แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ การถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเครื่องสีข้าวกล้องครัวเรือนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
ลักษณะโครงการ การฝึกอบรม อบรมเชิงปฏิบัติการ
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : ถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีที่เหมาะสมบนฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงาม เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.จริยาภรณ์ อุ่นวงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : วิศวกรรมเครื่องกล
ประสบการณ์ : -
ความเชี่ยวชาญ : วิศวกรรมการผลิต วิศวกรรมบำรุงรักษา การวิเคราะห์ระบบและโครงสร้าง
หัวหน้าโครงการ
นายอมต ยอดคุณ คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : ครุศาสตร์อุตสาหกรรม
ประสบการณ์ :
ความเชี่ยวชาญ : การขึ้นรูปโลหะ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
จังหวัดอุบลราธานีและจังหวัดที่เป็นพื้นที่บริการรอบมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เช่น จังหวัดศรีษะเกศ อำนาจเจริญ ยโสธร และมุกดาหาร ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนาและมีผลผลิตเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี มีชื่อเสียงระดับประเทศสามารถส่งจำหน่ายยังต่างประเทศ การผลิตข้าวจึงเป็นรายได้หลักของชุมชน ปัจจุบันชาวนารวมกลุ่มเพื่อผลิตข้าวและมีการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการพัฒนาและแปรรูปผลิตภัณฑ์มากขึ้น เช่น ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก เครื่องชงพร้อมดื่ม ขนมขบเคี้ยว เป็นต้น สนองรับกับนโยบายการส่งเสริมการสร้างรายได้ของรัฐบาล เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและการพึ่งพาตนเองของชุมชนท้องถิ่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดงคือข้าวที่ผ่านการกะเทาะเปลือกออกเพียงอย่างเดียวและไม่ผ่านกระบวนการขัดสีหรืออาจมีการขัดสีเพียงเล็กน้อยเพื่อให้ง่ายต่อการหุงต้ม ดังนั้นข้าวกล้องจึงคงจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดซึ่งเป็นแหล่งของสารอาหารต่างๆ ที่ช่วยเรื่องการขับถ่าย ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา ปากนกกระจอก และมีคุณสมบัติของการเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติ ด้วยคุณประโยชน์ของข้าวกล้อง ความต้องการบริโภคข้าวกล้องจึงมากขึ้นหลากหลายรูปแบบทั้งการบริโภคในรูปแบบของข้าวหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ข้าวกล้องมีคุณภาพและคุณค่าด้านโภชนาการลดลงตามระยะเวลาที่เก็บ ดังนั้นควรรับประทานให้หมดภายในหนึ่งสัปดาห์หลังจากการแปรรูปเป็นข้าวกล้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวที่ผลิตแบบอินทรีย์ที่มีการผลิตโดยไม่มีการใช้สารเคมีใดๆในขั้นตอนการผลิต การผลิตทางชีวภาพ ข้าวกล้องที่วางขายตามต้องตลาดผลิตจากโรงสีขนาดใหญ่มีการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดมอดที่ทำทำให้เกิดสารตกค้างสะสมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ใช้ระยะเวลาในการลำเลียงขนส่งกว่าจะถึงผู้บริโภคด้วยระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ และมีราคาจำหน่ายที่สูงกว่าราคาข้าวทั่วไปจึงเป็นข้อจำกัดของผู้บริโภค ดังนั้นเครื่องสีข้าวกล้องระดับครัวเรือนจึงมีความต้องการมากขึ้น ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการทำการศึกษา เรื่อง การออกแบบเครื่องสีข้าวกล้องแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local Knowledge in Community-Based Approaches to Brown Rice Milling Machine Design) และมีการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2556 วันที่ 16-18 ตุลาคม 2556 พัทยา ชลบุรี ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเกษตรกร 5 ชุมชนและพัฒนาจากเครื่องสีข้าวข้าวกล้องมือหมุนแนวตั้งที่แยกเปลือกและข้าวกล้องในขั้นตอนเดียวด้วยการใช้แรงกดจากแนวตั้งและการเสียดสีของท่อนฟันบนและฟันล่างด้วยแรงงงานคน เครื่องสีข้าวแบบนี้ได้รับความนิยมจากกลุ่มเกษตรผู้ปลูกข้าวในชนบทเพื่อใช้เองในครัวเรือน ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment: QFD) เพื่อออกแบบผลิตภัณฑ์บูรณาการกับศาสตร์ของภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้นการตอบสนองผู้ใช้งานด้วยการแปลงความต้องการของผู้ใช้งานเป็นคุณลักษณะทางเทคนิคและคุณลักษณะของส่วนประกอบของอุปกรณ์ เครื่องสีข้าวออกแบบพัฒนา ให้มีความทันสมัย ใช้งานสะดวก ทนทาน และบำรุงรักษาง่าย มีขนาด 700 × 500 × 1650 มิลลิเมตร มีกลไกการคัดแยกข้าว ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ที่ความเร็วรอบ 1600 รอบต่อนาที อัตราการผลิต 15 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ดังนั้นเพื่อเป็นการต่อยอดการศึกษา นำผลการศึกษาเผยแพร่ต่อชุมชนและมีการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ผู้เสนอโครงการจึงเห็นว่าควรมีการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีเครื่องสีข้าวกล้องงอกขนาดครัวเรือนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อเป็นการพัฒนาการผลิตที่มีประสิทธิภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีที่มาจากพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ซึ่งเป็นรากฐานของการเพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างเครื่องสีข้าวกล้องครัวเรือนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ
2. เพื่อสร้างเครื่องสีข้าวกล้องครัวเรือนจากภูมิปัญญาท้องถิ่นต้นแบบ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบเครื่องสีข้างกล้องครัวเรือนจากภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. เพื่อถ่ายทอดการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเกษตรผู้ผลิตข้าวอินทรีย์พื้นที่บริการมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี สหกรณ์การเกษตไร้สารเคมี จำกัด กลุ่มเกษตรอินทรีย์ชีวภาพศรีวิสุทธิ์ สมาคมเกษตรกรก้าวหน้า กลุ่มเกษตรผู้ปลูกฝ้ายอินทรีย์ริมน้ำโขง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ โนนกลาง วิสาหกิจชุมชนถอยหลังเข้าครอง เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรรมยั่งยืนน้ำอ้อม นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
50 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
สร้างเครื่องสีข้าวต้นแบบ อบรมเชิงปฎิบัติการ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.พัฒนาและสร้างเครื่องสีข้าวต้นแบบร่วมกับนักศึกษา --- --- 60,000.00
2.ประชาสัมพันธ์โครงการ และ เตรียมเอกสารประกอบการอบรม --- -- -- --- 20,400.00
3.ดำเนินการอบรม --- --- -- --- 20,000.00
4.สรุปและติดตามผล --- --- -- - 4,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 - 30 กันยายน พ.ศ. 2559 รวมเวลา 366 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ลดรายจ่ายในครัวเรือน เพิ่มความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ
ด้านสังคม : เพิ่มคุณภาพสังคมและคุณภาพชีวิตของประชากรในชุมชน
ด้านสิ่งแวดล้อม : การผลิตที่มีประสิทธิภาพ ลดต้นทุนด้านพลังงาน
ด้านอื่นๆ : สมาชิกชุนชน มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐาน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ ในชีวิตประจำวัน

