แบบเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคม ประจำปีงบประมาณ 2559
คณะ/สำนัก/หน่วยงาน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ชื่อโครงการ เกษตรอีสานใต้
ลักษณะโครงการ การจัดนิทรรศการ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
ความสอดคล้องกับมาตรการ / นโยบายของมหาวิทยาลัย
มาตรการ : สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน หน่วยงานของรัฐ ตลอดจนภาคธุรกิจอุตสาหกรรม เพื่อการเรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
นโยบาย : การให้บริการวิชาการเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือการเรียนรู้แก่ชุมชน / สังคม / กลุ่มวิชาชีพ
ผู้รับผิดชอบ
ชื่อ - สกุล
คุณวุฒิ
ประสบการณ์
ตำแหน่ง/ความรับผิดชอบในโครงการ
ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (พืชสวน)
ประสบการณ์ : การออกแบบภูมิทัศน์ การจัดการสนามหญ้า
ความเชี่ยวชาญ : การออกแบบภูมิทัศน์ การขุดล้อมต้นไม้และ พันธุ์ไม้ในงานภูมิทัศน์
หัวหน้าโครงการ
ผศ.พิทักษ์ สิงห์ทองลา คุณวุฒิ : ปริญญาโท
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : ด้านพืชผักเศรษฐกิจ
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผักใช้ดินและไม่ใช้ดิน
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.บุญส่ง เอกพงษ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : พืชสวน
ประสบการณ์ : การผลิตผัก
ความเชี่ยวชาญ : การผลิตผัก
ผู้ร่วมโครงการ
ผศ.ดร.สุภาวดี แก้วระหัน คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : General Plant Science
ประสบการณ์ : ด้านการสอน วิชาปฐพีเบื้องต้น พืชอุตสาหกรรม งานวิจัย อโครงการน้ำทิ้งจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดต่อการผลิตข้าว โครงการผลิตข้าวอินทรีย์ โครงการผลิตป๋ยน้ำจากสิ่งเหลือใช้ในครัวเรือน การนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดแล้วจากโรงงานก้าวหน้าไก่สดมาใช้ประโยชน์ในการเกษตร
ความเชี่ยวชาญ : ธาตุอาหารพืช
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.นรินทร บุญพราหมณ์ คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : Ph.D.(Animal Production) Humboldt-Universitat zu Berlin BerlinGermany.2002. วท.ม.(เกษตรศาสตร์) สัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย.2532. วท.บ.(เกษตรศาสตร์) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอนแก่นประเทศไทย.2529.
ประสบการณ์ : - โครงการฝึกอบรมเรื่องการพัฒนาอาชีพการปลูกหญ้าและถั่วพืชอาหารสัตว์อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี - ประธานหลักสูตร วท.ม.สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท - โครงการความร่วมมือเพื่อแก้ปัญหาความยากจนพัฒนาสังคมและสุขภาวะจังหวัดอุบลราชธานี - โครงการการพัฒนาโจทย์วิจัยเรื่องปัญหาเกี่ยวกับข้อตกลงธุรกิจเกษตรแบบมีพันธะสัญญาระหว่างอุบลราชธานี-จำปาสัก
ความเชี่ยวชาญ : ระบบสารสนเทศการเกษตรและพัฒนาชนบท
ผู้ร่วมโครงการ
ดร.สราญ ปริสุทธิกุล คุณวุฒิ : ปริญญาเอก
สาขา : เกษตรเขตร้อน
ประสบการณ์ : การจัดการพืชอาหารสัตว์และการผลิตแพะแกะ
ความเชี่ยวชาญ : การจัดการพืชอาหารสัตว์ การผลิตแพะแกะ
ผู้ร่วมโครงการ

