แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างสุขภาพอนามัยสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ คุณวุฒิ : ปริญญาตรี
สาขา : พืชศาสตร์(ไม้ผล)
ประสบการณ์ : ระบบน้ำเพื่อการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ขยายพันธุ์พืช การผลิตไม้ผล
หัวหน้าโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
พืชผักเป็นพืชอาหารที่คนไทยนิยมนำมาใช้รับประทานกันมากเนื่องจากมีคุณค่าทางอาการทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสูง แต่ค่านิยมในการบริโภคผักนั้น มักจะเลือกบริโภคผักที่สวยงามไม่มีร่องรอยการทำลายของหนอนและแมลงศัตรูพืช จึงทำให้เกษตรกรที่ปลูกผักจะต้องใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดแมลงฉีดพ่นในปริมาณที่มาก เพื่อให้ได้ผักที่สวยงามตามความต้องการของตลาด เมื่อผู้ซื้อ นำมาบริโภคแล้วอาจได้รับอันตรายจากสารพิษที่ตกค้างอยู่ในพืชผักนั้นได้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว เกษตรกรจึงควรหันมา ทำ การปลูกผักปลอกภัยจากสารพิษ โดยนำ เอาวิธีการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชหลายวิธีมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน เป็นการทดแทนหรือลดปริมาณการใช้สารเคมีให้น้อยลง เพื่อความปลอดภัยของเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม ความหมายของผักปลอดภัยจากสารพิษ ผักปลอดภัยจากสารพิษ หมายถึง ผลผลิตพืชผักที่ไม่มีสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตกค้างอยู่ หรือมีตกค้างอยู่ไม่เกินระดับมาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 163 พ.ศ. 2538 ลงวันที่ 28 เมษายน 2538 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ข้อดีของการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ 1. ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค 2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้นเนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย 3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 4. ลดปริมาณการนำ เข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น 6. ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้า ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง วิธีการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำเป็นและจะใช้หลัก “การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานหรือไอพีเอ็ม” แทนแต่การที่จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ ทำงานโดย แผงโซล่าเซลล์จะทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นกระแสไฟฟ้าแล้วทำการประจุ(ชาร์จ)เข้าไปเก็บไว้ในแบตเตอรี่เพื่อรอจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ปั๊มน้ำต่อไป โดยมีตัวController เป็นตัวควบคุมการชาร์จและใช้กระแสไฟฟ้าทั้งหมดในระบบ ปริมาณน้ำที่ได้ในการสูบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับความสูงในการสูบส่งและปริมาณกระแสไฟฟ้าที่มีในแบตเตอรี่ ปริมาณกระแสไฟในแบตเตอรี่จะมีมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณแสงแดดและกำลัง วัตต์(W)ของแผงโซลาร์เซลล์ ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่ได้ในการสูบแต่ละครั้งขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของปั๊มน้ำ ของแต่ละรุ่นในระบบด้วยเหมาะ สำหรับพื้นที่ห่างไกลจากไฟฟ้าบ้าน เช่น ไร่ สวน พื้นที่นา พื้นที่การเกษตรอื่นๆ ที่ต้องการน้ำให้กับต้นไม้ พืชผัก หรือเลี้ยงสัตว์ การปศุสัตว์ การประมง ระบบน้ำในบ้าน ฯลฯ ลักษณะเด่นของเซลล์แสงอาทิตย์ • ใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ แสงอาทิตย์ ซึ่งสะอาดและบริสุทธิ์ ไม่ก่อปฏิกิริยาที่จะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ • เป็นการนำพลังงานจากแหล่งธรรมชาติมาใช้อย่างคุ้มค่าและไม่มีวันหมดไปจากโลกนี้ • สามารถนำไปใช้เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ทุกพื้นที่บนโลก และได้พลังงานไฟฟ้าใช้โดยตรง • ไม่ต้องใช้เชื้อเพลิงอื่นใดนอกจากแสงอาทิตย์ รวมถึงไม่มีการเผาไหม้ จึงไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้านอากาศและน้ำ • ไม่เกิดเสียงและไม่มีการเคลื่อนไหวขณะใช้งาน จึงไม่เกิดมลภาวะด้านเสียง • เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับที่ และไม่มีชิ้นส่วนใดที่มีการเคลื่อนไหวขณะทำงาน จึงไม่เกิดการสึกหรอ • ต้องการการบำรุงรักษาน้อยมาก • อายุการใช้งานยืนยาวและประสิทธิภาพคงที่ • มีน้ำหนักเบา ติดตั้งง่าย เคลื่อนย้ายสะดวกและรวดเร็ว • ช่วยลดปัญหาการสะสมของก๊าซต่างๆ ในบรรยากาศ เช่น คาร์บอนมอนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ ฯลฯ ซึ่งเป็นผลจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงจำพวกน้ำมัน ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนแล้วแต่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกิดปฏิกิริยาเรือนกระจก ทำให้โลกร้อนขึ้น เกิดฝนกรด และอากาศเป็นพิษ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้ตระหนักถึงความสำคัญที่ต้องมีการให้ความรู้และประสบการณ์แก่ผู้ที่สนใจปลูกผักเพื่อบริโภคในครอบครัว ส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดสารพิษ การเพาะเห็ด ตลอดจนพืชผักอินทรีย์ประเภทต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย สำหรับการบริโภคเองในครอบครัวและ ชุมชน ตลอดจนเพื่อเป็นศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักที่ปลอดภัยจากสารพิษ และพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชนต่อไป

