แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การพัฒนาเยาวชนเป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่นภาษาต่างประเทศ
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นางสาวยุวดี จิตต์โกศล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : -โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบริการเยือนชุมชนในงานเทศกาลเข้าพรรษาประจำปีของจังหวัดอุบลราชธานี [2556]
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม
หัวหน้าโครงการ
นายสุวภัทร ศรีจองแสง คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : การจัดการมรดกทางสถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศิลปากร
ประสบการณ์ : งานวิจัย : - ศักยภาพ มูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างรายได้ในจังหวัดอุบลราชธานี (ผู้เข้าร่วม) [สกว.] - การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน (WIL) (ผู้เข้าร่วม) งานทำนุบำรุงฯ : - แนวทางการอนุรักษ์อาคารที่ทรงคุณค่าในเขตอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
ความเชี่ยวชาญ : การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (Creative Tourism) สถาปัตยกรรมกับการท่องเที่ยว (Tourism and Architecture)
ผู้ร่วมโครงการ
นายพุทธราช มาสงค์ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การแปลเพื่อการศึกษาและธุรกิจ
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : การแปล การล่าม
ผู้ร่วมโครงการ
นางสาวพัชรี ธานี คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ประสบการณ์ : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการทางวัฒนธรรม/การท่องเที่ยว
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยนับเป็นอุตสาหกรรมสำคัญอย่างหนึ่งในการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศ ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 2557 รายงานว่า โดยส่วนใหญ่ประเทศไทยต้องพึ่งพิงรายได้จากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติถึงร้อยละ 60 โดยรายได้นักท่องเที่ยวไทยในปี 2556 อยู่ที่ 653,621 ล้านบาท และรายได้นักท่องเที่ยวต่างชาติอยู่ที่ 1,207,146 ล้านบาท แนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวอย่างมาก คือ ยุโรปตะวันออก ได้แก่ อิตาลี ฝรั่งเศส รัสเซีย สเปน และสหราชอาณาจักร สถานการณ์การท่องเที่ยวในภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่ามีจำนวนเที่ยวบินเข้าสู่ภูมิภาคเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากประมาณ 100 กว่าเที่ยวบินต่อเดือน (ปี 2556) เป็น 300 กว่าเที่ยวบินต่อเดือน (ปี 2557) จุดประสงค์การเดินทางของนักท่องเที่ยว คือ ประชุม สัมมนา และงานเทศกาลรื่นเริงงานต่างๆ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวชายแดนที่สามารถเดินทางเชื่อมต่อไปยัง 2 ประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและราชอาณาจักรกัมพูชา มีจุดผ่านถาวร 2 จุด ได้แก่ ด่านพรมแดนช่องเม็ก อำเภอสิรินธร อยู่ในการกำกับดูแลของด่านศุลกากร พิบูลมังสาหาร และด่านปากแซง อำเภอนาตาล อยู่ในการกำกับดูแลของ ด่านศุลกากรเขมราฐ ทั้งมีการขนส่งและคมนาคมพื้นฐาน ทางรถไฟ รถยนต์ และเครื่องบิน เป็นปัจจัยที่เอื้อให้เกิดเส้นทางการท่องเที่ยว มูลค่าการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวปีที่ผ่านมาพบการเติบโตและมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะธุรกิจค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ และมีการขยายออกไปตามเขตชุมชนตามอำเภอใหญ่รอบนอก ส่งผลให้เศรษฐกิจจังหวัดอุบลราชธานีเติบโตมากยิ่งขึ้น ดังนั้นพื้นที่ท่องเที่ยวต่างๆ ควรมีการเตรียมความพร้อมโดยการจัดอบรมยุวมัคคุเทศก์ภาษาต่างประเทศ เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากล และภาษาอังกฤษยังถูกกำหนดเป็นภาษากลางที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารในประชาคมอาเซียน ดังนั้นควรเปิดโอกาสให้เยาวชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้เข้ามามีส่วนร่วมและบทบาทสำคัญในการสร้างให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในแหล่งท่องเที่ยวท้องถิ่นของตนเอง และพัฒนาความสามารถทักษะทางภาษาอังกฤษเยาวชนเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเที่ยวชมยังแหล่งท่องเที่ยว โดยสาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชา 1449 300 หลักการ เยาวชนสามารถฝึกปฏิบัติการเป็นยุวมัคคุเทศก์ที่ดี มีจิตบริการและมีความชำนาญในพื้นที่การท่องเที่ยว เล็งเห็นถึงคุณค่าทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นตนเอง ตลอดจนเพื่อฝึกฝนทักษะวิชาชีพการท่องเที่ยวกับเยาวชน อันจะเป็นประสบการณ์ที่ดีเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าในแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่นของตนเอง พร้อมทั้งสามารถอธิบาย บรรยาย ประวัติความเป็นมาของแหล่งท่องเที่ยวได้
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทัศนคติที่ดีต่องานบริการ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
โรงเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4- 6 ใน โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
1. วางแผนเตรียมงาน 2. ประสานงาน 3. ประชาสัมพันธ์ 4. จัดกิจกรรมของโครงการ 5. จัดทำและส่งเอกสารรวมเล่มสรุป

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.วางแผน -- --- --- --- 0.00
2.ประสานงาน -- --- --- --- 0.00
3.ประชาสัมพันธ์ -- -- --- --- 3,000.00
4.จัดกิจกรรมของโครงการ --- - -- --- 122,000.00
5.จัดทำและส่งเอกสารรวมเล่มสรุป --- --- - 3,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2559 รวมเวลา 336 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 บรรยายความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งท่องเที่ยว อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 ฝึกปฏิบัติภาษาอังกฤษพื้นฐานในการเป็นยุวมัคคุเทศก์ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
09.00-16.00 ฝึกปฏิบัติในการแนะนำแหล่งท่องเที่ยว อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์
12 มีนาคม พ.ศ. 2559
09.00-16.00 ฝึกปฏิบัติออกนำเที่ยว อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษในการเป็นยุวมัคคุเทศก์ อันนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดการดึงดูดนักท่องเที่ยวไปยังท้องถิ่น ก่อให้เกิดการกระจายรายได้
ด้านสังคม : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการนำเที่ยว
ด้านสิ่งแวดล้อม : เยาวชนมีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรในท้องถิ่น เล็งเห็นถึงคุณค่าของท้องถิ่น
ด้านอื่นๆ : 1. เกิดการบูรณาการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักการมัคคุเทศก์ 2.สอดคล้องกับงานประกันคุณภาพการศึกษาในประเด็นการบริการทางด้านวิชาการแก่ชุมชน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
2500

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา 1449 300
หลักสูตร การท่องเที่ยว
นักศึกษาชั้นปี : 3
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน นักศึกษาร้อยละ 80 มีความรู้ความเข้าในหลักการมัคคุเทศก์
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด นักศึกษาร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการฝึกอบรมความรู้ ความเข้าใจ หลักการมัคคุเทศก์
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ รูปเล่มรายงานเส้นทางการท่องเที่ยวในอ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 24,000.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 24,000.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
14,400.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 400.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
9,600.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 70,400.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 8 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 24,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 60 คน
=
24,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 9,000.00 บาท )
- จำนวน 1 คัน x จำนวน 3 วัน x ราคา 3,000 บาท/คัน/วัน
=
9,000.00 บาท

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 23,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาผลิตเอกสารประกอบการอบรม
=
10,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดทำป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมารถบัสพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 60 ที่นั่ง
=
10,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 5,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 3,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
3,000.00 บาท
=
3,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 2,600.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
2,600.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 100,000.00 บาท