หลักการและเหตุผล
ตาม ที่มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ได้จัดงานวันเกษตรแห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๐ งานวันเกษตรอีสานใต้ ประจำปี ๒๕๕๓ และประจำปี ๒๕๕๔ ที่ผ่านมานั้น ในปีงบประมาณ ๒๕๕๖ ได้มีการจัดงานขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ ตุลาคม – ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ซึ่งการจัดงานที่ผ่านมาถือเป็นการจัดงานต่อเนื่องที่ได้รับผลตอบรับจากผู้ เข้าชมงานมากกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน ทั้งนี้ประชาชน หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในจังหวัดและส่วนกลางมีความต้องการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีมีการจัดงานต่อเนื่องทุกปี เพื่อเป็นการบริการชุมชนโดยเฉพาะในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอน ล่าง ซึ่งมีงานระดับบริการวิชาการที่มีประชาชนให้ความสนใจไม่มากนัก รวมทั้งความต้องการต่อเนื่องจะทำให้หน่วยงานที่สนับสนุนสามารถวางแผนทั้ง ด้านการนำเสนอผลงานและแผนงบประมาณได้อย่างมีระบบ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชน และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ความรู้ทางการเกษตร ตลอดจนสร้างความร่วมมือในระหว่างหน่วยงานราชการต่างๆ และภาคเอกชน เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จึงเห็นควรจัดงานเกษตรอีสานใต้ ปี พ.ศ.๒๕๕๖ ระหว่างวันที่ ๒๕ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๖ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีกิจกรรมการออกร้านของหน่วยงานราชการและภาคเอกชนกว่า ๔๐ หน่วยงาน นิทรรศการของภาควิชาต่างๆในสังกัดมหาวิทยาลัย กิจกรรมแปลงสาธิต กิจกรรมการประกวด/การแข่งขัน เป็นต้น ผลการวิเคราะห์โครงการเดิมที่เกี่ยวข้อง ๑. ปัจจุบันมหาวิทยาลัยที่สามารถจัดงานบริการชุมชนที่เรียกว่า “งานเกษตรแฟร์” ที่เป็นที่ยอมรับและถือเป็นงานระดับจังหวัดหรือระดับภาคมีเพียง ๖ – ๗ สถาบันหลักจากสถาบันที่จัดการเรียนการสอนด้านการเกษตรกว่า ๔๐ สถาบันเกษตรทั่วประเทศไทย ซึ่งมหาวิทยาลัยอุบลราชธานีถือเป็นหนึ่งในสถาบันที่จัดงานใหญ่ระดับนั้นได้ ทั้งนี้ปัญหาของสถาบันส่วนมากที่ไม่สามารถจัดงานได้เนื่องจากขาดความต่อ เนื่องของการจัดงานและขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานต้นสังกัดและมีความร่วมมือ ของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนภายนอกน้อย ซึ่งปัจจุบันงานเกษตรอีสานใต้ได้รับการยอมรับจากหลายฝ่าย ทั้งในระดับข้าราชการ พ่อค้า ผู้บริหารและประชาชนทั่วโดยถือเป็นงานประจำกลุ่มจังหวัดอีสานตอนล่าง ๒. ผลที่มหาวิทยาลัยได้รับคือ เป็นการบริการชุมชนที่มีผู้เข้าชมมหาวิทยาลัยกว่า ๑๔๐,๐๐๐ คน จากจังหวัดในเขตอีสานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ ทำให้ประชาชนทั่วไปได้เข้ามาใช้บริการจากมหาวิทยาลัยอย่างกว้างขวาง ซึ่งเมื่อคิดเป็นค่าใช้จ่ายจากงบประมาณต่อหัวประมาณ ๗ – ๑๐ บาทต่อคน ทั้งนี้มูลค่าของงานเมื่อรวมการลงทุนของทุกภาคส่วนแล้วประมาณกว่า ๑๐ ล้านบาท และทำให้เกิดการหมุนเวียนรายได้ตลอดงานมากกว่า ๑๐๐ ล้านบาท ๓. เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการในระดับกระทรวง กรมต่างๆ โดยเฉพาะกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานต่างๆ ในระดับจังหวัด ทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียง เช่น หน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานด้านสุขภาพและชุมชน ตลอดจนบริษัทชั้นนำของประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการทั้งในระดับ อาจารย์และนักศึกษาในการสมัครงานในอนาคต ๔. ข้อควรพิจารณา ๔.๑ สถานที่จัดงานที่จำเป็นต้องมีพื้นที่เฉพาะทั้งนี้จะทำให้การลงทุนด้านระบบ สาธารณประโยชน์จะลดลงเมื่อมีการจัดในพื้นที่เดิม เช่น ระบบไฟฟ้า น้ำ ห้องน้ำ การถมและปรับพื้นที่ ฯลฯ ๔.๒ ความต่อเนื่องของการจัดงานทำให้หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมีการวางแผนงาน ล่วงหน้าและสามารถจัดทำงบประมาณสนับสนุนได้เป็นประจำ ๔.๓ สภาพปัญหาการจราจรที่ติดขัดเนื่องจากทับซ้อนของพื้นที่จัดงานกับถนน ทั้งนี้ถ้ามีการปรับถมพื้นที่ตามแผนที่ได้ตั้งไว้จะทำให้สามารถจัดงานได้ภาย ในพื้นที่และไม่จำเป็นต้องใช้ถนนในการจัดงานได้ ๔.๔ การรักษาความปลอดภัยในงานต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภาย นอก ซึ่งต้องใช้บุคลากรจำนวนมากเนื่องจากพื้นที่การจัดงานกว้างและเวลาหลายวัน ทั้งนี้ค่าใช้จ่ายยังอยู่ในระดับที่ไม่สูงเนื่องจากทุกภาคส่วนมีความเต็มใจ ในการช่วยงาน