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าอบรม เกี่ยวกับการใช้โซลาเซลล์เพื่อการเกษตร
2.เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ ยกระดับการเกษตรพื้นบ้านสู่การเกษตรแบบปลอดภัย
3.ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย เพื่อบริโภคเองในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
1.ครูและนักเรียน ในโรงเรียนที่มีโครงการอาหารกลางวันในเขต อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 30 คน 2.ประชาชน ผู้สนใจ จำนวน 20 คน
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
หัวข้อการอบรม - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโซลาเซลล์ - วิธีการผลิตผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่ถูกต้องและเหมาะสม(การคัดเลือกพื้นที่,การจัดการพันธุ์,การจัดการดินและปุ๋ย) - การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน - การเก็บเกี่ยวและวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว - การตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในพืชผักและฝึกปฏิบัติ - การวางแผนการผลิตและการตลาด - การผลิตผักในโรงเรือน - การปลูกผักบนแคร่ - การเพาะเห็ดในถุงพลาสติก ภาคทฤษฎี บรรยายในห้องโดยใช้สื่อ โสตทัศนูปกรณ์ ภาคปฏิบัติ สาธิตและให้ปฏิบัติจริงในแปลงปลูก โดยแบ่งผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน มีวิทยากรประจำกลุ่ม กลุ่มละ 1 ท่าน

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ประชาสัมพันธ์และประสานงานกับโรงเรียน - --- --- --- 5,000.00
2.จัดหา วัสดุการเกษตร ตัวอย่างพันธุ์พืช --- --- --- 30,000.00
3.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 38,000.00
4.ติดตามผลการฝึกอบรม สรุปผลการฝึกอบรม --- --- --- - 10,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2559 - 3 มิถุนายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 3 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
09.00-11.00 น. บรรยาย วิธีการผลิตผักที่ปลอดภัยจากสารพิษที่ถูกต้องและเหมาะสม การวางแผนการผลิตและการตลาด นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
11.00-12.00 น. บรรยายการเพาะกล้าผัก ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. บรรยาย การผลิตผักในโรงเรือน การปลูกผักบนแคร่ ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา
1 มิถุนายน พ.ศ. 2559
14.00-16.00 น. ปฏิบัติการ การปลูกผักในโรงเรือน การปลูกผักบนแคร่ ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
14.00-16.00 น. ฝึกปฏิบัติ การตรวจวิเคราะห์สารเคมีตกค้างในพืชผัก ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. การป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ดร.สุกัญญา คลังสินศิริกุล
2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การติดตั้งโซลาเซลล์ และการวางระบบน้ำ ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
2 มิถุนายน พ.ศ. 2559
09.00-10.00 น. บรรยาย ความรู้เกี่ยวกับโซลาเซลล์กับการใช้งานเพื่อการเกษตร ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์
3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
13.00-14.00 น. บรรยาย การผลิตปุ๋ยหมัก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
09.00-10.00 น. การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี โดยใช้สารสกัดจากพืช การใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ
3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
10.00-12.00 น. ปฏิบัติการ การเก็บเกี่ยวและการปรุงปรุงอาหารจากผัก นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ นายทวีศักดิ์ วิยะชัย
3 มิถุนายน พ.ศ. 2559
14.00-16.00 น. ปฏิบัติการ การผลิตปุ๋ยหมักแบบน้ำ แบบแห้ง นายรักเกียรติ แสนประเสริฐ นายทวีศักดิ์ วิยะชัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ประหยัดเงินค่าใช้จ่ายในการซื้อผักไว้รับประทานที่มีราคาแพงและมีสารพิษปลอมปน
ด้านสังคม : มีความรักความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์
ด้านสิ่งแวดล้อม : รู้จักการใช้ปุ๋ยจากธรรมชาติไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมนำวัสดุที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์เช่น การหมักปุ๋ยชีวภาพจาก เศษผัก เศษอาหาร
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ใช้งบประมาณตามแผนงานที่กำหนดไว้

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา การผลิตผักเศรษฐกิจ
หลักสูตร ปริญญาตรี
นักศึกษาชั้นปี : 2-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละ 70 ของนักศึกษาที่ได้รับความรู้เพิ่มขึ้น / สามารถสอบผ่านในรายวิชา
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ร้อยละ 30 ของนักศึกษาที่มีส่วนร่วมในการให้บริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 19,860.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 16,800.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 16,800.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
9,600.00 บาท
2) จำนวน 2 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
3) จำนวน 1 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 1 คน
=
2,400.00 บาท
4) จำนวน 1 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
2,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 3,060.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 900.00 บาท )
1) จำนวน 3 วัน x จำนวน 3 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
900.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 2,160.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 60.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
2,160.00 บาท

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 32,500.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 7,500.00 บาท )
1) จำนวน 6 มื้อ x มื้อละ 25.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
7,500.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 12,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 80.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
12,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 1 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 8,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าเอกสารประกอบการอบรม 50 เล่มๆ ละ100 บาท
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 30,640.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 30,640.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
280 แผ่น x 0.50 บาท
=
140.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
1,500.00 บาท
=
1,500.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
1,500.00 บาท
=
1,500.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 500.00 บาท
=
25,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
2,500.00 บาท
=
2,500.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 83,000.00 บาท