12.00 -13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
9.00 -12.00 น การผสมเกสรกล้วยไม้ หลักการเพาะเมล็ดและการถ่ายเนื้อเยื่อในสภาพปลอดเชื้อ รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ และคณะ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
9.00 -12.00 น ปฏิบัติการ ถ่ายอาหารและดำต้นอ่อน รศ.ดร. กาญจนา รุ่งรัชกานนท์ รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
12.00 -13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
13.00 - 16.00 น. เทคนิคการเลี้ยงกล้วยไม้ป่า รศ. จิตราพรรณ เทียมปโยธร และคณะ
8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
16.00 - 16.30 มอบใบประกาศฯ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ผู้เข้าอบรมสามารถสร้างรายได้จากการขายกล้วยไม้
ด้านสังคม : ผู้เข้าอบรมสามารถผลิตกล้วยไม้ขายได้อย่างถูกกฎหมาย
ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้เข้าอบรมสามรถขยายพันธุ์กล้วยไม้โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ด้านอื่นๆ : สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยฯ

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
25
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ผู้ร่วมโครงการสามารถสร้างอาชีพเสริม หรืออาชีพหลัก เป็นการเพิ่มรายได้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา วิชาหลักการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ วิชาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชขั้นสูง
หลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาเกษตรศาสตร์
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 38,120.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 32,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 1,200.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
14,400.00 บาท
-วิทยากรภายใน ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 5 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
18,000.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 5,720.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 3,200.00 บาท )
1) จำนวน 4 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 4 คน
=
3,200.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,520.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 7 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,520.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 52,380.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 22,180.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 4,180.00 บาท )
1) จำนวน 1 ครั้ง x จำนวน 1 คน x ครั้งละ 4,180.00 บาท
=
4,180.00 บาท
-ค่าที่พัก ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 คืน x จำนวน 5 ห้อง x ห้องละ 800.00 บาท
=
12,000.00 บาท
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 5 วัน x จำนวน 5 วัน x วันละ 240.00 บาท
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,300.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
6,300.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 10,500.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 35 คน
=
10,500.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 5,400.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 1,800 บาท/คัน/วัน
=
5,400.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 8,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน
=
3,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารอบรม
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 29,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 27,500.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
1,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,000.00 บาท
=
2,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,000.00 บาท
=
1,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
30 คน x 700.00 บาท
=
21,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,000.00 บาท )
1) วัสดุคอมพิวเตอร์
=
2,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 120,000.00 บาท