วัตถุประสงค์
1.เพื่อเผยแพร่ผลงานของมหาวิทยาลัยในด้านการเรียนการสอน การวิจัย การบริการชุมชนและการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
2.เพื่อเผยแพร่ความรู้และความก้าวหน้าทางการเกษตรของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนให้แก่เกษตรกร นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจ
3.เพื่อสนับสนุนเผยแพร่กิจกรรมของกลุ่มเกษตรกรและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
4.เพื่อเผยแพร่ให้สังคมเล็งเห็นความสำคัญของการเกษตรต่อการพัฒนาของประเทศ ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาคนและองค์ความรู้

กลุ่มเป้าหมาย
คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
บุคคล ทั่วไปในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างพื้นที่ ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดยโสธร จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดศรีสะเกษ
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
100000 คน

การดำเนินโครงการ (ขั้นตอนหรือวิธีการดำเนินงานโครงการฯ)
1. กิจกรรมและวิธีดำเนินการ
กิจกรรมและวิธีดำเนินการ การจัดงานประกอบด้วยรูปแบบการจัดงานดังต่อไปนี้ ๑.๑ นิทรรศการหน่วยงานในสังกัดมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - อุทยานผลงานวิจัยมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี - นิทรรศการแนะแนวการศึกษา - นิทรรศการการเปิดฟาร์ม - นิทรรศการแปลงสาธิตทางการเกษตร ๑.๒ นิทรรศการการออกร้านแสดงเทคโนโลยีทางการเกษตรของภาคเอกชน - นิทรรศการแสดงเทคโนโลยีทางด้านการเกษตรของภาคเอกชน - นิทรรศการแปลงสาธิตทางการเกษตร - นิทรรศการแสดงจักรกลทางการเกษตรของภาคเอกชน ๑.๓ นิทรรศการของหน่วยงานราชการ อาทิเช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น ๑.๔ กิจกรรมการประกวด กิจกรรมการแข่งขัน และกิจกรรมการแสดง - กิจกรรมการแข่งขัน เช่น การตอบปัญหาทางการเกษตร การแข่งขันทักษะทางการ เกษตร -กิจกรรมการประกวด เช่น การประกวดพันธุ์ไม้ การประกวดโครงงานด้านการเกษตร -กิจกรรมการแสดงศิลปวัฒนธรรมและดนตรีของโรงเรียนต่างๆ

2. แผนการดำเนินงาน (ที่สัมพันธ์กับกิจกรรมดำเนินงาน)
กิจกรรม
2558
2559
รวมเงิน (บาท)
ไตรมาสที่ 1
ไตรมาสที่ 2
ไตรมาสที่ 3
ไตรมาสที่ 4
ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย.
1.ระยะเตรียมงาน - --- --- 380,000.00
2.ระยะจัดงาน --- -- --- --- 500,000.00
3.ระยะประเมินผลและรายงานผลการดำเนินงาน --- -- --- 20,000.00

ระยะเวลาการดำเนินการ
ระหว่างวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559 รวมเวลา 10 วัน