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
50
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
ระดับความสำเร็จในการบรรลุวัตถุประสงค์ / เป้าหมาย , ระดับความพึงพอใจ

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา กรรมวิธีการผลิต โครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ
หลักสูตร วิศวกรรมอุตสาหการ
นักศึกษาชั้นปี : 3 และ 4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน กาารเลือกใช้วัสดุและกรรมวิธีการขึ้นรูปได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ใช้งาน
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ประสานงาน เตรียมงาน และ สรุปการจัดการอบรม
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ สิ่งประดิษฐ์ 1 ชิ้น

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 32,400.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 14,400.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 14,400.00 บาท )
1) จำนวน 2 วัน x จำนวน 6 ชม. x ชม.ละ 600.00 บาท x จำนวน 2 คน
=
14,400.00 บาท

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 18,000.00 บาท )
1) จำนวน 60 วัน x จำนวน 2 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 3 คน
=
18,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 0.00 บาท )

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 39,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 6,000.00 บาท )
1) จำนวน 4 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
6,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 15,000.00 บาท )
1) จำนวน 3 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 50 คน
=
15,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 8,000.00 บาท )
1) จำนวน 2 คน x จำนวน 1 เดือน x เดือนละ 4,000.00 บาท
=
8,000.00 บาท

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 10,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาทำสื่อประชาสัมพันธ์
=
2,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมเอกสารประกอบการประชุม
=
3,000.00 บาท
3) ค่าจ้างเหมาจัดเตรียมสถานที่ฝึกอบรม
=
1,000.00 บาท
4) ค่าเดินทางราชการ
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 31,600.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 26,600.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
3,000 แผ่น x 0.50 บาท
=
1,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
2,600.00 บาท
=
2,600.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
50 คน x 450.00 บาท
=
22,500.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 5,000.00 บาท )
1) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
5,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 103,000.00 บาท