ร่างกำหนดการดำเนินงาน
วัน/เดือน/ปี
เวลา
กิจกรรม / หัวข้อ
วิทยากร
6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
5-14 กุมภาพันธ์ 2559 จัดงานเกษตรอีสานใต้ ประจำปี 2559 ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ และคณะ
15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
กุมภาพันธ์ - เมษายน 2559 ประเมินผลและสรุปผลการจัดงานเกษตรอีสานใต้ ประจำปี 2559 ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ และคณะ
1 เมษายน พ.ศ. 2559
เมษายน - มิถุนายน 2559 จัดทำสรุปและจัดส่งรายงานผลการดำเนินงาน ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ และคณะ
1 ตุลาคม พ.ศ. 2559
ตุลาคม 2558-กุมภาพันธ์ 2559 เตรียมงานเกษตรอีสานใต้ ปีงบประมาณ 2559 ดร.ภาคภูมิ สืบนุการณ์ และคณะ

ผลที่คาดว่าจะได้รับในการดำเนินโครงการฯ
ด้านเศรษฐกิจ : ก่อให้เกิดการหมุนเวียนการใช้จ่ายไม่ต่ำกว่า ๗๐ – ๑๐๐ ล้านบาท
ด้านสังคม : ประชาชนผู้สนใจได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเกษตรต่อการพัฒนาของประเทศ เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา ตลอดจนประชาชนผู้สนใจได้รับการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีทางการเกษตรของ หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีได้ประชาสัมพันธ์บทบาทและหน้าที่ที่มีต่อสังคมทาง สิ่งแวดล้อม
ด้านสิ่งแวดล้อม : ประชาชนผู้สนใจเข้าชมงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม
ด้านอื่นๆ : -

ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
ตัวชี้วัด
หน่วย
ค่าเป้าหมาย
จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
คน
120000
ความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ร้อยละ
80
ผู้ร่วมโครงการที่นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ร้อยละ
80
ระดับความรู้ที่เพิ่มขึ้นหลังจากร่วมโครงการ
มากกว่าหรือเท่ากับ 1
ความคุ้มค่าของงบประมาณต่อผู้ร่วมโครงการ
10

ตัวชี้วัดด้านประกันคุณภาพ
แผนการใช้ประโยชน์จากการบริการวิชาการ
การใช้ประโยชน์ในการพัฒนานักศึกษา


การใช้ประโยชน์กับชุมชนหรือสังคม


แผนการบูรณาการกับการเรียนการสอน
แผนบูรณาการการเรียนการสอน
ลักษณะการบูรณาการ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
วิชา ภาควิชาพืชไร่ : รายวิชา 1201341 ธัญพืช, ภาควิชาพืชสวน : รายวิชา 1202318 หลักการไม้ผล, ภาควิชาสัตวศาสตร์ รายวิชา : 1203201 ฝึกงาน (สัตวศาสตร์) 1, ภาคว
หลักสูตร วท.บ(เกษตรศาสตร์),วท.บ(ประมง),วท.บ(เทคโนโลยีการอาหาร
นักศึกษาชั้นปี : 3-4
การนำเนื้อหาของการบริการวิชาการเข้าสอดแทรกในสาระวิชาที่ทำการสอน ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับความรู้และมีความเข้าใจในสาระของรายวิชาที่สอดแทรกเพิ่มเติม
การนำนักศึกษาออกพื้นที่เพื่อร่วมให้บริการวิชาการตามแผนงานที่กำหนด ผลการประเมินความพึงพอใจโดยนักศึกษาที่เข้าร่วมออกพื้นที่/เข้าร่วมกิจกรรมการบริการวิชาการ
การมอบหมายงานให้นักศึกษาทำโครงการจากปัญหาของการให้บริการวิชาการ ร้อยละของนักศึกษาที่ร่วมทำโครงการ มีความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการบูรณาการวิชาการ อยู่ในระดับร้อยละ 80

การติดตามและประเมินผล
รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานทุก 3 เดือน ให้คณะ และมหาวิทยาลัยทราบ ตามระบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การประเมินและรายงานผลการดำเนินงาน
- ส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัยกำหนด ให้กับคณะและมหาวิทยาลัย จำนวน 1 ฉบับ ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ
- ส่งรายงานทางการเงินให้กับคณะและมหาวิทยาลัย ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ดำเนินโครงการแล้วเสร็จ

รายละเอียดงบประมาณ
หมวดที่ 1 หมวดค่าตอบแทน ( รวม 67,500.00 บาท )
หัวข้อ 1.1 หมวดค่าตอบแทนวิทยากร ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายนอก ( รวม 0.00 บาท )
-วิทยากรภายใน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.2 ค่าตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ( รวม 20,000.00 บาท )
-วันเวลาราชการ ( รวม 20,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 วัน x จำนวน 4 ชม. x ชม.ละ 50.00 บาท x จำนวน 10 คน
=
20,000.00 บาท
-วันหยุดราชการ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 1.3 ค่าตอบแทนอื่นๆ ( รวม 47,500.00 บาท )
1) ค่าตอบแทนคณะกรรมการตัดสินการประกวดจำนวน 5 คน x จำนวน 5 ชม. x จำนวน 500.00 บาท/ชม.
=
12,500.00 บาท
2) ค่าตอบแทนสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 5 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
10,000.00 บาท
3) ค่าตอบแทนสำหรับหัวหน้าผู้ควบคุมเจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวน 2 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 400.00 บาท/ชม.
=
8,000.00 บาท
4) ค่าตอบแทนสำหรับอาสาสมัครป้องกันภัยพลเรือน (อปพร.)จำนวน 10 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 130.00 บาท/ชม.
=
13,000.00 บาท
5) ค่าตอบแทนสำหรับหัวหน้าผู้ควบคุมอาสาสมัครป้องกันภัยพลเรือน (อปพร.)จำนวน 2 คน x จำนวน 10 ชม. x จำนวน 200.00 บาท/ชม.
=
4,000.00 บาท

หมวดที่ 2 หมวดค่าใช้สอย ( รวม 330,000.00 บาท )
หัวข้อ 2.1 ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่ายานพาหนะ ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าที่พัก ( รวม 0.00 บาท )
-ค่าเบี้ยเลี้ยง ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ( รวม 30,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 30.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
30,000.00 บาท

หัวข้อ 2.3 ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น ( รวม 100,000.00 บาท )
1) จำนวน 10 มื้อ x มื้อละ 100.00 บาท x จำนวน 100 คน
=
100,000.00 บาท

หัวข้อ 2.4 ค่าจ้างเหมารถตู้ ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.5 ค่าจ้างเหมาปฏิบัติงาน ( รวม 0.00 บาท )

หัวข้อ 2.6 ค่าใช้สอยอื่นๆ ( รวม 200,000.00 บาท )
1) ค่าจ้างเหมาประชาสัมพันธ์เอกสารประชาสัมพันธ์
=
100,000.00 บาท
2) ค่าจ้างเหมาแรงงานเตรียมพื้นที่
=
100,000.00 บาท

หมวดที่ 3 หมวดค่าวัสดุ ( รวม 602,500.00 บาท )
หัวข้อ 3.1 ค่าวัสดุทั่วไป ( รวม 150,000.00 บาท )
1) ค่าถ่ายเอกสาร
0 แผ่น x 0.50 บาท
=
0.00 บาท
2) ค่าวัสดุสำนักงาน (ตามจริง)
100,000.00 บาท
=
100,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุโฆษณาประชาสัมพันธ์ (ตามจริง)
0.00 บาท
=
0.00 บาท
4) ค่าวัสดุฝึก
0 คน x 0.00 บาท
=
0.00 บาท
5) ค่าวัสดุเชื้อเพลิง (ตามจริง)
50,000.00 บาท
=
50,000.00 บาท

หัวข้อ 3.2 ค่าวัสดุอื่นๆ ( รวม 452,500.00 บาท )
1) ค่าวัสดุการเกษตร
=
202,500.00 บาท
2) ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์
=
50,000.00 บาท
3) ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว
=
100,000.00 บาท
4) ค่าวัสดุไฟฟ้าและวิทยุ
=
50,000.00 บาท
5) ค่าวัสดุก่อสร้าง
=
50,000.00 บาท

หมวดที่ 4 หมวดค่าสาธารณูปโภค ( รวม 0.00 บาท )

งบประมาณทั้งสิ้น 1,000,000.00 บาท